ในแต่ละประเทศของ Southeast Asia ใครเป็นสายแข็งที่สุดในกลุ่มเว็บ E-Commerce? | Techsauce

ในแต่ละประเทศของ Southeast Asia ใครเป็นสายแข็งที่สุดในกลุ่มเว็บ E-Commerce?

งานวิจัย Map of eCommerce จาก iPrice ชี้ Lazada ครองความเป็นหนึ่งของเว็บ E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดใน Southeast Asia มีผู้ใช้มาเลเซีย, เวียดนาม, ไทย และฟิลิปปินส์มากเป็นอันดับ 1 ส่วนในสิงคโปร์ เว็บ Qoo10 มีผู้ใช้มากสุด และในอินโดนีเซีย เว็บ Tokopedia มีผู้ใช้มากสุด

iPrice แหล่งเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ใน Southeast Asia เผยงานวิจัยที่ชื่อว่า Map of eCommerce เป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมสินค้า ยอดผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น (แอป) และยอดผู้ติดตามในสื่อโซเชียลของทุกๆ ไตรมาสมาวิเคราะห์จนได้ผลลัพธ์ว่า ‘ใครคือ 3 ร้านค้า E-Commerce สายแข็งที่แท้จริงใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทย

โดย Map of eCommerce เป็นงานวิจัยที่ iPrice Group รวบรวมร้านค้า E-Commerce ที่มีผู้เข้าชมอย่างน้อย 1 แสนคนต่อเดือนหรือมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 แสนคน ร้านค้าเหล่านี้ไม่รวมร้านขายตั๋ว, ไฟแนนซ์, กองทุน, คูปอง, บริการส่งอาหาร, ประกัน, บริการส่งสินค้า, เว็บ Meta Search, คลาสสิฟายด์ และโฆษณา

ในส่วนของข้อมูลการจัดอันดับต่าง ๆ จะแบ่งเป็น 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ จัดอันดับผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือนจาก  SimilarWeb, จัดอันดับแอพฯช้อปปิ้งโดยเฉลี่ยต่อเดือนจาก App Annie และจำนวนผู้ติดามในโซเชียลมีเดียจาก Facebook, LINE & Instagram ซึ่งจำนวนผู้ติดตามในเฟซบุ๊คนำมาจากข้อมูลแฟนเพจเฉพาะของแต่ละประเทศ ยกเว้นเฟซบุ๊คของร้านค้าออนไลน์ในระดับภูมิภาคที่ข้อมูลระดับประเทศไม่มีการเปิดเผยทางสาธารณะ และจำนวนพนักงาน (ที่มา : Linkedin) ส่วนข้อมูลที่แสดง (n/a) คือไม่ปรากฏจำนวนพนักงาน

มาเลเซีย

ตลาด E-Commerce ที่นักลงทุนมือทองพร้อมร้านค้า E-Commerce หน้าใหม่พากันเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จนอาจเรียกได้ว่าเมืองหลวงอย่างกัวลาลัมเปอร์หาคนพื้นเมืองเดินผ่านไป-มา ยากเข้าไปทุกที

  • LAZADA ก็ยังคงเป็นร้านค้า E-Commerce เจ้าประจำตามคาด ซึ่งมียอดผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนเฉลี่ยสูงถึง 28 ล้านคน แต่หากนำข้อมูลมาเทียบกับไตรมาสแรกของปีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าถือว่าลดลงถึง 20 ล้านคนเลยทีเดียว (จาก 48 เป็น 28 ล้านคน) แต่ในทางกลับกันจำนวนยอดผู้ติดตามทาง Facebook ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกถึง 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน)
  • Shopee ร้านค้า E-Commerce ที่มียอดดาวน์โหลดแอปสูงสุดจาก App Store และ Play Store ทั้งไตรมาสที่ 1 และ 2 มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 3 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรก 1.4 ล้านคน
  • 11 Street ร้านค้า E-Commerce สัญชาติเกาหลีก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าใคร ไม่ว่าจะด้วยจำนวนผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือน 4 ล้านคน พร้อมเป็นที่หนึ่งในด้านจำนวนผู้ติดตามสูงสุดทาง Twitter (45,331 คน) แต่ยอดการดาวน์โหลดแอปทาง App Store ลดลงมาอยู่อันดับที่ 4 จาก 3 (Zalora ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3)

อินโดนีเซีย

ถือเป็นตลาด E-Commerce ขนาดใหญ่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ อาจด้วยประชากรที่มีมากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคเดียวกันทำให้ร้านค้า E-Commerce ในประเทศนี้มียอดเข้าชมเป็นร้อยล้านคนโดยเฉลี่ยต่อเดือน

  • Tokopedia ร้านค้า E-Commerce ยูนิคอร์นสัญชาติอินโดนีเซีย มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยถึง 111 ล้านคน จึงเหมือนเป็นการบอกกลาย ๆ ว่าประเทศนี้คือนักอนุรักษ์นิยมที่เลือกช้อปจากร้านค้าสัญชาติเดียวกับตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งในไตรมาสนี้ Tokopedia ได้ขยับอันดับจากที่ 2 มาเป็นที่ 1 ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปจะอยู่อันดับที่ 2 จาก App Store และอันดับ 3 จาก Play Store (ไตรมาสแรกอยู่ที่อันดับที่ 2)
  • Bukalapak อีกหนึ่งร้านค้าสาย Local ที่ชาวอินโดนีเซียนคุ้นหูเป็นอย่างดี มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 85 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 8 ล้านคน แต่ก็ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 จากอันดับที่ 3 ในไตรมาสแรก อยู่ในอันดับที่ 4 จากจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store
  • LAZADA ร้านค้า E-Commerce ที่ไม่ว่าประเทศใดในภูมิภาคก็ต้องรู้จัก มีจำนวนผู้ติดตามทาง Facebook มาเป็นอันดับที่ 1 (25.2 ล้านคน) แต่จำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนลดลงอย่างน่าใจหาย (จาก 117.5 เป็น 50 ล้านคน) แต่จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store ขยับขึ้นจากอันดับที่ 4 เป็น 3 (App Store) และอันดับที่ 3 เป็น 2 (Play Store) จากไตรมาสแรก

เวียดนาม

อีกหนึ่งตลาด E-Commerce แบบ Non-English Speaking ที่กำลังมาแรง มีเจ้าตลาดเป็นร้านค้าสาย Local

  • LAZADA ถือเป็นร้านค้า E-Commerce สาย International ที่บุกตลาดในทุกประเทศได้อย่างแท้จริง มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ถึง 32 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 10 ล้านคน) เสริมทับด้วยจำนวนผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน) ในด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปจะอยู่ในลำดับที่ 2 ทั้งจาก AppStore และ PlayStore
  • The Gioi Di Dong ร้านค้า E-Commerce สัญชาติเวียดนามที่ครองอันดับที่ 2 มาตั้งแต่ไตรมาสแรก มียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนในไตรมาสสองที่ 6 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 9.5 ล้านคน) แต่ได้ขยับตำแหน่งจาก 7 ขึ้นเป็น 5 ของยอดดาวน์โหลดแอปใน App Store
  • Shopee อีกหนึ่งร้านค้า E-Commerce ที่ผลัดกันรุกผลัดกันรับกับ LAZADA มาโดยตลอด ในไตรมาสนี้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 26.4 ล้านคน พร้อมยอดผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก AppStore และ PlayStore สูงสุดอีกด้วย

ฟิลิปปินส์

ถือเป็นตลาด E-Commerce ขนาดใหญ่ที่อัดแน่นไปด้วยร้านค้า E-Commerce สาย Local แม้ร้านค้าที่ติดอันดับต้น ๆ จะเป็นร้านค้า E-Commerce สาย International เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม

  • LAZADA มีจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 30 ล้านคน พร้อมครองตำแหน่งอันดับที่ 1 ในสื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยมอันได้แก่ Twitter, Instagram และ Facebook
  • Shopee แน่นอนว่าประเทศใดมี LAZADA ก็ต้องมี Shopee ถึงแม้จำนวนผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 นี้ จะไม่มากเท่าใดนัก (จาก 1 ลดลงมาเหลือ 8.4 ล้านคน) แต่ก็เป็นร้านค้าที่ครองตำแหน่งผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุดทั้งจาก App Store และ Play Store มาตั้งแต่ไตรมาสแรก
  • ZALORA ที่นอกจากเป็นแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังแล้ว ยังติดอันดับร้านค้า E-Commerce ที่สาว ๆ ทั้งหลายล้วนรู้จักเป็นอย่างดี สำหรับตลาดฟิลิปปินส์ ZALORA ถือเป็นร้านค้า E-Commerce ยอดนิยมติดอันดับ 3 โดยมียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว 1.6 ล้านคน แม้จะลดจากเดิมในไตรมาสแรกถึง 1.4 ล้านคน ก็ตาม ควบคู่ไปกับการติดอันดับที่ 3 ด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store

สิงคโปร์

ตลาด E-Commerce เล็ก ๆ ที่อาจมีพื้นที่เพียงจังหวัดหนึ่งในไทยเท่านั้น แต่ศักยภาพด้านมูลค้า E-Commerce กลับไม่ได้เล็กตามพื้นที่ไปด้วย พิสูจน์ได้จากร้านค้า E-Commerce ชื่อดังอย่าง LAZADA ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศนี้

  • Qoo10 ร้านค้า E-Commerce ที่มีชื่อเสียงใน 2 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ต่างกันที่ความนิยม ซึ่งในตลาดสิงคโปร์นี้ Qoo10 เป็นร้านค้า E-Commerce ที่มียอดผู้เข้าสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว 10 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรกราว 4 ล้านคน) ต่างจากจำนวนผู้เข้าชมสินค้าในประเทศมาเลเซียที่มีเพียง 9 แสนคนเท่านั้น ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store จะอยู่ในอันดับที่ 3
  • LAZADA มีผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 5 ล้านคน แม้จะเป็นมีประเทศต้นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ แต่เพราะ Qoo10 เปิดมาก่อน LAZADA จึงมี Brand Royalty อย่างไรก็ตามร้านค้านี้ก็มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุดทั้งจาก Play Store และ App Store
  • Shopee ร้านค้า E-Commerce ที่มักติดอันดับ 1 ใน 4 ของทุกประเทศอยู่เสมอ ในตลาดนี้ Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ 8 ล้านคน มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปเป็นอันดับที่ 2 ตั้งแต่ไตรมาสแรก พร้อมยอดผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับจาก 9 ล้านคน มาเป็น 11.3 ล้านคน ได้ภายในระยะเวลาเพียงไตรมาสเดียว

ไทย

ส่วนใหญ่ร้านค้า E-Commerce สาย Local ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้มักเป็นร้านที่เคยประกอบธุรกิจแบบออฟไลน์มาก่อน แล้วมาขยายธุรกิจเป็นออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

  • LAZADA ปฎิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ถ้าคนไทยคิดจะช้อปสินค้าออนไลน์ก็ต้องคิดถึงร้านค้า E-Commerce นี้ก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 40 ล้านคน พร้อมมีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุงทั้งจาก App Store และ Play Store เสริมทับด้วยการมียอดผู้ติดตามสูงสุดทั้งจาก LINE (20.4 ล้านคน) และ Facebook (25.2 ล้านคน)
  • Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนที่ 15 ล้านคน พร้อมมีผู้ติดตามทาง Instagram เกือบ 3 แสนคน มากกว่าไตรมาสแรกประมาณ 1 หมื่นคน
  • Chilindo ร้านค้า E-Commerce สัญชาติไทยรูปแบบการประมูลสินค้า ปัจจุบันมียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ย 5 ล้านคนต่อเดือน (ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 7 ล้านคน) มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store มาเป็นอันดับที่ 3

ขอบคุณข้อมูลจาก iPrice Thailand

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 ไฮไลท์นวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพไต้หวัน ก้าวล้ำนำอนาคตในงาน Taiwan Expo 2024

10 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ไฮไลท์จาก Taiwan Healthcare Pavilion ที่จะมาปฏิวัติวงการแพทย์ในทุกมิติ จากงาน Taiwan Expo 2024...

Responsive image

ส่องเส้นทางเทคฯ KBTG จากยุคปรับตัว สู่ผู้นำ Agentic AI กับยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First พลิกโฉมธุรกิจ

เจาะลึกกลยุทธ์ KBTG กับการนำไทยเข้าสู่ยุค Agentic AI 2025 ผ่าน Human-AI Integration เพื่ออนาคตที่ล้ำลึกและยั่งยืน...

Responsive image

โซลูชัน Technology Business Management เปลี่ยนต้นทุน IT ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยการปลดล็อกศักยภาพด้านการบริหารจัดการต้นทุน IT ด้วยข้อมูลเชิงลึก

การบริหารต้นทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ Technology Business Management เป็นกรอบการจัดการช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมและบริหารต้นทุน IT ได้อย่างแม่...