พาธุรกิจฝ่าวิกฤต บริหารอย่างไรให้พนักงานได้ไปต่อ | Techsauce

พาธุรกิจฝ่าวิกฤต บริหารอย่างไรให้พนักงานได้ไปต่อ

ในวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ทุกธุรกิจต่างเผชิญกับสถานการณ์ลำบาก เริ่มตั้งแต่ธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร อีกหลาย ๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ ข่าวของการล้มละลาย ลดเงินเดือนหรือปลดพนักงาน เริ่มเห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดขึ้นทั้งโลก เมื่อรายได้ที่เข้ามาลดลง รายจ่ายเท่าเดิมบริษัทต่าง ๆ จะหาทางออกอย่างไร?

ปลดพนักงานคือทางออก จริงหรือ?

แน่นอนว่าเมื่อคำนวนรายจ่ายต่อเดือน cash flow และระยะเวลาที่บริษัทต่างๆจะอยู่รอดในธุรกิจได้ อันดับแรกที่บริษัทจะลดรายจ่าย และรายจ่ายส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือพนักงาน วิธีการแรกที่หลายบริษัททำ คือการลดสวัสดิการต่าง ๆ ลดเงินเดือน และเมื่อถึงวิกฤตที่สุด ก็จำเป็นจะต้องปลดพนักงานออก หรือปิดบริษัทลง; วิธีการเหล่านี้เกิดขี้นกับบริษัทจำนวนมากอย่างรวดเร็วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างที่เราได้เห็นในธุรกิจการบิน โรงแรม และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบก่อนธุรกิจอื่น

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนตกงานเป็นจำนวนมาก ไม่มีอาชีพรองรับ และยิ่งเป็นพนักงานรายได้น้อยที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท การไม่มีรายได้ ก็เหมือนกับการขาดออกซิเจนในการดำเนินชีวิต จนบางคนมีคำกล่าวว่า “กลัวตกงานมากกว่ากลัวติดโควิด”

เงินเดือนต่อชีวิตคนทำงาน คนทำงานต่อลมหายใจเถ้าแก่

ในเวลานี้ อาจเป็นวิกฤตที่เกิดโอกาสใหม่ที่บริษัทต่างๆจะหา Business Model อื่นๆในการดำเนินธุรกิจต่อ เพียงแต่ในการทำธุรกิจนั้นต้องมี ‘คน’ การปลดพนักงานเป็นมาตรการระยะสั้นที่หลายบริษัททำเพื่อต่อลมหายใจบริษัท แต่เมื่อไม่มีพนักงานทำงาน ก็ไม่มีรายได้ และหากพ้นวิกฤตแล้ว ก็จะไม่มีคนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อ นอกจากเถ้าแก่หรือเจ้าของบริษัทจะต้องอดทนเพื่อให้ทุกคนรอดไปด้วยกัน

และอย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ทุกฟันเฟืองเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ เมื่อคนล้ม ธุรกิจล้ม เศรษฐกิจและประเทศก็จะล้มตามไปด้วย ดังนั้น ต้องมีมือของผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้ทุกคนไปต่อด้วยกันได้หมด ซึ่งอีกหนึ่งฟากสำคัญของห่วงโซ่ธุรกิจนี้ก็คือเจ้าหนี้

คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิติคุณ (Chairman Emeritus) ธนาคารกสิกรไทย ได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวิฤกตนี้ และได้ยื่นมือเข้ามาช่วยในฐานะเจ้าหนี้

 โดยปกติธุรกิจขนาดกลางที่มีเจ้าหนี้เป็นธนาคารกสิกรไทย ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร ดังนั้นเพื่อช่วยธุรกิจต่างๆ คุณบัณฑูรจึงได้ตั้งโครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ เพื่อช่วยเหลือพนักงานโรงแรม ที่มีรายได้น้อย ให้มีงานทำ และลดภาระหนี้ ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในภาวะวิกฤต

คุณบันฑูรได้เผยว่า การระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างทันทีต่อธุรกิจหลาย ๆ ราย โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่ภาคท่องเที่ยวนั้นเป็นภาคที่สำคัญมาก ที่จะต้องหยุดการบริการทันที และเมื่อธุรกิจการท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินไปได้ ผู้ที่ถูกกระทบที่สุดก็คือผู้ที่อยู่ล่างสุดของระบบเศรษฐกิจหรือพนักงาน ซึ่งถ้าตามระบบเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจไม่สามารถที่จะดำเนินไปได้ เจ้าของธุรกิจก็จะต้องดำเนินมาตรการลดค่าใช้จ่ายและวิธีที่สะดวกที่สุดก็คือการลดพนักงาน เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ รายจึงตกอยู่ในภาวะลำบากเช่นนี้ โครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจจึงได้เกิดขึ้นมา

โครงการ ‘เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ’

โครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ จะช่วยเหลือพนักงานที่อยู่ในธุรกิจที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะช่วยเถ้าแก่หรือผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารด้วยการลดดอกเบี้ย เพื่อให้เถ้าแก่เอาเงินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยนี้ไปจ่ายเป็นเงินเดือนให้พนักงานครึ่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนที่เถ้าแก่ต้องจ่ายอยู่แล้วอีกครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้พนักงานได้เงินเดือนเท่าเดิม เพื่อให้การช่วยเหลือลงไปถึงมือพนักงานรายได้น้อยจริง ๆ ให้พวกเขาสามารถเลี้ยงปากท้องฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ โดยนำร่องโครงการไปแล้วกับ 2 เครือโรงแรมใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต และเตรียมขยับขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ตั้งงบประมาณทั้งโครงการราว 500 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะช่วยพนักงานได้ราว 15,000 คน 

คุณบัณฑูรก็ได้เน้นย้ำว่าวิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้จะผ่านไปได้ เราต้องช่วยกัน คนที่มีต้องให้คนที่ไม่มี เรามีบทเรียนจากวิกฤตครั้งก่อน ๆ แล้วว่าความช่วยเหลือหล่นหายระหว่างทางไม่ถึงมือคนที่เดือดร้อนจริงๆ ความช่วยเหลือที่ทำในครั้งนี้จึงพิสูจน์ได้ โปร่งใส และชัดเจน เพราะทำธุรกิจเราจะรอดคนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่เป็นฐานล้มคนข้างบนก็อยู่ไม่ได้

เราควรจะประคองคนที่อยู่ที่ระดับล่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะให้ทุกคนนั้นผ่านไปได้ และการให้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

บทความนี้เป็น Advertorial



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืนได้...

Responsive image

ซูชิสายพาน หนึ่งใน Game Changer ที่สำคัญของวงการอาหารญี่ปุ่น

บทความนี้ เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจต้นกำเนิดของซูชิสายพานที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิถีการกินซูชิของคนญี่ปุ่น แต่ยังกลายเป็นธุรกิจร้านอาหารที่ถูกใจคนไทยในยุคปัจจุบันอย่างมาก...

Responsive image

อัปเดตเทคโนโลยี Home Cinema 2024 รู้จัก LX700-4K RGB จาก ViewSonic

วันนี้ Techsauce จึงอยากพามารู้จักกับ LX700-4K RGB โปรเจคเตอร์ตัวล่าสุดจาก ViewSonic เหมือนยกจอ IMAX มาไว้ที่บ้าน...