ในแต่ละประเทศของ Southeast Asia ใครเป็นสายแข็งที่สุดในกลุ่มเว็บ E-Commerce? | Techsauce

ในแต่ละประเทศของ Southeast Asia ใครเป็นสายแข็งที่สุดในกลุ่มเว็บ E-Commerce?

งานวิจัย Map of eCommerce จาก iPrice ชี้ Lazada ครองความเป็นหนึ่งของเว็บ E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดใน Southeast Asia มีผู้ใช้มาเลเซีย, เวียดนาม, ไทย และฟิลิปปินส์มากเป็นอันดับ 1 ส่วนในสิงคโปร์ เว็บ Qoo10 มีผู้ใช้มากสุด และในอินโดนีเซีย เว็บ Tokopedia มีผู้ใช้มากสุด

iPrice แหล่งเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ใน Southeast Asia เผยงานวิจัยที่ชื่อว่า Map of eCommerce เป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมสินค้า ยอดผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น (แอป) และยอดผู้ติดตามในสื่อโซเชียลของทุกๆ ไตรมาสมาวิเคราะห์จนได้ผลลัพธ์ว่า ‘ใครคือ 3 ร้านค้า E-Commerce สายแข็งที่แท้จริงใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทย

โดย Map of eCommerce เป็นงานวิจัยที่ iPrice Group รวบรวมร้านค้า E-Commerce ที่มีผู้เข้าชมอย่างน้อย 1 แสนคนต่อเดือนหรือมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 แสนคน ร้านค้าเหล่านี้ไม่รวมร้านขายตั๋ว, ไฟแนนซ์, กองทุน, คูปอง, บริการส่งอาหาร, ประกัน, บริการส่งสินค้า, เว็บ Meta Search, คลาสสิฟายด์ และโฆษณา

ในส่วนของข้อมูลการจัดอันดับต่าง ๆ จะแบ่งเป็น 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ จัดอันดับผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือนจาก  SimilarWeb, จัดอันดับแอพฯช้อปปิ้งโดยเฉลี่ยต่อเดือนจาก App Annie และจำนวนผู้ติดามในโซเชียลมีเดียจาก Facebook, LINE & Instagram ซึ่งจำนวนผู้ติดตามในเฟซบุ๊คนำมาจากข้อมูลแฟนเพจเฉพาะของแต่ละประเทศ ยกเว้นเฟซบุ๊คของร้านค้าออนไลน์ในระดับภูมิภาคที่ข้อมูลระดับประเทศไม่มีการเปิดเผยทางสาธารณะ และจำนวนพนักงาน (ที่มา : Linkedin) ส่วนข้อมูลที่แสดง (n/a) คือไม่ปรากฏจำนวนพนักงาน

มาเลเซีย

ตลาด E-Commerce ที่นักลงทุนมือทองพร้อมร้านค้า E-Commerce หน้าใหม่พากันเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จนอาจเรียกได้ว่าเมืองหลวงอย่างกัวลาลัมเปอร์หาคนพื้นเมืองเดินผ่านไป-มา ยากเข้าไปทุกที

  • LAZADA ก็ยังคงเป็นร้านค้า E-Commerce เจ้าประจำตามคาด ซึ่งมียอดผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนเฉลี่ยสูงถึง 28 ล้านคน แต่หากนำข้อมูลมาเทียบกับไตรมาสแรกของปีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าถือว่าลดลงถึง 20 ล้านคนเลยทีเดียว (จาก 48 เป็น 28 ล้านคน) แต่ในทางกลับกันจำนวนยอดผู้ติดตามทาง Facebook ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกถึง 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน)
  • Shopee ร้านค้า E-Commerce ที่มียอดดาวน์โหลดแอปสูงสุดจาก App Store และ Play Store ทั้งไตรมาสที่ 1 และ 2 มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 3 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรก 1.4 ล้านคน
  • 11 Street ร้านค้า E-Commerce สัญชาติเกาหลีก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าใคร ไม่ว่าจะด้วยจำนวนผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือน 4 ล้านคน พร้อมเป็นที่หนึ่งในด้านจำนวนผู้ติดตามสูงสุดทาง Twitter (45,331 คน) แต่ยอดการดาวน์โหลดแอปทาง App Store ลดลงมาอยู่อันดับที่ 4 จาก 3 (Zalora ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3)

อินโดนีเซีย

ถือเป็นตลาด E-Commerce ขนาดใหญ่ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนี้ อาจด้วยประชากรที่มีมากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคเดียวกันทำให้ร้านค้า E-Commerce ในประเทศนี้มียอดเข้าชมเป็นร้อยล้านคนโดยเฉลี่ยต่อเดือน

  • Tokopedia ร้านค้า E-Commerce ยูนิคอร์นสัญชาติอินโดนีเซีย มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยถึง 111 ล้านคน จึงเหมือนเป็นการบอกกลาย ๆ ว่าประเทศนี้คือนักอนุรักษ์นิยมที่เลือกช้อปจากร้านค้าสัญชาติเดียวกับตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งในไตรมาสนี้ Tokopedia ได้ขยับอันดับจากที่ 2 มาเป็นที่ 1 ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปจะอยู่อันดับที่ 2 จาก App Store และอันดับ 3 จาก Play Store (ไตรมาสแรกอยู่ที่อันดับที่ 2)
  • Bukalapak อีกหนึ่งร้านค้าสาย Local ที่ชาวอินโดนีเซียนคุ้นหูเป็นอย่างดี มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 85 ล้านคน ซึ่งลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 8 ล้านคน แต่ก็ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 จากอันดับที่ 3 ในไตรมาสแรก อยู่ในอันดับที่ 4 จากจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store
  • LAZADA ร้านค้า E-Commerce ที่ไม่ว่าประเทศใดในภูมิภาคก็ต้องรู้จัก มีจำนวนผู้ติดตามทาง Facebook มาเป็นอันดับที่ 1 (25.2 ล้านคน) แต่จำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนลดลงอย่างน่าใจหาย (จาก 117.5 เป็น 50 ล้านคน) แต่จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store ขยับขึ้นจากอันดับที่ 4 เป็น 3 (App Store) และอันดับที่ 3 เป็น 2 (Play Store) จากไตรมาสแรก

เวียดนาม

อีกหนึ่งตลาด E-Commerce แบบ Non-English Speaking ที่กำลังมาแรง มีเจ้าตลาดเป็นร้านค้าสาย Local

  • LAZADA ถือเป็นร้านค้า E-Commerce สาย International ที่บุกตลาดในทุกประเทศได้อย่างแท้จริง มียอดผู้เข้าชมสินค้าต่อเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ถึง 32 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 10 ล้านคน) เสริมทับด้วยจำนวนผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 3 ล้านคน (จาก 22 เป็น 25 ล้านคน) ในด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปจะอยู่ในลำดับที่ 2 ทั้งจาก AppStore และ PlayStore
  • The Gioi Di Dong ร้านค้า E-Commerce สัญชาติเวียดนามที่ครองอันดับที่ 2 มาตั้งแต่ไตรมาสแรก มียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนในไตรมาสสองที่ 6 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรก 9.5 ล้านคน) แต่ได้ขยับตำแหน่งจาก 7 ขึ้นเป็น 5 ของยอดดาวน์โหลดแอปใน App Store
  • Shopee อีกหนึ่งร้านค้า E-Commerce ที่ผลัดกันรุกผลัดกันรับกับ LAZADA มาโดยตลอด ในไตรมาสนี้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 26.4 ล้านคน พร้อมยอดผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก AppStore และ PlayStore สูงสุดอีกด้วย

ฟิลิปปินส์

ถือเป็นตลาด E-Commerce ขนาดใหญ่ที่อัดแน่นไปด้วยร้านค้า E-Commerce สาย Local แม้ร้านค้าที่ติดอันดับต้น ๆ จะเป็นร้านค้า E-Commerce สาย International เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม

  • LAZADA มีจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 30 ล้านคน พร้อมครองตำแหน่งอันดับที่ 1 ในสื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยมอันได้แก่ Twitter, Instagram และ Facebook
  • Shopee แน่นอนว่าประเทศใดมี LAZADA ก็ต้องมี Shopee ถึงแม้จำนวนผู้เข้าชมสินค้ารายเดือนโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 นี้ จะไม่มากเท่าใดนัก (จาก 1 ลดลงมาเหลือ 8.4 ล้านคน) แต่ก็เป็นร้านค้าที่ครองตำแหน่งผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุดทั้งจาก App Store และ Play Store มาตั้งแต่ไตรมาสแรก
  • ZALORA ที่นอกจากเป็นแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังแล้ว ยังติดอันดับร้านค้า E-Commerce ที่สาว ๆ ทั้งหลายล้วนรู้จักเป็นอย่างดี สำหรับตลาดฟิลิปปินส์ ZALORA ถือเป็นร้านค้า E-Commerce ยอดนิยมติดอันดับ 3 โดยมียอดผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว 1.6 ล้านคน แม้จะลดจากเดิมในไตรมาสแรกถึง 1.4 ล้านคน ก็ตาม ควบคู่ไปกับการติดอันดับที่ 3 ด้านจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store

สิงคโปร์

ตลาด E-Commerce เล็ก ๆ ที่อาจมีพื้นที่เพียงจังหวัดหนึ่งในไทยเท่านั้น แต่ศักยภาพด้านมูลค้า E-Commerce กลับไม่ได้เล็กตามพื้นที่ไปด้วย พิสูจน์ได้จากร้านค้า E-Commerce ชื่อดังอย่าง LAZADA ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศนี้

  • Qoo10 ร้านค้า E-Commerce ที่มีชื่อเสียงใน 2 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ต่างกันที่ความนิยม ซึ่งในตลาดสิงคโปร์นี้ Qoo10 เป็นร้านค้า E-Commerce ที่มียอดผู้เข้าสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนราว 10 ล้านคน (ลดลงจากไตรมาสแรกราว 4 ล้านคน) ต่างจากจำนวนผู้เข้าชมสินค้าในประเทศมาเลเซียที่มีเพียง 9 แสนคนเท่านั้น ในส่วนของยอดการดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store จะอยู่ในอันดับที่ 3
  • LAZADA มีผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน 5 ล้านคน แม้จะเป็นมีประเทศต้นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ แต่เพราะ Qoo10 เปิดมาก่อน LAZADA จึงมี Brand Royalty อย่างไรก็ตามร้านค้านี้ก็มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุดทั้งจาก Play Store และ App Store
  • Shopee ร้านค้า E-Commerce ที่มักติดอันดับ 1 ใน 4 ของทุกประเทศอยู่เสมอ ในตลาดนี้ Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ 8 ล้านคน มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปเป็นอันดับที่ 2 ตั้งแต่ไตรมาสแรก พร้อมยอดผู้ติดตามทาง Facebook ที่ขยับจาก 9 ล้านคน มาเป็น 11.3 ล้านคน ได้ภายในระยะเวลาเพียงไตรมาสเดียว

ไทย

ส่วนใหญ่ร้านค้า E-Commerce สาย Local ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้มักเป็นร้านที่เคยประกอบธุรกิจแบบออฟไลน์มาก่อน แล้วมาขยายธุรกิจเป็นออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

  • LAZADA ปฎิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ถ้าคนไทยคิดจะช้อปสินค้าออนไลน์ก็ต้องคิดถึงร้านค้า E-Commerce นี้ก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 40 ล้านคน พร้อมมีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปสูงสุงทั้งจาก App Store และ Play Store เสริมทับด้วยการมียอดผู้ติดตามสูงสุดทั้งจาก LINE (20.4 ล้านคน) และ Facebook (25.2 ล้านคน)
  • Shopee มียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนที่ 15 ล้านคน พร้อมมีผู้ติดตามทาง Instagram เกือบ 3 แสนคน มากกว่าไตรมาสแรกประมาณ 1 หมื่นคน
  • Chilindo ร้านค้า E-Commerce สัญชาติไทยรูปแบบการประมูลสินค้า ปัจจุบันมียอดผู้เข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ย 5 ล้านคนต่อเดือน (ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณ 7 ล้านคน) มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปทั้งจาก App Store และ Play Store มาเป็นอันดับที่ 3

ขอบคุณข้อมูลจาก iPrice Thailand

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...