IoT ต้องการมากกว่าอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ | Techsauce

IoT ต้องการมากกว่าอุปกรณ์และซอฟท์แวร์

บทความนี้เขียนโดย เบิร์น กุนเทอร์, Client Principal and Future Maker บริษัท ThoughtWorks 

ทุกครั้งที่มีการถกกันเรื่อง Internet of Thing ( IoT ) ทุกบริษัทจะมองเห็นแต่ข้อดี แต่หลายๆ บริษัทกลับพบว่าจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเพราะเหตุใด

ในช่วงปีพศ. 2561-2562  บริษัทมากมายทั่วโลกมีแผนลงทุนด้าน IoT โดยผลการศึกษาของกลุ่มนักวิเคราะห์ IDG ชี้ว่าการลงทุนพุ่งเป้าไปที่ระบบเคลาด์ และความปลอดภัยของข้อมูล รองลงมาคือด้านฮาร์ดแวร์ เช่น เซนเซอร์

จากผลการศึกษายังพบว่า โครงการ IoT ส่วนใหญ่ ต้องการสร้างระบบออโตเมชันและการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเทคโนโลยีการผลิต ถัดมาคือเพื่อสร้างสินค้าที่มีการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตและระบบควบคุม ว่าง่ายๆ คือทุกคนกำลังก้าวเข้าอุตสาหกรรมยุค 4.0

เพื่อความสำเร็จ อันดับแรกทุกคนต้องยอมรับก่อนว่า IoT ไม่ใช่เป้าหมายแต่มันคือเครื่องมือในการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและพนักงาน และเพื่อให้เครื่องมือนี้ทำงานได้ บริษัทต้องมีวิธีการทำงานแนวใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน และมีทีมงานที่มุ่งมั่นให้งานสำเร็จ

แน่นอนว่า IoT ต้องการซอฟท์แวร์ที่ดี แต่ตัวเครื่องมือก็ต้องดีด้วย และนั่นหมายถึงนักพัฒนาซอฟท์แวร์และวิศวกรเครื่องกลต้องทำงานด้วยกันอย่างไกล้ชิดและเรียนรู้ไปด้วยกัน สิ่งที่ต้องท่องไว้คือวงจรการพัฒนาในปัจจุบันนั้นสั้นขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่เราต้องนำเสนอสิ่งที่เราสร้างขึ้นออกมาทีละน้อย ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาที่จับชีพจร ตัวนาฬิกาทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ จากนาฬิกาธรรมดากลายมาเป็นตัววัดความฟิตของร่างกาย และต่อมาก็เป็นเสมือนผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพส่วนตัวที่มีการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่นทางอินเตอร์เน็ต แต่กว่าจะมาเป็นเช่นทุกวันนี้ ก็ต้องปรับปรุงซอฟท์แวร์อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี

อุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคจะทำงานได้อย่างชาญฉลาดก็ต้องมีระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดด้วย ในทางเทคนิคแล้ว ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดต้องมีองค์ประกอบสามอย่าง นั่นคือ ระบบที่ฝังในตัวอุปกรณ์ ระบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ และระบบข้อมูล โดยระบบที่ฝังในอุปกรณ์จะเป็นตัวกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างชาญฉลาดตามหน้าที่ของมัน ระบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบข้อมูลจะทำการเชื่อมข้อมูลกับระบบภายนอก ถ้าไม่มี 3 สิ่งนี้ตัวอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นหม้อต้มกาแฟหรือระบบปฏิบัติการในโรงงานก็จะเป็นได้แค่อุปกรณ์ธรรมดาๆ

แต่กว่าจะไปถึงขั้นนั้น ก็ต้องมีการทดสอบมากมาย รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดี

บริษัทเฟรช เอนเนอร์ยี ในประเทศเยอรมนี ซึ่งตามข้อมูลบริษัท ได้กล่าวว่าเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายแรกของเยอรมนีที่ใช้ระบบดิจิตัลเต็มรูปแบบ บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจให้บริการหลายส่วนทั้งการผลิตไฟฟ้า ระบบการประมวลผล แอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการให้บริการลูกค้าบนระบบที่ชาญฉลาดและสามารถขยายการให้บริการได้

ระบบประมวลผล ระบบการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการจดจำการใช้ ทำให้ได้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้น  ข้อมูลทุกอย่างจะปรากฏที่ดิจิตัลแพลตฟอร์มของบริษัทที่ ThoughtWorks ช่วยพัฒนาขึ้น ปัจจุบันลูกค้าของเฟรช เอนเนอร์ยี จึงสามารถรู้ได้ถึงการใช้ไฟฟ้าของตนและปรับการใช้ไฟฟ้าของตัวเองได้ ด้วยแพลตฟอร์มนี้ เฟรช เอนเนอร์ยี จึงมีลูกค้าใหม่ๆ หลายพันรายและสามารถใช้ข้อมูลในการปรับปรุงระบบการทำงานเดิมและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แน่นอนว่าแพลตฟอร์มนี้ยังสามารถรองรับคู่ค้าธุรกิจอื่นๆ ได้ด้วย

โดยสรุปแล้ว ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดคือระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว มีความคล่องตัว และสามารถขยายตัวได้ มันคือระบบที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้ใช้ ลูกค้าและคู่ค้าด้วยการทำให้ระบบทำงานได้ง่ายๆ ลดค่าใช้จ่าย และทำให้ระบบปัจจุบันทำงานได้ดีมากขึ้น

ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาด ยังรวมถึง

- การหลีกเลี่ยงโครงการการลงทุนที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและใช้เวลานาน ควรแบ่งการลงทุนเป็นโครงการเล็กๆ และทำให้ได้ผลลัพธ์ในเวลาที่สั้นขึ้น

- ซอฟท์แวร์ กระบวนการทำงาน สินค้า/บริการ ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมจากตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่แตกต่างกัน

- ต้องมีดุลยภาพในการปรับกระบวนการทำงานเดิมและการนำระบบใหม่มาใช้ ตรงนี้สามารถนำ IoT มาใช้ในการเชื่อมต่อได้

- การเพิ่มนวัตกรรมด้วยการยอมรับและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วิธีการ วัฒนธรรม และในด้านอื่นๆ

- การลบแนวคิดเดิมๆ ที่ว่าเรารู้จักสินค้า ลูกค้า หรือเทคโนโลยีที่ใช่ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันมาเร็วมาก

- อุปกรณ์คือสิ่งสำคัญ แต่ข้อมูลและซอฟท์แวร์สำคัญกว่าเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนอุปกรณ์ ผู้ชนะในวันนี้คือผู้ที่สามารถทำให้อุปกรณ์และซอฟท์แวร์ทำงานไปด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ

- การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้ด้วยแรงจูงใจ ลักษณะนิสัย การมีส่วนร่วม อิสระในการออกแบบ ความขวนขวาย ความต้องการ และการยอมรับ

- การสร้างความเป็นมืออาชีพให้ทีม ด้วยการเสาะหา พัฒนา และรักษาพนักงานที่มีความสามารถ เลิกไปได้เลยกับการมองหาคนที่ใช่สำหรับสูตรการทำงานแบบเดิมๆ

- ติดตามเป้าหมายทางธุรกิจ และมุ่งสร้างคุณค่าในธุรกิจที่คุณอยู่ สำหรับบริษัททั่วโลก เป้าหมายธุรกิจที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มยอดขายและกำไร การรักษาลูกค้าที่มีอยู่เดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายใหญ่

เมื่อระบบนิเวศน์เอื้อแล้ว IoT ก็จะสร้างความสำเร็จให้บริษัทได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่โครงการล้มเหลว นั่นไม่ใช่เพราะ IoT แต่เป็นเพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ขาดความยืดหยุ่น ระบบการดำเนินการที่ไม่เอื้อ และการขาดองก์ความรู้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...