KBTG Fellowship ลมใต้ปีกโลกการศึกษา เพราะแค่เทคโนโลยีไม่เพียงพอ | Techsauce

KBTG Fellowship ลมใต้ปีกโลกการศึกษา เพราะแค่เทคโนโลยีไม่เพียงพอ

เดือนมีนาคมที่ผ่านมา KBTG ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก MIT Media Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงินแห่งอนาคต (Next Generation Financial Services) เป็นบริษัทแรกของไทยที่ได้เป็น Research Partner ร่วมกับสถาบันชั้นนำของโลก พร้อมประกาศให้ทุนการศึกษา KBTG Fellowship ครั้งแรก นับเป็น ‘Milestone สำคัญของ KBTG’

ความร่วมมือถือกำเนิดขึ้นจากบทสนทนาระหว่าง คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ระธานกลุ่ม KBTG และคุณพัทน์ ภัทรนุตพร นักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนแรกในสาขา Fluid Interfaces ที่ MIT Media Lab เจ้าของงานวิจัยเกี่ยวกับด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI (Human-AI Interaction) และการศึกษาเฉพาะบุคคล (Personalized Education) 

เพื่อลงลึกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยร่วมกันกับ MIT Media Lab ทาง KBTG ได้ประกาศสนับสนุนทุนวิจัยแบบ Fellowship แก่นักศึกษาวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Research Student) ของ MIT Media Lab ซึ่งจะถูกเรียกว่า "KBTG Fellow" ทำหน้าที่ผลิตผลงานวิจัย โดยผลงานวิจัยและการนำเสนอของ KBTG Fellow จะเป็นตัวแทนที่สะท้อนความมุ่งมั่นของ KBTG ในการสนับสนุนการวิจัยระดับโลกเพื่อสังคมมนุษย์ที่ดีขึ้น โดย KBTG Fellowship นี้นับทุนวิจัยแรกของ MIT Media Lab ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งได้มอบให้กับ คุณพัทน์ ภัทรนุธาพร ผู้ริเริ่มความมือระหว่าง KBTG และ MIT Media Lab 

เปลี่ยนโอกาสด้วยการศึกษา

คุณกระทิงได้เล่าให้ฟังถึงก้าวที่เปลี่ยนแปลงจากการได้รับโอกาสทางการศึกษา จากครูประถมสองท่าน คนแรกที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้เรา ทำให้เห็นข้อดีในตัวเอง จุดประกายให้เห็นว่าเราสามารถทำอะไรก็ได้ถ้าเราตั้งใจ ฝันให้ใหญ่ กับครูคนที่สองที่สอนให้รักวิทยาศาสตร์ ผลักดันให้ได้เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก ทำให้รู้ว่า การศึกษา ครูที่ดี และสำคัญที่สุดคือ โอกาส ที่ทำให้เรามาได้ไกล แรงบันดาลใจบวกการศึกษาบวกโอกาส เป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิต จึงเชื่อว่าการศึกษาจะเปลี่ยนชีวิตคนได้อีกเยอะมาก

เราอยากให้โอกาสคนไทย เปลี่ยนคนไทยด้วยการใช้การศึกษา นอกจากการสร้างเทคโนโลยี

ที่ผ่านมา KBTG ได้สนับสนุนและทำโปรเจคเกี่ยวกับการศึกษามาสม่ำเสมอ ในช่วงโควิดมีการเปิด Bootcamp เรียนฟรี เปิด Course, KBTG Inspire จัด Mini Bootcamp สอนผู้เข้าร่วมในวิชาต่าง ๆ การทำ Project Management, Data Science, Agile และล่าสุดที่ได้เปิด Java Software Engineering Bootcamp 

รู้จัก KBTG Fellowship 

การให้ทุนประเภท Fellowship ถือเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยที่มีเกียรติ โดยบริษัทจะทำการเลือกหน่วยวิจัย เลือกนักศึกษาในฐานะผู้วิจัยที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถสูง เป็นผู้ที่ถือว่าเป็น Top Tier ของหน่วยการศึกษานั้น ซึ่งผู้ที่ได้รับจะได้รับอิสระในการทำงานวิจัย สามารถกำหนดขอบเขตในการวิจัย เส้นทาง กระบวนการในการวิจัยได้ด้วยตนเอง โดย KBTG ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีไทยบริษัทแรกที่ใช้แนวทางการให้ทุนกับหน่วยวิจัยระดับโลกเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ริเริ่มการสนับสนุน MIT Media Lab Fellowship สร้างกรอบแนวทางระดับโลกที่ผลักดันโดยบริษัทคนไทย

พัทน์ ภัทรนุตพร KBTG Fellow คนแรกในประวัติศาสตร์ของ KBTGKBTG Fellowship ลมใต้ปีกโลกการศึกษา เพราะแค่เทคโนโลยีไม่เพียงพอ

สำหรับโครงการนี้ ผู้ที่ได้รับทุน KBTG Fellowship คนแรก คือ คุณพัทน์ ภัทรนุตพร เป็นเยาวชนไทยที่มีผลงานการวิจัยโดดเด่นมากมาย มีจรรยาบรรณในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่าง และมีความหลงใหลในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชีวิตมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับพันธกิจของ KBTG สู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำในภูมิภาค KBTG รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนคนไทยที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีได้เติบโตในเวทีโลก 

โดยคุณกระทิง เปิดเผยว่า “ในวัยเด็กตนต้องผ่านการสอบชิงหาค่าเล่าเรียนเป็นประจำทุกปีตั้งจนกระทั่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ไทยและต่างประเทศ MBA Stanford University ทำให้รู้สึกว่าการได้รับทุนการศึกษาทำให้เราให้ความสำคัญกับการเรียนได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเทอม” 

“คุณพัทน์ ภัทรนุตพร เป็นคนไทยคนแรกในรอบยี่สิบปีที่มีผลงานวิจัยโดดเด่นระดับโลก เป็นคนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุน เป็นความภูมิใจของคนไทย เป็นตัวแทนแรงบันดาลใจให้คนไทย คนรุ่นใหม่ เป็นทั้งความฝันของทั้ง KBANK, KBTG และความฝันของคุณกระทิงเองที่อยากสนับสนุนคนไทย อยากสนับสนุนน้องให้ไปไกลที่สุดโดยมี KBTG เป็นลมใต้ปีกเพื่อสนับสนุนเต็มที่เพื่อร่วมกัน Push the Frontier of Technology

KBTG Fellowship ลมใต้ปีกโลกการศึกษา เพราะแค่เทคโนโลยีไม่เพียงพอดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KBTG กล่าวเพิ่มเติมว่า “คุณพัทน์เป็นคนไทยที่มีความสามารถในเรื่องการวิจัยและเทคโนโลยี มีผลงานวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้ว (Proven Record) เผยแพร่สู่สาธารณะทั้งในนามของ MIT Media Lab และองค์กรอื่น ๆ ที่สำคัญคือมี Passion มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าในการลองทำอะไรใหม่ ๆ ถือเป็นคนที่มีความพร้อมและต้องการการสนับสนุนในระดับเวทีโลก” 

  • MIT Media Lab เป็นหน่วยวิจัยชั้นนำของในโลก เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงและถือเป็น Top Rank ในด้านการทำงานวิจัยแบบ Multi-Disciplinary Research หรือการนำหลายศาสตร์มาศึกษาผสมผสานกัน เช่น Art ,Science, Design, Engineering เพื่อสร้างสิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตผู้คนได้ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของ KBTG ที่ต้องการเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่นำนวัตกรรมและงานวิจัยมาสร้างเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มความเป็นอยู่ของคนให้ดีมากขึ้น 
  • Research Lab Consortium คือ ความร่วมมือที่เปิดให้หลายบริษัทชั้นนำของโลกร่วมเป็นสมาชิก เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม งานวิจัยระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์ในวงกว้างขึ้นทั้งการวิจัยและการนำไปใช้ในชีวิตจริง KBTG ในฐานะสมาชิกของ Research Lab Consortium ในระดับ Research Lab Member นอกเหนือจากแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ จะทำการส่งนักวิจัยจาก KBTG ไปทำงานร่วมกับนักวิจัยของ MIT Media Lab ซึ่งได้เลือกหน่วยวิจัยหรือเนื้อหาในการวิจัยและกระบวนการวิจัยใน Area ที่ต้องสอดคล้องกับพันธกิจและจุดมุ่งหมายของ KBTG โดยต้องเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานและต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย โดย Area ที่ต้องการโฟกัสในช่วงแรก คือ AI กับการเข้ามาช่วยเพิ่มประสบการณ์ของมนุษย์ โดยผลงานวิชาการจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ผลิตออกมาเป็น Product Service ของทาง KBTG และ KBANK เพื่อให้เกิดการขยายผลกับคนไทยต่อไป 

ทั้งนี้คุณพัทน์ได้เปิดเผยว่า “รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจมากที่ได้รับทุนจากบริษัทไทยบริษัทแรกที่มาเป็นสมาชิกกับ MIT Media Lab และยังตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาร่วมกับ MIT Media Lab และ KBTG”

ปัจจุบันหัวข้อที่ทำอยู่ คือ เรื่อง Human AI Interaction หรือ การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ศึกษาว่าทำอย่างไรให้เทคโนโลยีกลับมาสร้างศักยภาพให้กับมนุษย์ โดยการศึกษาจะโฟกัสไปที่การผสมผสานระหว่าง Bio ยีน (Genes), การเติบโต (Growth), ระบบอวัยวะ (Organism) หรือที่หมายถึงร่างกายมนุษย์ ผนวกกับ Digital System ที่หมายถึงบิต (Bit), โค้ด (Code), คอมพิวเตอร์ (Computer) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำโปรเจกต์ร่วมกับ NASA Bio+Digital Interfaces for Space Exploration เพื่อสร้างชุดนักบินอวกาศในอนาคตที่เสริมสร้างสมรรถภาพนักบินอวกาศ เช่น สามารถผลิตยาได้ด้วยชุดเซนเซอร์อ่านข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 

นอกจากนี้ ยังศึกษาเกี่ยวกับการอัปโหลดร่างกายมนุษย์เข้าไปอยู่โลกเสมือน Virtual Human & AI Generated Characters ซึ่ง AI Generated Characters เป็นหัวข้อวิจัยที่คุณแพทกำลังทำร่วมกับ KBTG เพื่อศึกษาว่าจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับสังคมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำด้าน AI  Nature Machine Intelligence Journal ในหัวข้อ AI-Generated Characters for supporting personalized learning and well-being อีกด้วย 

โดยในหัวข้อประโยชน์ด้านการศึกษา Education เป็นอีกหัวข้อที่คุณพัทน์กับคุณกระทิงมีความสนใจเหมือนกัน คุณพัทน์อธิบายว่า หากนำ AI-Generated Characters มาช่วยในการเรียน ทำให้เด็กสามารถเรียนกับตัวละครใดก็ได้ที่ชอบ จะสามารถสร้างการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ไม่ใช่แค่การสร้างตัวตนคนในอดีตมาสอนหนังสือ แต่ยังใช้ AI มาสร้างตัวเราเองในเวอร์ชันต่าง ๆ (Simulating the Multi-Self) ทำให้สามารถเรียนรู้ตัวเองในอนาคตและในอดีตได้ (Self-Learning) เช่น การจำลองให้ผู้ป่วยเห็นตัวในอนาคตเพื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษา การวางแผนทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ (Simulating the Multi-Selves to Improve Health and Financial Decision Making) 

คุณพัทน์เสริมอีกว่า “MIT Media Lab เป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีที่เราใช้กันตั้งแต่ในอดีต เช่น Touch Technology, Touch Screen , Smart Glasses, Wearables รู้สึกตื่นเต้นที่บริษัทไทยจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลิต New Frontier Technology การลงทุนในเทคโนโลยีที่มองไปข้างหน้า ซึ่งการนำ AI มาช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น คือ โจทย์วิจัยใหญ่ ที่ทำร่วมกับ KBTG เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นมากในการทำให้สิ่งที่ฟังดูล้ำยุค Futuristic มาก ๆ มาสู่สังคมไทยได้”

คุณกระทิง เสริมว่า “ที่ผ่านมาเราเป็น Consumer เป็นแค่ผู้ใช้เทคโนโลยีมาตลอด แต่ตอนนี้บริษัทไทยของเรา กล้าที่จะบอกว่าเราพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยออกมาให้คนใช้ อีกทั้งตอนนี้ KBTG ขยายธุรกิจไปสู่ประเทศจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสเกลในระดับภูมิภาค ที่จะมีผู้ใช้งานถึง 600 ล้านคน”  

“เราภูมิใจมากที่ได้เป็นลมใต้ปีกของคุณพัทน์ สำหรับ KBTG Fellow เราต้องการคนที่เก่งจริงๆ ในประเทศไทย พูดแล้วคือต้องเป็นคนนี้คือ Hall of Fame ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น ที่จะเห็นความร่วมมือที่จะออกมาเป็นงานวิจัยและออกมาเป็น Product ที่เรานำมาใช้ได้จริงเร็วๆนี้” 

KBTG จริงจังกับการทำ In-House Development มาโดยตลอด ซึ่งทาง KBTG จะมีการส่งนักวิจัยขององค์กรเพื่อไปทำการวิจัยร่วมกันที่ MIT Media Lab กับคุณพัทน์ด้วยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ 

โดยในส่วนทุนวิจัย Fellowship ขั้นตอนการแต่งตั้ง KBTG Fellow จะดำเนินการโดย MIT Media Lab และตามความยินยอมของ KBTG โดยผู้ที่จะได้รับการพิจารณาและมีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow จะต้องเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ MIT, ทุนหลังปริญญาเอก, รองดุษฎีบัณฑิต, นักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยหรือตำแหน่งเทียบเท่า โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะผลิตผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย และพันธกิจของ KBTG ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอประโยชน์ในวงกว้างสำหรับประเทศไทยและสังคมไทย KBTG Fellowship ยังเป็นทุนสนับสนุนแรกสำหรับ MIT Media Lab จากบริษัทเทคโนโลยีของไทย โดยทุนนี้มีระยะเวลา 2 ปี ในช่วงแรก และอาจได้รับการต่ออายุตามข้อตกลงระหว่าง KBTG และ MIT Media Lab ต่อไป 

KBTG เราโพสิชันว่าเป็นผู้นำ ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม อะไรที่ไม่มีต้องสร้างขึ้นมา อะไรที่มันต้องมีแต่ประเทศนี้ไม่มี เราต้องช่วยกันสร้าง

ถ้าเกิดทำได้ดีทำได้สำเร็จ และมีประโยชน์จริง ๆ ถ้าประเทศไม่มีก็จะช่วยกันสร้าง อยากให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อองค์กรอื่น ในการลงมาสนับสนุนการศึกษาในประเทศกันมากขึ้น เพราะคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ คนไทยเก่งๆอีกเยอะมากที่รอโอกาส และเราสามารถสร้างโอกาสได้ ช่วยเป็นลมใต้ปีก แล้วบริษัทเองก็ได้ประโยชน์ด้วย” คุณกระทิงกล่าวปิดท้าย


บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืนได้...

Responsive image

ซูชิสายพาน หนึ่งใน Game Changer ที่สำคัญของวงการอาหารญี่ปุ่น

บทความนี้ เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจต้นกำเนิดของซูชิสายพานที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิถีการกินซูชิของคนญี่ปุ่น แต่ยังกลายเป็นธุรกิจร้านอาหารที่ถูกใจคนไทยในยุคปัจจุบันอย่างมาก...

Responsive image

อัปเดตเทคโนโลยี Home Cinema 2024 รู้จัก LX700-4K RGB จาก ViewSonic

วันนี้ Techsauce จึงอยากพามารู้จักกับ LX700-4K RGB โปรเจคเตอร์ตัวล่าสุดจาก ViewSonic เหมือนยกจอ IMAX มาไว้ที่บ้าน...