บทวิเคราะห์การเข้ามาบุกตลาดไทยของ JD.com ที่ประกาศยกระดับวงการค้าปลีก | Techsauce

บทวิเคราะห์การเข้ามาบุกตลาดไทยของ JD.com ที่ประกาศยกระดับวงการค้าปลีก

วงการค้าปลีกอาจสะเทือนไม่น้อย เมื่อ E-Commerce รายใหญ่จากจีนอย่าง JD.com ประกาศจับมือ (Joint Venture) กับ Central Groups ด้วยดีล 500 ล้านดอลลาร์หรือราว 1.65 หมื่นล้านบาท เพื่อบุกตลาดไทยรวมถึง FinTech

"ตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวงการค้าปลีก สิ่งสำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่จะเอามาใช้ นั้นก็คือการนำเอาเทคโลยีล้ำหน้าเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานด้านการค้าปลีก"

คุณเฉิน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ของ JD.com เล่าถึงการเข้ามาของ JD.com เพื่อมายกระดับการค้าปลีกของไทย โดยชี้ให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ในยุคที่ 4 ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งก็คือ E-Commerce นั่นเอง โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างประการณ์ของลูกค้า ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้คือการตอบโจทย์

การปฏิวัติอุตสาหกรรมค้าปลีก ครั้งที่ 4

อุตสาหกรรมการค้าปลีกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากรูปแบบ ห้างสรรพสินค้า (department store) ร้านค้าปลีกเครือข่าย (chain store) ไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ต (supermarket) และเข้ามาสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมค้าปลีกครั้งที่ ซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพของในแต่ละกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการข้อมูล การจัดการสินค้าและการบริหารเงินทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ธุรกิจค้าปลีกในบริบทที่เปลี่ยนไป

ในทุกยุคทุกสมัย ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการธุรกิจค้าปลีกก็คือ ปัจจัยด้านการบริหารต้นทุน (cost) ประสิทธิภาพ (efficiency)และประสบการณ์ของผู้บริโภค (experience) แต่ในบริบทธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยต้องการตัวเลือกสินค้าและช่องทางในการเลือกซื้อที่หลากหลายขึ้น (pluralistic) ต้องการหาประสบการณ์เฉพาะตัว (personalized) และต้องการเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น (participative)

จากเดิมที่ผู้บริโภคต้องไปสถานที่เพียงที่เดียวเพื่อเลือกซื้อสินค้า ในปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์หลากหลาย และเลือกซื้อสินค้าได้ไม่จำกัด นอกจากนี้ เทคโนโลยียังมีบทบาทในการเปลี่ยนรูปแบบของตลาดที่จากเดิมประกอบไปด้วยสินค้าที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน (mass market) กลายเป็นตลาดที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีความเฉพาะตัวและตรงกับความต้องการส่วนบุคคลยิ่งขึ้น (individual)

อนาคตของโครงสร้างพื้นฐานในธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจค้าปลีกในอนาคตจะมีคุณสมบัติ 3 อย่าง ได้แก่

  1. ขยายขนาดตอบรับการเติบโตได้ (scalable)
  2. มีความชาญฉลาด (smart) เช่น การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการบริหารจัดการคลังสินค้า การขนส่งสินค้าด้วยยานพาหนะไร้คนขับ และการใช้งานโดรน
  3. องค์ประกอบต่างๆ ทำงานสอดคล้องกัน (synergistic)

เทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน

เทคโนโลยีสำคัญที่เป็นโครงสร้างในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ค้าปลีกได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์อัจฉริยะ (smart device) โลกเสมือนผสานโลกจริง (AR) และโลกเสมือนจริง (VR) และบิ๊กดาต้า (Big Data) เพื่อทำให้ซัพพลายเชนและบริการด้านโลจิสติกส์มีความชาญฉลาดและทำงานสอดคล้องกันยิ่งขึ้น

JD.com ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า โดยสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง ตลอดจนทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ในการเลือกซื้อสินค้าที่ดีที่สุดได้อีกด้วย เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการจัดการสินค้า ที่สามารถเพิ่มความจุและประสิทธิภาพในการจัดเก็บ การใช้ โดรนขนส่งหรือพาหนะไร้คนขับมาช่วยในการส่งสินค้า ซึ่งที่จีนเริ่มใช้แล้วในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการใช้ AI วิเคราะห์ Big Data ในการกำหนดราคาสินค้า และจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขาย

ทั้งนี้เมื่อถามว่าโครงสร้างพื้นฐานของไทยพร้อมหรือยังกับสิ่งที่คุณฉางเล่ามา คุณฉางตอบว่า "pretty good" โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคสู่ออนไลน์ โดยปัจจัยที่จะทำให้ผู้บริโภคใช้บริการคือการได้รับสินค้าคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่าทั่วไป ได้รับการจัดส่งสินค้าที่ดี ซึ่งเมื่อได้รับประสบการณ์ที่ดีผู้บริโภคก็จะหันมาใช้บริการ

คุณฉางทิ้งท้ายว่า JD.com ต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี E-Commerce ในระดับโลก โดยเป้าหมายในอีกไม่นานนี้คือการเป็น Retail as a Service (RaaS) โดยจะสมบูรณ์เมื่อมีการใช้ระบบพาหนะไร้คนขับและการใช้โดรนอย่างเปิดกว้าง

Timeline ของ JD.COM

JD.com เป็นทั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของจีนจากรายได้ โดยมีมูลค่าการขายสินค้ารวมอยู่ที่ 939.2 พันล้านหยวนในปี 2559 และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 152% มีบริการผ่านทางเว็บไซต์, แอพพลิเคชั่นมือถือ, WeChat, Mobile QQ และ Baidu

1998: เปิดร้านค้า (brick-and-mortar) ในกรุงปักกิ่ง 2004: หลังจากมีการระบาดของโรคซาร์ส ได้เปิดตัวธุรกิจออนไลน์ 2014:  เสนอขายหลักทรัพย์ (IPO) ที่ Nasdaq โดยเป็นการทำ IPO ที่ใหญ่ที่สุดของปี 2016: ได้รับการจัดอันอยู่ในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 500 บริษัทโดยนิตยสารฟอร์จูน (Fortune Global 500) โดยถือเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตรายแรกและอันดับสูงที่สุดของประเทศจีน ปัจจุบัน: ครองตำแหน่งบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และเป็นบริษัทอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดและบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...