K Capstone โครงการ 2 กับการฝึกงานด้วยวิถี Agile ในแบบฉบับ KBank | Techsauce

K Capstone โครงการ 2 กับการฝึกงานด้วยวิถี Agile ในแบบฉบับ KBank

สำหรับนิสิตนักศึกษา การฝึกงานถือเป็นบันไดก้าวสำคัญสู่โอกาสร่วมงานกับองค์กรชั้นนำในอนาคต ซึ่งหนึ่งในองค์กรชั้นนำที่นิสิตนักศึกษาทุกวันนี้สนใจร่วมงาน ต้องมีชื่อของ “KBank” อยู่ด้วยแน่นอน ที่ล่าสุด ได้จัดโครงการฝึกงานที่มีชื่อว่า K Capstone ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา

K Capstone ปีที่ 2 ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงามยิ่งกว่าเดิม ด้วยจำนวนผู้สมัครจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 800 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2018 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการรอบสุดท้ายเพียง 49 คนจากสาขาต่างๆ ทั้ง Business Administration, Economics, Computer Science รวมถึงสาขา Computer Engineer และ Graphic Design ซึ่งความหลากหลายของสาขาวิชาจะเติมเต็มประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมทุกคน

ปัจจุบัน KBank ถือเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการ Transform องค์กรเพื่อรับมือ Digital Disruption โดยมีเครื่องมือสำคัญอย่าง Agile เป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ในด้านการทำงานของบุคลากร ดังนั้น K Capstone ในปีนี้ จึงนำวิธีการทำงานแบบ Agile มาเป็น Way of Work ของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ K Capstone ทั้ง 2 ครั้งที่จัดขึ้น

ในระยะเวลากว่า 8 สัปดาห์ นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมจะต้องพัฒนา Business Project ที่มีเป้าหมายเป็น “Community Platform” ซึ่งระหว่างนี้ ทุกกลุ่มได้โอกาสบ่มเพาะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Business Development Tools ยอดนิยมอย่าง Design Thinking การสร้างทีมที่คล่องตัวด้วย Agile ไปจนถึง Pitching Workshop เพื่อการนำเสนอไอเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิทยากรผู้เป็น Startup Founder ชั้นนำของไทย นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้แนวทางการทำธุรกิจจากบุคลากรตัวจริงในด้าน Data Science และ Business Development ของ KBank

Techsauce มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน K Capstone #2 Pitching Day ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ จึงขอนำภาพบรรยากาศ พร้อมกับบทสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ชนะ Pitching ของโครงการ K Capstone ปีที่ 2 มาให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

สำหรับผลการตัดสิน K Capstone #2 Pitching Day มีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ

ทีม Share-mily -  แพลตฟอร์มแชร์สินค้าโปรโมชั่นจากแบรนด์ชั้นนำ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์วัยรุ่น ด้วยความรวดเร็ว และน่าเชื่อถือ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

ทีม MU daily - ศูนย์รวมการดูดวงทุกรูปแบบที่มาพร้อมกับผู้ช่วยให้คำปรึกษาที่ช่วยเสริมความมั่นใจในทุกก้าวของชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้สนุกสนานกับการพบเพื่อนใหม่ที่พร้อมจะมูไปด้วยกันในทุก ๆ วัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

ทีม Share-kun - แชร์กัน เพื่อนที่รู้ใจ เพื่อหาเมทที่ใช่กับหอที่ชอบสำหรับคุณ

รางวัล Popular Vote

ทีม Profind - แพลตฟอร์มหาคอร์สฝึกทักษะที่ควรมีในอนาคตหรือ Tomorrow’s Skills สำหรับนักศึกษา เพื่อให้มีทักษะพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต

ฝึกงานแบบ Agile เพื่อก้าวสู่ Beyond Banking คุยกับคุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

จากความสำเร็จของโครงการ K Capstone ปีที่ 2 เราได้เห็นประเด็นน่าสนใจจากตัวโครงการและวิสัยทัศน์ของธนาคารเอง และเพื่อให้ภาพดังกล่าวชัดเจนที่สุด เราจึงถือโอกาสพูดคุยกับคุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นผู้บริหารที่ริเริ่มและผลักดันโครงการ K Capstone ให้เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์โครงการ K Capstone2 และสิ่งที่แตกต่างจากปี 2018

คุณพิพิธ: เราวางโจทย์ของโปรเจกต์ที่น้องๆ ได้ทำในปีนี้ให้ต่างจากปีที่แล้วที่เน้นไปในทาง Financial Service ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางธนาคารถนัดอยู่แล้ว ให้มาเป็นโจทย์ที่ใกล้ตัวน้องๆ มากขึ้นคือการสร้าง Community Platform ของช่วงอายุวัยเรียนของน้องๆ เอง ทำให้เราได้ Insights ที่แท้จริงของพวกเขา ซึ่งผลงานที่น้องๆ ได้โชว์ให้เราเห็นวันนี้ ทำให้ธนาคารเข้าใจชีวิต พฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มนิสิตนักศึกษาในยุคปัจจุบันมากขึ้น นอกจากนี้ ในมุมของธนาคารที่พยายามหาทางรอดในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โครงการนี้เป็นเหมือนการทดสอบทดลองความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ความเหมาะสม และความเป็นได้ของรูปแบบการทำงานใหม่ของพนักงาน ซึ่งจาก 2 ปีที่ได้ทดลองมา คำตอบคือใช้งานได้ แสดงให้เห็นว่าที่ธนาคารยังเปลี่ยนไม่ได้ เป็นเรื่องของทัศนคติของคนที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน เวลาเขาเห็นตัวเลขเป็นกำไร เขาก็ถามว่ากำไรก็ดีอยู่แล้วจะทำไปทำไม ซึ่งนิสิตนักศึกษาที่ไม่ได้เห็นตัวเลขเหล่านี้ก็ช่วยพิสูจน์ว่าทำได้

ในตอนริเริ่มโครงการปีที่ 2 คาดหวังจะเห็นอะไรกับผู้เข้าร่วม

คุณพิพิธ: ทางธนาคารมีการพัฒนารูปแบบโครงการให้สามารถตอบสนองความต้องการของการฝึกงานให้กับกลุ่มนักศึกษาในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องการการฝึกงานในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งทางธนาคารคาดหวังที่จะได้เห็นศักยภาพของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่แสดงออกมาผ่านผลงานของน้องๆ แต่ละกลุ่ม เราพยายามเปิดพื้นที่ทางความคิดให้กับน้องๆ ให้แต่ละคนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบแบ่งหน้าที่การทำงานด้วยตัวเอง โดยใช้หลักการทำงานแบบ Agile หรือ New way of work ของธนาคาร ทำให้ line of command หายไปและให้ทุกคนมี Autonomy with Accountability เต็มที่ ซึ่งวันนี้จากโครงการนี้ทำให้เราเริ่มเห็นแล้วว่าวิธีการทำงานแบบนี้ ที่เราพยายามนำเข้ามาปรับใช้นั้นมันเหมาะสมกับศักยภาพของคนรุ่นใหม่หรือเด็กไทย มันมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเอามาใช้จริงๆ

ปัจจุบัน KBank ถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของประเทศ คิดว่าการท้าทายของการรักษาตำแหน่งข้างต้นคืออะไร และการศึกษามีส่วนช่วยพาก้าวข้ามความท้าทายได้หรือไม่อย่างไร

คุณพิพิธ: เรายอมรับว่าเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิต และรูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ ไป แต่ปัญหาใหญ่ของไทยคือ ขาด Talent หรือคนที่มีทักษะในการทำงานที่เหมาะสม และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหาก ผลการศึกษาวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า มีคนไทยเพียง 1.8 เปอร์เซ็นต์ จากกลุ่มตัวอย่าง 14,000 คน เท่านั้น ที่มี Digital Skill (ทักษะทางการใช้งานและทำงานด้านดิจิทัล) เพียงพอสำหรับงานในอนาคต

ปัจจุบัน Talent ไม่ใช่แค่คนเก่งทักษะเฉพาะด้าน แต่ยังต้องมี Soft skill ด้วย หมายถึงว่าอาจจะไม่ต้องเก่งที่สุด แต่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ เราอยู่ในยุคที่การ Collaboration มาเต็มไปหมด ดังนั้น เราจึงต้องการคนที่ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ในส่วนของ KBank เรามองการสร้าง Talent ให้เกิดในไทยมากขึ้น ซึ่ง K Capstone ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้าง Community ให้เราใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น เราพยายามให้ความรู้และ Soft skills ที่นอกเหนือจากห้องเรียนเพื่อยกระดับศักยภาพของนักศึกษาไทยให้เป็นกำลังคนของชาติ ไม่ว่าผ่านโครงการออกไปแล้ว น้องๆ จะไปทำงานที่ไหนก็ตาม

อีกส่วนหนึ่งที่จะพาก้าวข้ามความท้าทายคือ การมี Leadership (ภาวะผู้นำ) และ Will (แรงขับ) ที่จะทดลองบางอย่างเพื่อพางานไปสู่ความสำเร็จ และที่สำคัญคือต้องรู้จัก Balance ก่อนล้มให้ดี คือล้มได้แต่ต้องระวังเจ็บด้วยจะได้ลุกได้เร็ว

รูปแบบการทำงานใน K Capstone จะเป็นรูปแบบการทำงานใหม่ของธนาคาร ถ้า KBank จะเป็น Talent Magnet ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน Agile จะเป็น In common โดยมี Talent and People Management ร่วมด้วย

คุยกับทีมชนะเลิศ เล่าความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้ทดลองทำงานแบบ Agile

หลังจากที่ได้รับทราบวัตถุประสงค์ของ K Capstone ไปแล้ว เพื่อให้เห็นภาพในอีกมุมหนึ่ง เราจึงขอพูดคุยกับตัวแทนทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศในวัน K Capstone #2 Pitching Day อย่าง “โมบาย-สุวีรยา บุญชู” จากทีม Share-mily ที่นำเสนอ Sharing Platform สำหรับซื้อและแบ่งปันสินค้าโปรโมชั่นจากแบรนด์ชั้นนำ ตอบสนอง Lifestyle ของวัยรุ่นด้วยความรวดเร็วและน่าเชื่อถือ

จุดเริ่มต้นความสนใจโครงการ K Capstone

“โมบาย” ตัวแทนจากทีม Share-mily เล่าว่า ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งคณะเศรษฐศาสตร์มักต้องเกี่ยวข้องและประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจและการเงิน เมื่อได้เห็นโครงการ K Capstone ที่จัดโดย KBank จึงเข้าร่วมทันที

สิ่งที่คาดหวังจากโครงการ K Capstone

เมื่อพูดถึงการฝึกงาน หลายคนมักนึกถึงแค่การทำงานร่วมกับบุคลากรจริง แต่ K Capstone ให้โอกาสมากกว่าด้วยการเปิดโอกาสให้พัฒนาชิ้นงานจากทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่ KBank จัดเตรียมไว้ให้

“โมบาย” เล่าว่า K Capstone เป็นโครงการนักศึกษาฝึกงานที่ต่างจากที่คิดไว้ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ได้เข้ามาแก้ปัญหาเอง จึงมีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ โดยเฉพาะทักษาะด้าน Marketing ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน

มุมมองใหม่จาก “เพื่อนร่วมทีมหลากหลายสาขา”

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจสำหรับโครงการ K Capstone คือการแบ่งทีมโดยนำนักศึกษาจากหลายสาขาวิชามารวมกัน แต่ละทีมจึงมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญและมุมมองที่ต่างกัน ซึ่งมุมมองที่หลากหลายนี้เป็นการเรียนรู้ที่ดีของสมาชิกทีมทุกคน

ในฐานะนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ “โมบาย” จึงมีมุมมองต่อปัญหาต่างๆ ด้วยความรู้ในสาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อได้เจอกับเพื่อนในสาขาบริหารธุรกิจที่มองปัญหาเดียวกันในมุมการแก้ปัญหาด้วยกลยุทธ์ธุรกิจ ก็ทำให้เห็นว่าในปัญหาเดียวกัน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีที่หลากหลาย

สำหรับทีม Share-mily ได้เริ่มต้นด้วยการมองหา Pain Point ด้วยมุมมองที่หลากหลายทำให้ทีมพบ Pain Point ที่น่าจะเป็นธุรกิจได้มากกว่า 10 อย่าง จึงนำทั้งหมดมาหารือกันภายใน แล้วเลือก 2-3 หัวข้อที่มีศักยภาพพัฒนาต่อได้จริงมาตั้งต้นทำ Survey จนได้พบกับการหาคู่แชร์สินค้าโปรโมชั่นแบบ 1 แถม 1 ในที่สุด

ประสบการณ์นอกห้องเรียนจาก K Capstone

การฝึกงานถือเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนที่ล้ำค่าสำหรับนิสิตนักศึกษาทุกคน โดย "โมบาย" เผยว่า K Capstone ได้มอบประสบการณ์ทำงานแบบ Startup จนเป็นแรงบันดาลใจให้อยากทำ Startup ของตัวเองในอนาคต

นอกจากการทำงานแบบ Startup แล้ว K Capstone เปิดโอกาสให้ “โมบาย” ได้เจอ Startup Founder ตัวจริงที่คอยแนะนำความรู้กับแรงบันดาลใจ ทั้งยังได้พบเพื่อนๆ ที่มี Passion ในการทำงานคล้ายๆ กัน และได้โอกาสเป็นนายตัวเองซึ่งต้องอาศัยแรงใจและวินัยเพื่อผลักดันงานให้สำเร็จด้วยตัวเอง

ฝากถึงเพื่อนๆ ที่สนใจโครงการ K Capstone ครั้งหน้า

“โมบาย” ฝากถึงนักศึกษาที่สนใจโครงการว่า อยากให้เข้ามาลอง เพราะเป็นโครงการฝึกงานที่มาพร้อมแนวคิดใหม่ การได้ลองสิ่งใหม่ๆ จะทำให้ตัวเราเจอความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง อีกทั้งกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ K Capstone ยังสามารถนำไปใช้ในการทำงานจริงได้

มาลองดูว่าตัวเองจะสามารถไปได้ไกลแค่ไหน มาท้าทายตัวเอง มาทำในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่มีโอกาส

นักศึกษาที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสารโครงการ K Capstone ได้เพิ่มเติมที่ K Capstone สำหรับคนที่ต้องการร่วมงานกับ KBank สามารถติดตามข่าวตำแหน่งงานได้ที่ KASIKORN CAREER

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...