A Year of i ของกสิกรไทย เตรียมดันไอที-Data-คน-พันธมิตร พร้อมโต 8 เท่าในตลาดต่างประเทศ

A Year of i ของกสิกรไทย เตรียมดันไอที-Data-คน-พันธมิตร พร้อมโต 8 เท่าในตลาดต่างประเทศ

  • กสิกรไทยเผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ A Year of i นำทีมโดย 5 ผู้บริหารระดับสูง
  • มุ่งผลักดันธุรกิจในตลาด CCLMVI คาดรายได้ธุรกิจในต่างประเทศโตกว่า 8 เท่า ใน 3 ปีข้างหน้า
  • 5i ประกอบด้วย iGNITE , iNCORPORATE , iNSIGHT , iNTEGRATE และ iNNOVATION

ในปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าธนาคารกสิกรไทยมีความเคลื่อนไหวที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการธนาคารและ FinTech ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก และในปีนี้กสิกรไทยได้นำทีมผู้บริหารระดับสูง 5 ท่าน ร่วมเผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ A Year of i  ที่จะเกิดขึ้น พร้อมประกาศพันธกิจสู่ธุรกิจแบงก์ยุคใหม่ที่ต้องแกร่งทั้งในประเทศ และขยายสู่ต่างประเทศ โดยมุ่งให้ รายได้ 50% เกิดจากการใช้งาน Data พร้อมผลักดันธุรกิจในตลาด CCLMVI คาดรายได้ธุรกิจในต่างประเทศโตกว่า 8 เท่า ใน 3 ปีข้างหน้า

กลยุทธ์ A Year of i ขับเคลื่อนด้วยทีมผู้บริหารระดับสูง 5 ท่านแห่งกสิกรไทย  ซึ่งประกอบไปด้วย iGNITE , iNCORPORATE , iNSIGHT , iNTEGRATE , iNNOVATION

iGNITE นำทีมโดย พิพิธ เอนกนิธิ

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เผยถึงอุปสรรคทางการค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องของภาษา แต่คือหงส์ดำหรือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นมาในโลกธุรกิจ ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง หรือเหตุการณ์ 911 และปัจจุบันคือสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศอีกต่อไป แต่มุ่งตั้งเป้ารายได้ธุรกิจในต่างประเทศ

“ปัจจุบันเราได้มองข้าม ความเป็นธนาคารไปแล้ว และมองไปมากกว่าตลาดเมืองไทย ซึ่งเรายังสามารถสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นกับตลาดต่างประเทศได้ด้วย”

คุณพิพิธอธิบายว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เรียกว่า “เศรษฐกิจผสานมิติ (Augmented Economy)”  คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีมีการเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างผสมผสานกลมกลืน การอยู่รอดของทุกธุรกิจจะต้องอาศัยทักษะและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยมีแนวคิด 3 ด้าน

แนวคิด 3 B ในการผลักดันสู่ตลาดต่างประเทศ

  • Beyond Frontier โดยธนาคารกสิกรไทย ได้ผลักดันธุรกิจไปสู่ต่างประเทศเชื่อมโยงการค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภครายย่อย  โดยมุ่งในกลุ่มของ CCLMVI (จีน กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง คาดว่าภายในปี 2573 ใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทยถึง 41 เท่า
  • Beyond Banking มองโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นและวางเป้าหมายที่จะอยู่ในทุก ๆ ช่องทางที่ลูกค้าใช้ชีวิต
  • Beyond Competition คือ มองหาโอกาสร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งฟินเทค Startup  ข้ามประเทศ ข้ามอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการให้บริการของธนาคารและเสริมศักยภาพให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าสู่ตลาด CCLMVI ได้

KVision สะพานเชื่อม Tech Partner

KVision คือ บริษัทที่กสิกรไทยจัดตั้งขึ้นมาใหม่เงินลงทุนกว่า 8 พันล้านบาท เพื่อแสวงหาเทคโนโลยีและลงทุนใน FinTech หรือ Startup มีจุดประสงค์ในการเป็นสะพานเชื่อมกับบริษัทเทคโนโลยีในต่างประเทศ โดยปัจจุบัน KVision ได้จัดตั้ง Innovation Lab ขึ้น ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อิสราเอล จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อเฟ้นหา Innovation, Tech Partner, และ Tech Talent ใหม่ ๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการพัฒนาบริการของธนาคารใน CCLMVI ควบคู่กับแสวงหาเทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ

3 กลยุทธ์สำคัญ ในการเชื่อมโยงลูกค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคใน CCLMVI

  1. Local Insight & Partnership

ให้คำแนะนำและเชื่อมโยงพันธมิตรในท้องถิ่น ให้กับลูกค้าจากช่องทางและพันธมิตรที่มีอยู่ครบทุกประเทศ ทำให้เข้าใจบริบทของการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ

  1. Cross-Border Value Chain Solution

ให้บริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างลูกค้ากับคู่ค้า ในต้นปีนี้ธนาคารจะเริ่มให้บริการ Solution ดังกล่าวในลาวและกัมพูชาก่อน โดยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การชำระค่าสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. Single Regional Payment Platform

สร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค เพื่อสร้างความสะดวกสบายและเข้าถึงผู้บริโภครายย่อยในภูมิภาคผ่านแพลตฟอร์มของธนาคาร โดยปัจจุบันธนาคารได้เริ่มแผนการดังกล่าวจากโครงการ “QR KBank” แอปฯ กระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับชาวเวียงจันทน์ใน สปป.ลาว ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ใช้เงินสด สนองนโยบายรัฐบาล สปป.ลาว นำร่องให้บริการที่ตลาดหนองจัน หรือ “ตลาดขัวดิน” เป็นพื้นที่แรก ตั้งเป้าปี 2562 นี้ จะมีธุรกรรมผ่าน “QR KBank” ประมาณ 2 ล้านรายการ มูลค่ากว่า 36,000 ล้านกีบหรือประมาณ 115 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค ช่วยให้ธนาคารเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Spender) ในลาวอีกด้วย พร้อมตั้งเป้าหมายขยายการให้บริการและเชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้าด้วยกันทั่ว CCLMVI ในอนาคต

คุณพิพิธเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตอนนี้เราสนใจในลูกค้าจีน  มีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าจีน และจะมุ่งขยาย Digital Banking ในประเทศจีน เช่นการทำ Digital Lending จีนกับกลุ่มคนชั้นกลางในประเทศจีน โดยที่ไม่ต้องมีสาขา เพราะตลาดพร้อมอยู่แล้ว  ทั้งนี้ยังมีเป้าหมายมุ่งเติบโต 8 เท่าใน 3 ปี ในตลาดต่างประเทศ

iNCORPORATE นำทีมโดย คุณปรีดี ดาวฉาย

คุณปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 82% ทำธุรกรรมบน Mobile Banking 74% และซื้อสินค้าออนไลน์  48.5% ของประชากรไทยทั้งหมด ดังนั้นภาคธนาคารต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วได้แก่ โครงการพร้อมเพย์ , การชำระเงินด้วย QR Code โดยภายในปี 2020 จะเริ่มมีการพัฒนาการทำงานไปสู่ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ QR Code ชำระค่าบริการในต่างประเทศ และพัฒนา Blockchain

เตรียมนำ Blockchain ขับเคลื่อนต่อ

โดยกสิกรไทย มีการวางแผนจะนำเทคโนโลยี Blockchain ต่อยอดสู่บริการรับรองเอกสารทางการศึกษา (E-Transcript) ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มความสะดวก ให้แก่นิสิต นักศึกษาที่จบใหม่ รวมทั้งบุคคลที่ต้องการหาตำแหน่งงานและองค์กรที่กำลังเปิดรับบุคลากร

ลูกค้าไม่ต้องมาธนาคาร และไม่มีค่าธรรมเนียมการกดเงิน

จะมีการดำเนินโครงการ National Digital ID (NDID) มาใช้เพื่อให้ลูกค้ามีความสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องมาถึงธนาคาร ทั้งสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์  ช่วยให้เปิดบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา การขอสินเชื่อและการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทางออนไลน์ รวมทั้งโครงการเอทีเอ็มสีขาว (White-Label ATMs) ที่จะช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น  รวมทั้ง NO FEE ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากการกดเงิน

iNSIGHT นำทีมโดย ขัตติยา อินทรวิชัย

คุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า Data คือ ทรัพย์สินที่มีค่าของธนาคาร และ Data เกิดขึ้นในทุก ๆ ที่และทุก ๆ เวลา จึงเป็นโจทย์ของกสิกรไทยที่จะนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยธนาคารเริ่มเดินหน้า Analytics ในการแปลงข้อมูลมาเป็น insight เพื่อให้เข้าใจ รู้ใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น และเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล (Segment of one - insight) อีกทั้งยังมีการตั้ง Data Analytic Office (DAO) มาขับเคลื่อนข้อมูลโดยเฉพาะ

“เราทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ทำเรื่องยากให้ง่ายด้วยพลังของข้อมูล”

สร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมด้วยพลังของ Data

  • Frictionless, Anywhere, Anytime สร้างประสบการณ์ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการนำเทคโนโลยีผสานกับศักยภาพด้าน Data Analytics ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการให้ชีวิตลูกค้าง่ายกว่าเดิม เช่น การใช้ใบหน้าเปิดบัญชี หรือใช้เสียงจ่ายเงิน  หรือการถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรหรือโทรศัพท์มือถือ
  • Behavioral - Based Lending การปล่อยสินเชื่อโดยดูพฤติกรรม สร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่ม Unbanked และ Underbanked ที่มีการเดินบัญชีผ่านธนาคารน้อย หรือไม่มีหลักฐานแสดงรายได้ที่สม่ำเสมอ
  • บริการอัตโนมัติ และใช้เอกสารน้อย  การก้าวเข้าสู่การเป็น Data-Driven Bank อย่างเต็มตัว  ช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าในการยื่นเอกสาร

ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญสูงสุดต่อการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์จะไม่สามารถระบุตัวตนของลูกค้าได้ และธนาคารจะไม่มีการแชร์ข้อมูลลูกค้าโดยเด็ดขาด หากปราศจากการให้ความยินยอมของลูกค้า

โดยธนาคารมีความพร้อมทั้ง 4 ด้านในการผลักดันการใช้ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล เทคโนโลยี บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กรแห่งการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

และในด้านกระบวนการทำงาน ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและบริการลูกค้าให้ดียิ่งกว่าเดิม

iNTEGRATE นำทีมโดย พัชร สมะลาภา

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของ Integrate คือการ Integrate บริการออนไลน์และออฟไลน์ และ Partner เข้าด้วยกัน แต่ในปีที่ผ่านมายอมรับว่ายังทำได้ไม่เต็มที่ ปีนี้จึงเตรียมเดินหน้า ทั้งภารกิจในการเดินหน้าหาลูกค้าใหม่ และมุ่งเป้าสินเชื่อรายย่อยให้เติบโต 9-12% โดยมี 3 ส่วนคือ

  • ผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มขยายฐานลูกค้า
  • เดินหน้าธุรกิจเพื่อหารายได้ใหม่ โดยจะเดินหน้าแผนธุรกิจในการสร้างรายได้จากการให้สินเชื่อลูกค้าบุคคลที่มีจำนวนผู้กู้ยืมในตลาดนี้ประมาณ 31.3 ล้านราย ซึ่งปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 7% และตั้งเป้าหมายจะดันส่วนแบ่งตลาดเป็น 16% โดยการผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มชั้นนำเพื่อไปอยู่ในที่ที่ลูกค้าอยู่
  • บริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำสินทรัพย์ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการปรับพอร์ตเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น การปรับปรุงกระบวนการติดตามหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเหมาะสมต่ออัตราการฟื้นตัวของสินเชื่อ

iNNOVATE นำทีมโดย เรืองโรจน์ พูนผล

คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส – เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) นำเสนอแนวคิดแห่งนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า ด้านนวัตกรรมทางการเงินใหม่ที่เรียกว่า Cognitive Banking ที่ส่งมอบคุณค่า 3 ด้านให้แก่ลูกค้า ประกอบด้วย

  • บริการที่ฉลาด รู้ใจ (Highly Intelligence)
  • บริการที่ปรับรูปแบบตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า (Highly Adaptive)
  • เข้าใจ รู้ใจ ลูกค้าแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง (Highly Personalized) โดยการเป็น Cognitive Banking จะทำให้บริการดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปไกลกว่าการเป็นเพียงธนาคารหรือแพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือ

“เราพยายามที่จะสร้าง cognitive banking เปรียบเสมือนเรามอบพนักงาน 20,000 คนในการดูแลลูกค้า 1 คน  เราพยายามเป็น super app หา partner เพื่อเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าให้มากขึ้น อีกทั้งเราพยายามจะสร้าง Super employee”

นอกจากนี้คุณเรืองโรจน์ยังนำเสนอ Augmented Intelligence (AI) มาใช้ขับเคลื่อนองค์กร ที่ไม่ได้มาจากปัญญาประดิษฐ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากบุคลากรอีกด้วย

“โลกของเรากำลังจะก้าวข้าม AI ไปสู่การทำงานของ คน + เครื่องจักร”

สร้างพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม

โดย KBTG จะเป็นพันธมิตรกับทั้ง Startup องค์กรชั้นนำ ผ่านนวัตกรรมแห่งความร่วมมือ 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Open Banking API ความสามารถในการต่อเชื่อมบริการของธนาคารให้แก่พันธมิตรโดยสะดวกและปลอดภัย
  2. K PLUS Business Platform การสร้างความหมายใหม่ของ K PLUS จากการเป็นธนาคารบนโทรศัพท์มือถือไปสู่การเป็นแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจที่พันธมิตรสามารถนำไปต่อยอดสร้างบริการแบบดิจิทัล โดยการประยุกต์ใช้คุณสมบัติที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มศักยภาพ
  3. Innovation Sandbox คือ สนามทดลองเพื่อรองรับการทดสอบไอเดียทางนวัตกรรมใหม่ ๆ ของพันธมิตรโดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพ ได้อย่างประหยัดและรวดเร็ว

“เป้าหมายการพัฒนา KBTG ไปสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนแกนเทคโนโลยีของโลกมาสู่ประเทศไทย ภายในปี 2565”

สำหรับในปีนี้ KBTG ได้งบลงทุนด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และบุคลากร กว่า 5,000 ล้านบาท

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...