ไขข้อสังสัย ภาษีคริปโทฯ ต้องจ่ายอย่างไร ? วิธีคำนวณง่ายๆ ที่นักเทรดต้องรู้ | Techsauce

ไขข้อสังสัย ภาษีคริปโทฯ ต้องจ่ายอย่างไร ? วิธีคำนวณง่ายๆ ที่นักเทรดต้องรู้

Cryptocurrency หรือ สกุลเงินดิจิทัล กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากบรรดานักลงทุน ที่พากันเบนเข็มลงสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลนี้กันจนแน่นขนัด และก็ดูเหมือนกับว่ายังคงเป็นฟีเวอร์ที่ร้อนแรงไม่หยุด เมื่อกรมสรรพากรได้มีการประกาศแนวปฏิบัติใหม่ในการเรียกเก็บ ‘ภาษีคริปโทฯ’ จนทำให้เกิดความตื่นตัวกับบรรดานักเทรดคริปโทฯของไทยอยู่ไม่น้อย 

ไขข้อสังสัย ภาษีคริปโทฯต้องจ่ายอย่างไร ? วิธีคำนวณง่ายๆ ที่นักเทรดต้องรู้

ในบทความนี้ K WEALTH โดยธนาคารกสิกรไทย ได้มีการสรุปทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ภาษีคริปโทฯว่าต้องจ่ายไร พร้อมวิธีคำนวณง่าย ๆ และประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนที่ต้องรู้ไว้หากลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ 

เงินที่ได้จาก คริปโทฯ นับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เป็นที่ทราบกันดีว่า คริปโทเคอร์เรนซี เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยเงินได้ที่เกิดจากคริปโทฯ ทั้งการ Trade แล้วได้กำไร การ Stake เหรียญที่มีผลตอบแทนคล้ายเงินปันผล รวมถึงไปการขุดเหรียญ จะนับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด 

ล่าสุด กรมสรรพากรได้ประกาศแนวปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้นในการจัดเก็บภาษีคริปโทฯ สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายคริปโทฯผ่าน Exchange Platform ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบความถูกต้อง และหักภาษีได้ถูกฝาถูกตัว ทำให้ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

  2. สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ เพื่อใช้คิดเงินได้เพื่อนำไปคำนวณภาษี จากแต่เดิมที่ให้คิดเฉพาะรายการที่ได้กำไร ซึ่งได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากถึงความไม่เป็นธรรมสำหรับนักลงทุน

  3. วิธีการคิดต้นทุน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 

    1) คิดด้วยวิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” (First in, First out หรือที่เรียกว่า FIFO)

    2) วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 1 ก.พ. ซื้อคริปโท A จำนวน 1 เหรียญในราคา 10,000 บาท/เหรียญคริปโท ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. ซื้อเพิ่มอีก 1 เหรียญในราคา 12,000 บาท เมื่อขายออก 1 เหรียญ ในวันที่ 4 ก.พ. ถ้าใช้วิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” (FIFO) จะใช้ต้นทุนที่ซื้อเข้ามาก่อน นั่นคือ 10,000 บาท แต่ถ้าใช้วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ ทั้งสองเหรียญจะมีต้นทุนเฉลี่ย 11,000 บาท คือนำราคาซื้อทั้งหมดมารวมกันหารด้วยจำนวนเหรียญ
     
  4. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ให้วัด ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ย 

ไขข้อสังสัย ภาษีคริปโทฯต้องจ่ายอย่างไร ? วิธีคำนวณง่ายๆ ที่นักเทรดต้องรู้

แล้วภาษีคริปโทฯ ต้องจ่ายอย่างไร ? 

แม้ว่าจะมีการยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่นักลงทุนยังต้องนำเงินได้จากคริปโทฯ (ที่หักลบผลกำไร-ขาดทุนเรียบร้อยแล้ว) มารวมกับเงินได้อื่นๆ เช่น เงินเดือน เงินจากธุรกิจ และอื่นๆ นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เพื่อยื่นภาษีประจำปี และจ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้า 5-35% แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ถึงแม้จะไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ถ้ามีเงินได้ทั้งปีตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป (สถานภาพโสด) จะยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. เช่นกัน

ทั้งนี้ K WEALTH แนะนำให้นักลงทุนเตรียมยื่นภาษีด้วยการสรุปทำบัญชีกำไร/ขาดทุนในการซื้อขาย (เทรด) การ Stake เหรียญ และทำบัญชีต้นทุนในการขุดเหรียญให้ละเอียดชัดเจน 

ส่วนประเด็นที่ยังต้องจับตามอง มีดังนี้ 

  1. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมายให้เจ้าของ Exchange Platform เป็นผู้ดูแลในการหักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายกับกรมสรรพากร เนื่องจากถ้าให้นักลงทุนต้องจดบันทึกการซื้อขายเหรียญเองทุกรายการ อาจเกิดความผิดพลาดได้ในกรณีที่นักลงทุนบางคนอาจมีการซื้อขายหลายรายการในหนึ่งปี

  2. การเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ ตามปกติแล้วจะใช้กับสินค้าหรือบริการที่คิดมูลค่าเพิ่มได้ยาก ซึ่งเหมาะกับการใช้คำนวณรายได้และการจัดเก็บภาษีคริปโท มากกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภายใต้ความนิยมและการมีบทบาทมากขึ้นของคริปโทเคอร์เรนซี ในแวดวงการเงินในฐานะที่เป็นสินทรัพย์การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับใครที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล คงต้องลองมาทำความเข้าใจ รู้จักวิธีใช้ประโยชน์ ศึกษาเรื่องของภาษีคริปโทฯ ที่กำลังเป็นที่น่าจับตา พร้อมกับเกาะติดประเด็นที่ยังคงต้องติดตามในเรื่องของความชัดเจน เพื่อสร้างโอกาสทำเงินบนเส้นทางนี้ ภายใต้การดำเนินการที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับกันต่อไป

สามารถติดตามสาระความรู้ดีๆ เรื่องราวอัปเดตที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติมได้จาก K WEALTH คลิก www.kasikornbank.com/kwealth

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะเบื้องหลังดีล Zipevent และ Link Station Group สู่การขยายธุรกิจอีเวนต์ในภูมิภาค SEA

การเข้าซื้อกิจการระหว่าง Zipevent แพลตฟอร์มจัดการอีเวนต์และจำหน่ายบัตรออนไลน์ในประเทศไทย กับ Link Station Group บริษัทญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำหน่ายบัตร (Ticketing System) ถือเ...

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...