เจเดน คัง (Jayden Kang) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร LINE ScaleUp แห่ง LINE ประเทศไทย โปรแกรมต่อยอดความสำเร็จ Startup ไทยก้าวไกลสู่ยูนิคอร์น เขาทำงานรับผิดชอบในส่วนของ Startup ทั้งในด้านการสร้างพาร์ทเนอร์ชิพ ด้านกลยุทธ์ อีกทั้งการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของ LINE ประเทศไทย ด้วยประสบการณ์การทำงานมากกว่า 15 ปีในหลายอุตสาหกรรม ทั้งในด้านที่ปรึกษา ด้านการจัดการ ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจใหม่ในตลาดเอเชีย รวมถึงในประเทศเกาหลีใต้ ประเทศจีน และประเทศไทย
Techsauce ชวนคุณมาทำความรู้จักกับคุณเจเดน คัง ผ่านบทสนทนาชิ้นนี้ ถึงวิสัยทัศน์ในการทำงานกับ LINE Thailand รวมถึงความตั้งใจในการปั้น Startup ไทยผ่าน LINE ScaleUp ด้วยวิสัยทัศน์ 'สร้าง Startup ยูนิคอร์นแรกของประเทศไทย’
ผมเดินทางมาทำงานที่เมืองไทยเมื่อ 20 ปีก่อน ผมมีความสนใจในตลาดที่กำลังเติบโตเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ผมให้ความสำคัญ
ผมได้มีโอกาสได้ทำงานให้กับทาง LINE Thailand เมื่อสองปีก่อน ดูแลธุรกิจใหม่โดยรวมทั้งหมด จึงได้มีโอกาสทำงานร่วมกับธุรกิจมากมาย รวมถึงกับหลาย Startup ของไทย ซึ่งผมพบว่า Startup ไทยมีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก แต่ยังขาดการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาระบบ Ecosystem ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมเลยคิดว่าเราจะช่วยให้ startup เติบโตต่อไปได้อย่างไร ผมจึงคิดว่า LINE นั้นสามารถเป็นปัจจัยหลักในการช่วยเหลือให้ startup เติบโตได้ ซึ่งหากเราสามารถสนับสนุนให้ Startup เติบโตได้เรื่อยๆ ทาง LINE ก็จะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของพวกเขาเช่นกัน
LINE มีเป้าหมายที่จะสนับสนุน Startup อย่างรอบด้าน เราจึงสร้างโครงการ LINE ScaleUp นำร่องขึ้นในปี 2018 ทำการเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม เราได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จึงนำโครงการนี้มาจัดอีกครั้งในปี 2019
ในปี 2018 มีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 50 ราย ซึ่งเหล่า Startup ที่ผ่านการคัดเลือก จะได้ LINE Official Account และแพคเกจ LINE Messaging API โดยพวกเขาจะสามารถเชื่อมต่อกับบริการกับแพลตฟอร์มของ LINE ยกระดับธุรกิจตนเองเพื่อให้บริการผู้ใช้งานใน scale ที่กว้างมากขึ้นโดยไม่เสียค่าบริการ ซึ่งหาก Startup มีข้อสงสัย เราก็พร้อมจะให้คำแนะนำด้านเทคนิคและการสนับสนุน นอกจากนี้คือเป็นอีกช่องทางให้กับ Startup ได้ทำงานร่วมกันกับเราอย่างเป็นทางการ
ในปีนี้ 2019 เนื่องจากเราได้พบว่า Startup ยังคงต้องการที่จะได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคและการโค้ชชิ่งจาก LINE เราจึงได้เปิดตัว LINE ScaleUp อย่างเป็นทางการอีกครั้งในปี 2019 ซึ่งในปีนี้เรามีการคัดเลือกที่เข้มข้นกว่าเดิม ซึ่งทีมที่ผ่านการเข้ารอบจะได้รับการอบรมเพื่อทำความเข้าใจเทคโนโลยี LINE และ LINE Messaging API ว่ามีการทำงานอย่างไร อีกทั้งเรายังทำงานร่วมกับทาง LINE Venture ที่เตรียมสนับสนุนด้านการลงทุนถึง 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปีนี้เรามุ่งมั่นเพื่อหวังช่วยเหลือ Startup ไทยให้ได้
หลังจากการประกาศรับสมัครไปเมื่อเดือนมีนาคม 2019 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 100 ทีม และเราก็ได้ทำการคัดเลือก 6 ทีมสุดท้ายในการเข้าสู่ ScaleUp Camp ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งจะมีการจัดเวิร์คช็อปถึงวิธีการใช้ LINE API ที่หลากหลาย อีกทั้งการสนับสนุนด้านเทคนิค ด้านธุรกิจ และการลงทุน
ซึ่งเราหวังว่าการโคชชิ่ง และสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ Startup ไทยต้องการ เราจึงต้องการสนับสนุนพวกเขาให้ถึงฝั่งฝันกับการเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทยครั้งแรก LINE ScaleUp นั้นก็เหมือนกับ Startup เราเพิ่งทำการเปิดตัวไปไม่นาน อีกทั้งยังต้องทำการ pivot ทุกครั้งเมื่อเราพบแนวคิดและเส้นทางที่ดีกว่า ดังนั้น Startup ที่เราคัดเลือกเข้ามาร่วมงานด้วย จึงเป็นที่ปรึกษาของ LINE เช่นกัน ในการเดินทางสู่ระดับยูนิคอร์นไปด้วยกัน
ในแง่ของแนวคิดผมคิดว่าเราคล้ายกัน แต่สิ่งที่ทำให้ LINE โดดเด่นก็คือในแง่ของวิธีการ อันดับแรก LINE มีสถานะที่แข็งแกร่งในตลาดเมืองไทย อีกทั้ง คนไทยใช้ LINE Messenger ในการส่งข้อความหากันเป็นจำนวนมากและบ่อย จนไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งาน LINE มากเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น เราจึงมี LINE Messaging API ให้กับ Startup ที่ผ่านการคัดเลือกได้ใช้บริการฟรีเป็นเวลาหนึ่งปี
อันดับสอง เรามุ่งเน้น Startup ที่ได้รับการลงทุนไปแล้วในระดับ Series A เนื่องจากหลายบริษัทมุ่งเน้นในด้านการบ่มเพาะ Startup และในระดับ Seed อีกทั้งในประเทศไทยก็มีผู้เล่นมากมายในด้านนี้ แต่ในด้านการสนับสนุนหลังจากนั้นยังไม่มีผู้เล่นไหนที่เข้ามาสนับสนุนตรงนี้ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม LINE ScaleUp จึงเข้ามาทำงานร่วมกับ Startup ไทย
สุดท้ายคือในด้านคือการลงทุนและด้าน Globalization ทางบริษัทแม่ของเรามีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีทั้งในตลาดญี่ปุ่น เกาหลี จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นแน่นอนว่าเราจะสามารถสนับสนุน Startup ให้เติบโตต่อไปยังต่างประเทศได้ นอกจากนี้ เรายังมี LINE Ventures ที่พร้อมให้การสนับสนุนในด้านการลงทุน
การทำงานแบบ Startup นั้นคือ DNA ของ LINE เรารู้ว่ายูนิคอร์นที่มีศักยภาพมีลักษณะอย่างไร เราจึงต้องการเป็นหนึ่งแรงผลักดันให้ Startup ไทยไปถึงเป้าหมาย
เรามองหาบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจที่เราคิดว่าน่าสามารถทำงานผสานร่วมกันได้ และทำการเข้าซื้อบริษัทนั้นๆ วิธีต่อมาคือการสร้างข้อตกลงทางการค้า อย่างกรณี LINE MAN, LINE TODAY, LINE TV เราทำงานร่วมกับ Startup ที่ให้บริการหลากหลาย โดยในทุกๆ ปีจะมีการต่ออายุสัญญาข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน และต่อมาคือโปรแกรม LINE ScaleUp เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ Startup ซึ่งเราได้ทำการพิจารณาแต่ละบริษัทอย่างแข็งขัน ซึ่งในปีนี้ เรายังมีทาง LINE Ventures มาให้การสนับสนุนในด้านการลงทุนอีกด้วย
ในด้านวัฒนธรรมองค์กรของ LINE เราค่อนข้างเปิดกว้างให้พนักงานในการนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ไม่มีเรื่องของลำดับชั้น ทุกคนสามารถเสนอในสิ่งที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเหมือนกับการแข่งขัน บางไอเดียที่เรามองว่าอาจเป็นไปได้ เราได้ให้โอกาสในการสร้างไอเดียนั้นให้เกิดขึ้นต่อไป
สำหรับจุดปรับปรุงที่สำคัญสำหรับ Startup ในประเทศไทยนั้นมีสามด้าน อย่างไรก็ตามนี่เป็นมุมมองจากคนนอกนะครับ อันดับแรก Startup จะต้องมีความตรงไปตรงมามากขึ้น ผมชอบทำงานกับคนไทยและรักในวัฒนธรรมไทยในแง่ที่คนไทยไม่ต้องการสร้างความขัดแย้ง แต่ในโลกของ Startup นั้นการทำงานมันเป็นเหมือน 'Do It or Die' ดังนั้นทุกวัน เราต้องคิดวิธีที่จะสามารถ scale ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญที่ จะต้องตรงไปตรงมาในเรื่องตัวเลข ตลาด และลูกค้า
อันดับสอง ทักษะการนำเสนอเชิงกลยุทธ์ แน่นอนว่า Startup มีความรู้และเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนเองทำเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือจะสื่อสารกับคนภายนอกทั้งนักลงทุน คนจากในภูมิภาคอื่นๆ ให้เข้าใจในสิ่งที่พวกเขาทำได้อย่างไร เนื่องจากพวกเขาอาจมีเวลาไม่พอที่จะเข้าใจสถานการณ์ตลาดในประเทศนั้น ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเสนอเชิงกลยุทธ์ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่ามีสิ่งที่แตกต่างและคล้ายกันในตลาดของแต่ละประเทศอย่างไร
และสุดท้ายคือต้องมองให้ไกลกว่าตลาดในประเทศตัวเอง Startup ไทยมีแนวโน้มที่จะโฟกัสที่ตลาดในไทยเท่านั้น แต่การที่จะเติบโตไปให้ถึงระดับยูนิคอร์น จึงมีความสำคัญที่จะต้องมองให้กว้างมากขึ้น ภาษาอังกฤษก็สำคัญ อีกทั้งการสร้างคอนเนกชั่นเพื่อสร้างเครือข่ายที่หลากหลายทั่วโลกก็สำคัญเช่นกัน
ในส่วนของผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบ Ecosystem ของ Startup ให้แข็งแกร่งทั้งนักลงทุน, รัฐบาล, บริษัทด้านเทคโนโลยี ผมพบว่าสถานะของไทยค่อนข้างดี ดังนั้นผมคิดว่านี่เป็นรากฐานที่ดี อย่างไรก็ตามในในด้านของรัฐบาลของประเทศไทย เมื่อเทียบกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ เรายังมีความต้องการจากรัฐบาลไทย ในการเป็นส่วนผลักดันระบบ Ecosystem ของ Startup ให้เติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น
โลกการทำงานของ Startup นั้นเป็นเหมือน 'Do It or Die' ในทุกๆ วัน เราจะต้องคิดหาวิธีว่าจะสามารถ scale มากขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญที่ Startup ไทย จะต้องตรงไปตรงมาในเรื่องของตัวเลข ตลาด และลูกค้า
LINE เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ในด้านเกณฑ์การหาคนทำงาน ทักษะหลักๆ ที่เราต้องการคือ Full Stack Developer ประเทศไทยยังคงต้องการคนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ เราจึงได้สร้างศูนย์อบรมทักษะที่จำเป็นของพนักงาน อันดับสองคือทักษะด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากพนักงานจำเป็นต้องทำงานกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายกับคนจากต่างประเทศ
Naver มีดีเอ็นเอเฉพาะที่ทำให้เขาเริ่มประสบความสำเร็จจากตลาดเฉพาะด้าน เริ่มจากการให้บริการข้อมูลออนไลน์แก่ผู้ใช้งานในประเทศเกาหลีใต้ ไล่เรียงตั้งแต่ข่าวบันเทิง เพลง การศึกษาไปจนถึงร้านกาแฟออนไลน์ และสารานุกรม บริการเหล่านี้คือจุดแข็ง และช่วยให้ Naver มีรายได้จากการโฆษณา
พวกเขาต้องทำการแข่งขันกับ Yahoo และผู้ให้บริการท้องถิ่นอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาทำเริ่มแรก คือการจ้างคนจำนวนมากเพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับคำถามและคำตอบ ทำการแบ่งแยกประเภทของคำถาม ที่ผู้ใช้งานมีแนวโน้มที่จะค้นหา ทำการป้อนคำตอบเข้าไป นี่ทำให้ Naver สามารถสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของตัวเองได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
หลังจากนั้นไม่กี่ปี Naver ก็ได้เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศเกาหลีใต้ ผู้ใช้งานสามารถป้อนคำถาม และสามารถได้รับคำตอบอย่างรวดเร็วและเฉพาะเจาะจงตรงตามที่ต้องการ พวกเขาลงทุนอย่างหนักในด้านการสร้าง Database ของตัวเอง รวมทั้งเวลาด้วย และจากนั้นพวกเขาก็สามารถขยายบริการไปยังธุรกิจด้านอื่นๆ อย่างเช่น บล็อก, อีเมล และการให้บริการคอนเทนต์ที่หลากหลาย หลังจากครองตลาดที่ประเทศเกาหลีใต้ได้สำเร็จ จึงทำการขยายกิจการไปยังประเทศในเอเชียอื่นๆ อย่างญี่ปุ่น จีน ซึ่งหลังจากความพยายามอย่างหลายปี พวกเขาก็ได้สร้าง LINE ในประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ
ผมมีความปรารถนาที่จะทำงานร่วมกับบริษัท Startup ไทย ในการให้สนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสำหรับหัวข้อนี้ที่ผมจะพูดในครั้งนี้ จะเป็นการเน้นย้ำว่าสิ่งที่เป็นดีเอ็นเอ หรือเกณฑ์สำคัญที่พวกเขาจำเป็นต้องคำนึงในการที่จะเติบโตต่อไปได้คืออะไร นอกจากนี้คือการขยายธุรกิจ อีกทั้งการมองให้ไกลกว่าตลาดในประเทศหรือด้าน Globalisation ดังนั้นในแต่ละขั้นของการเติบโต อาจจะต้องการมุมมองที่แตกต่าง ทั้งในแง่ของการจ้างคน มุมมองทางเทคโนโลยี และโอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งยังมีเรื่องของบทเรียนกรณีความสำเร็จของทาง LINE, Naver และ LINE ScaleUp ว่าจะทำการสนับสนุน Startup ในแต่ละ stage เพื่อให้เติบโตอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร
ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้แชร์มุมมองส่วนตัวแก่ผู้ร่วมงานทุกคน อีกทั้งโอกาสที่จะได้คอนเนคกับ Startup ที่จะเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
ติดตามแนวคิดของคุณเจเดนที่มีต่อ Startup ไทยเพิ่มเติมได้ใน Startup stage งาน Techsauce Global Summit 2019 ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ที่เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซสชันของคุณเจเดนได้ที่ Jayden Kang - Techsauce Global Summit หรือตรวจสอบช่องทางการจำหน่ายบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ summit.techsauce.co
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด