บทบาทของ KBTG กับการปลุกปั้นบุคลากรไอที สู่ระดับโลกกับ Tech Kampus | Techsauce

บทบาทของ KBTG กับการปลุกปั้นบุคลากรไอที สู่ระดับโลกกับ Tech Kampus

เมื่อทุกวันนี้เทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงแค่ 'แขน' กับ 'ขา' ให้แก่มนุษย์เท่านั้น แต่ต้องเป็นสมองได้ด้วย ซึ่งในยุค 4.0 เทคโนโลยีถูกนำมาต่อยอดเพื่อลดบทบาทของมนุษย์มากขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีเคลื่อนที่ไม่มีวันหยุด หลายองค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทัน พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจบนการแข่งขันที่รวดเร็วและรอบด้าน ซึ่ง กสิกร บิซิเนส–เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG  ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดโครงการ Tech Kampus เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทางด้านไอที ในการเรียนรู้ และส่งเสริมงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการธุรกิจไทย และสร้างบุคคลากรด้านไอทีสู่วงการไอทีไทยในระดับโลก

KBTG

คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส–เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)  เปิดเผยว่า KBTG ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้จัดโครงการ KBTG Tech Kampus โดยร่วมมือกับ 2 องค์การภาครัฐ ประกอบด้วย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ 7 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของ KBTG ไปถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ร่วมมือพัฒนาหลักสูตรและยกระดับคุณภาพการศึกษาในสาขา Data Science และ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งต่อยอดและผลิตงานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านเทคโนโลยี 

ที่ผ่านมา KBTG ได้เข้าไปร่วมคิดค้นรวมถึงช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้กับองค์กรภาครัฐ เช่น โครงการ Thai NLP (Thai Natural Language Processing) การประมวลผลทางภาษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดช่องว่างในการสื่อสารภาษาธรรมชาติระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ที่เริ่มพัฒนาร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งปัจจุบันได้มีการต่อยอดเป็นสมองกลปัญญาประดิษฐ์ Chatbot ของเพจ KBank Live และใน LINE BK 

 NLP เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการ  ทำงานของหลายองค์กร

ด้านดร.ทัดพงษ์ พงศ์ถาวรกมล Senior Principal Visionary Architect , KBTG กล่าวว่า สำหรับเทคโนโลยี Natural Language Processing (NLP)  นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ต้องการให้เทคโนโลยีเข้าใจภาษามนุษย์มากขึ้น โดยปัจจุบัน NLP ได้เข้ามามีส่วนกับนวัตกรรมต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยนวัตกรรมที่พบเห็นได้บ่อยก็คือ ChatBot ที่สามารถพิมพ์ตอบโต้กับมนุษย์เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนคุยตอบโต้กับมนุษย์ด้วยกันเอง 

"สำหรับ NLP ภาพที่ผมมองก็คือตรงไหนที่มีการสื่อสาร ที่นั้นจะต้องมี NLP ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ Text หรือเสียงคำพูดภาษาไทยที่อยู่ในระบบ Service ยกตัวอย่างเช่นปีที่ผ่านมาหลังจากเกิดการระบาดของ COVID-19 ลูกค้าของธนาคารกสิกร เดินทางมาใช้บริการที่สาขาน้อยมาก แต่กลายเป็นว่า Traffic ในระบบ ChatBot ของเราพุ่งสูง ซึ่งตอนนั้นประจวบเหมาะกับที่ NLP เข้ามาพอดีจึงทำให้เรามีความสามารถในการให้บริการลูกค้า(Customer Service) ได้อยู่  และในอนาคตเราอาจเห็นการทำศูนย์บริการเสมือนจริง (virtual call center ) การทำแชทอัตโนมัติ (automated chat agen) เชื่อว่าตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ประมาณ 90% และอีก 10% ที่มีเนื้อหาและความซับซ้อนในการให้บริการอาจจะต้องใช้มนุษย์แทน ซึ่งตรงนี้มันจะสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานของคนในองค์กรได้หลายแห่งเลยทีเดียว " ดร.ทัดพงษ์ กล่าว 

ดร.ทัดพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามโครงสร้างภาษาไทยค่อนข้างซับซ้อนเมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการพัฒนา NLP แต่เราอาจจะมีเครื่องมือและ Key processing บางอย่างที่จะทำให้ภาษาไทยซับซ้อนน้อยลง และที่สำคัญเราต้องมี Feedback จากผู้บริโภค (Cosumer) ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจสอบว่าคำนี้สามารถใช้สนทนากับลูกค้าได้หรือไม่ 

ถึงแม้ปัจจุบันมนุษย์ยังจำเป็นต้องคอยป้อนข้อมูลให้แก่ AI แต่ทาง KBTG ก็พยายามลดอุปสรรคตรงนี้อยู่ เนื่องจากมีการลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นบริษัทฯจึงคิดว่าทำอย่างไรให้สามารถนำ AI ที่คอยสอน ไปผสมผสานกับการ Service จริงได้ และทำอย่างไรให้ลูกค้ากลายเป็นผู้ที่สอน AI โดยที่ไม่รู้ตัว ตรงนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนจ้างคนมาสอนเพิ่ม แต่ให้สิ่งที่ลูกค้าปฏิบัติกับทางเราเป็นผู้ที่สอน AI แทน 

 สำหรับเทคโนโลยี NLP ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ เพราะ AI ที่เก่งจะต้องมีการอัพเดตตัวเองตลอดเวลา

ด้าน ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กล่าวว่า สำหรับเทคโนโลยี NLP ไม่มีคำว่าสมบูรณ์ เนื่องจากภาษามนุษย์มีความสละสลวย จึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และถึงแม้ว่าปัจจุบัน NLP จะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็เข้ามาช่วยลดภาระงานของมนุษย์ได้ค่อนข้างเยอะ ดังนั้น Machine Learning หรือ NLP ที่เก่งจะต้องไล่ตามให้ทัน แต่ไม่จำเป็นต้องแม่นยำถึง 100% เพราะฉะนั้น AI ที่เข้าใจผู้บริโภค (Cosumer) และสามารถพูดกับผู้บริโภค (Cosumer)ได้ จะต้องเรียนรู้ในเทคนิคนั้นๆ แต่เมื่อไหร่ที่ถึงขีดจำกัดของระบบและไม่สามารถประมวลผลได้ถึงค่อยส่งต่อให้ Operator ที่เป็นมนุษย์แทน 

AI ที่เก่งจะต้องมีการอัพเดตตัวเองตลอดเวลา ไม่ถึงกับต้องอัพเดตด้วยตัวเองก็ได้ แต่จะต้องมีคนเข้าไปช่วยเหมือนกับเราสอนเด็ก ให้เรียนรู้คำศัพย์ใหม่ๆ  ดร.ชัย กล่าว 


ก็เชื่อว่าโครงการ KBTG Tech Kampus จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยบ่มเพาะผู้ที่มีความสนใจอยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองในเรื่องของเทคโนโลยี เพื่อนำความรู้และทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านไอทีมาใช้งานจริงและสามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศและองค์กรไทย ให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ 


สำหรับสภานบันการศึกษาที่สนใจโครงการ KBTG Tech Kampus นี้ติดต่อได้ที่: [email protected]




บทความนี้เป็น Advertorial



    



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' ชวนท่องโลกเทคโนโลยีสุดล้ำ ไปกับรถไฟสายพิเศษ

เผยความพิเศษของ 'KBTG Techtopia: A BLAST FROM THE FUTURE' 1 Day Event แห่งปี 2024 กับการโชว์เทคสุดล้ำ, Speakers มากกว่า 50 คน มาแชร์ความรู้และเทรนด์ใหม่ๆ ผ่าน 3 เวทีใหญ่ และเวิร์กช...

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...