KBank จับมือ บุญเติม ต่อยอดเทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วย Facial Recognition ผ่านตู้เติมเงิน มุ่งเน้น Digital Onboarding Experience | Techsauce

KBank จับมือ บุญเติม ต่อยอดเทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วย Facial Recognition ผ่านตู้เติมเงิน มุ่งเน้น Digital Onboarding Experience

หลายปีที่ผ่านมาเราเห็นการเข้ามาของ Digital Disruption ที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายวงการธุรกิจโดยเฉพาะ ในแวดวงของอุตสาหกรรมการเงินอย่าง ‘ธนาคาร’ ที่ถือเป็นธุรกิจที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด ที่เราเห็นการปรับตัว ไปสู่ดิจิทัลค่อนข้างมาก เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ลูกค้าในการใช้บริการได้ตลอดเวลา แต่แล้วเมื่อมีการเข้ามาของ COVID-19 จากสิ่งที่ทยอยเปลี่ยนผ่านไปตามลำดับ กลับเหมือนถูกคลื่นซัดให้ทุกคนเข้าไปใกล้ชิดกับการใช้เทคโนโลยี ในชีวิตประจำวันกันรวดเร็วกว่าเดิม 

โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในช่วงที่มีโรคระบาด ที่หลายธุรกิจได้นำไปใช้ต่อยอดอย่างเห็นได้ชัด คือContactless Technology ซึ่งจะเข้ามามีส่วนช่วยในลดการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ COVID-19 ที่เกิดจากการสัมผัส ซึ่งจากวิสัยทัศน์ของ ธนาคารกสิกรไทยในการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งอนาคต ได้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมกับการร่วมมือ กับพันธมิตรเพื่อสร้างประสบการณ์ในการให้บริการนั้นสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และง่ายขึ้น (Digital Onboarding Experience)

KBTG จับมือ บุญเติม ต่อยอด e-KYC ด้วย Facial Recognition

KASIKORN Business - Technology Group หรือ KBTG หน่วยงานผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินภายใต้ ธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือกับบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในนามของผู้พัฒนา‘ตู้บุญเติม’  ต่อยอดเทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า (Facial Recognition) ผ่านการให้บริการธุรกิจยืนยันตัวตน (e-KYC Business) โดยตู้บุญเติมเป็นเหมือนกับตัวกลางในการรับชำระเงินให้กับบริการต่าง ๆ ปัจจุบันติดตั้งอยู่ทั่วประเทศจำนวน 130,000 จุด ตามชุมชนต่าง ๆ ผ่านตัวแทนบริการ (Agent) ในระบบแฟรนไชส์และผ่านพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partners)  เช่น ร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมัน สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยองค์กรที่ธุรกิจนั้นจำเป็นที่จะต้องยืนยันตัวตนลูกค้าก่อน สมัครใช้บริการ เช่น กลุ่ม E-Wallet Providers, Insurance เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา ทั้งยังลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย

สำหรับขั้นตอนการใช้งานบริการ e-KYC ผ่านตู้บุญเติมนั้น ลูกค้าสามารถกรอกข้อมูลเบื้องต้นจาก Digital Channels ของ Business Partners เเล้วหลังจากนั้นลูกค้า สามารถไปที่ตู้บุญเติมใกล้บ้านเพื่อทำการ Dip-Chip ด้วยบัตรประชาชนเเละถ่ายภาพ ที่หน้าตู้ ระบบ Facial Recognition จะทำการเปรียบเทียบใบหน้าจากบัตรประชาชนกับภาพที่ถ่ายเพื่อตรวจสอบเเละยืนยัน ตัวตนการสมัครบริการ จากนั้นจะส่งผลตอบกลับยังลูกค้า โดยที่ช่วยประหยัดเวลาไม่ต้องมีการเซ็นเอกสารหรือถ่ายสำเนาบัตรประชาชน 

ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีจดจำใบหน้าของ KBTG  ซึ่งเป็นผู้ให้บริการกับตู้บุญเติมนั้นมีความแม่นยำสูง โดยได้พัฒนาจากการ ทดสอบใบหน้าคนไทยโดยเฉพาะ ดังนั้นในเรื่อง Localization จึงทำให้มีการทดสอบใบหน้าค่อนข้างดี รวมถึงก่อนหน้านี้ได้มีการทดสอบจากการเปิดบริการที่สาขาของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจึงสามารถมั่นใจได้ในมาตรฐานความปลอดภัยและความแม่นยำในการพิสูจน์ตัวตนลูกค้าได้

สร้าง Ecosystem ให้สมบูรณ์ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ 

คุณณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีความพร้อมหมดแล้ว การที่ลูกค้าของธนาคาร ค่ายมือถือ บริษัทประกัน หรือใครก็ตามที่ต้องการจะลดขั้นตอนของการทำ ธุรกรรมที่จะต้องไปที่สาขานั้น สามารถที่จะดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านั้นผ่านตู้บุญเติมได้ เพราะเรามีความพร้อมทั้งใน ด้านเทคโนโลยีของเราเอง ประกอบกับทาง KBTG ได้เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดด้วยจึงทำให้สามารถให้บริการและอำนวย ความสะดวกให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยคาดว่าบริการ e-kyc จะพร้อมให้บริการได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้”

ด้านคุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG กล่าวว่า “การร่วมมือกับบุญเติมในครั้งนี้ถือเป็นการช่วยให้ทาง KBTG สามารถ กระจายจุดในการทำ e-kyc ให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งระบบ Facial Recognition จะเข้าไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ทางธุรกิจของทางบริษัท บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รวมทั้งสามารถขยายธุรกิจไปได้หลายอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆได้เช่นกัน โดยอย่างที่เคยบอกเสมอว่าธุรกิจธนาคารไม่สามารถที่จะไป คนเดียวได้ เราต้องมีการจับมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ (synergy) ซึ่งกันและกันได้”

ในโลกหลังจากนี้ธนาคารจะต้องเข้าไปอยู่กับผู้บริโภคทุกที่ทุกเวลา โดยบริการ Contactless Technology ถือเป็นประตูด่านแรก ของการก้าวไปสู่ Ambient Intelligence เพราะโลกแห่งอนาคต ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร หรือเวลาใดเมื่อเขาต้องการ ใช้บริการ ธนาคารจะต้องไปอยู่ตรงนั้นด้วย ซึ่งการร่วมมือกับบุญเติม ครั้งนี้ก็เป็นเหมือนการเพิ่มจุดTouch Point ที่ธนาคาร จะต้องเข้าไปอยู่ในทุกสภาพแวดล้อมของลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ของการเป็นธนาคารแห่งอนาคต เนื่องด้วย ธนาคารกสิกรไทยต้องการที่จะอยู่เบื้องหลังและมอบอำนาจทางการเงินให้กับลูกค้านับเป็นการสร้าง Ecosystem ทางด้าน เทคโนโลยีการเงินให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...