Knowhere ชูนักข่าวคนใหม่ที่ชื่อว่า "AI" จะช่วยให้นำเสนอข่าวได้แบบไร้อคติ(?) | Techsauce

Knowhere ชูนักข่าวคนใหม่ที่ชื่อว่า "AI" จะช่วยให้นำเสนอข่าวได้แบบไร้อคติ(?)

คุณต้องการเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวที่เที่ยงตรงและเป็นกลางหรือไม่? เราขอพาไปดูเว็บไซต์ Knowhere News ซึ่งเป็น Startup ที่ผสานเอาเทคโนโลยี AI, Machine Learning และนักข่าวที่เป็นมนุษย์ เข้ามาช่วยให้การนำเสนอข่าวที่มีความเป็นกลางและข่าวที่กำลังเป็นที่สนใจ เป็นไปอย่างลงตัว

Photo: Knowhere News

Knowhere News (https://knowherenews.com/) ทำงานอย่างไร ขั้นแรกเว็บไซต์นี้จะมีหลังบ้านที่เป็นระบบ AI (Artificial Intelligence) คอยเลือกประเด็นที่มีความน่าสนใจบนโลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันขึ้นมา จากนั้นระบบหยิบหนึ่งประเด็นขึ้นมาแล้ว ระบบก็จะหาแหล่งข่าวอื่นๆ มาประกอบอีกนับพันชิ้นเพื่อรวบรวมรายละเอียดต่างๆ ทั้งจากเว็บฝ่ายซ้าย และเว็บฝ่ายขวา ซึ่ง AI จะเก็บเอามาทั้งหมด

จากนั้นเมื่อ AI เขียนประเด็นข่าวที่มีพื้นฐานของ “ความเป็นกลาง” ขึ้นมาจากสิ่งที่ระบบได้รวบรวมมา (บางทีใช้เวลาไม่ถึง 60 วินาทีด้วยซ้ำ) นี่จึงถึงเป็นข่าวที่ประกอบด้วยความจริงพื้นฐาน จากความพยายามของ AI ที่จะลบอคติที่มีออกไป นอกจากนี้ AI ยังคำนึงถึง “ความน่าเชื่อถือ” (Trustworthiness) ของแต่ละแหล่งข่าว ที่ Co-Founder ของ Knowhere กำหนดไว้อย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์นี้จะมีจุดขายในเรื่องของความถูกต้อง แบบไร้เงาการเล่นประเด็นต่างๆ กับข้อเท็จจริงที่มีอยู่

Knowhere News screenshot

สำหรับบางประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง ตัวระบบ AI จะสร้างอีก 2 ข่าวมาให้เห็น โดยแปะป้ายว่าเป็นข่าวสำหรับ “ฝ่ายซ้าย” (เสรีนิยม) และ “ฝ่ายขวา” (อนุรักษ์นิยม) เข้ามาประกอบข่าวที่เป็นกลาง:

  • ประเด็นเป็นกลาง: “US to add citizenship question to 2020 census” (สหรัฐฯ เพิ่มคำถามสำรวจการเป็นพลเมืองในปี 2020)
  • ประเด็นฝ่ายซ้าย: “California sues Trump administration over census citizenship question” (ชาวแคลิฟอร์เนียฟ้องคดี Trump เกี่ยวกับคำถามเกี่ยวกับสัญชาติ)
  • ประเด็นฝ่ายขวา: “Liberals object to inclusion of citizenship question on 2020 census” (ฝ่ายเสรีนิยมคัดค้านการรวมคำถามเข้าไว้ในแบบสำรวจพลเมืองปี 2020)

บางประเด็นที่เกิดเป็นข้อโต้แย้ง แต่ไม่ได้เป็นประเด็นการเมืองที่สำคัญ จะมีการแสดงข้อความว่าเป็นประเด็นข่าวใน “แง่บวก” และ “แง่ลบ” ขึ้นมาแทน:

  • ประเด็นเป็นกลาง: “Facebook scans things you send on messenger, Mark Zuckerberg admits” (Facebook สแกนดูสิ่งที่คุณส่งบน Messenger, Mark Zuckerberg ยอมรับ )
  • ประเด็นแง่บวก: “Facebook reveals that it scans Messenger for inappropriate content” (Facebook เผยว่าจะมีการสแกนดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบน Messenger )
  • ประเด็นแง่ลบ: “Facebook admits to spying on Messenger, ‘scanning’ private images and links” (Facebook ยอมรับกำลังสอดส่องดู Messenger ระบุมีการ 'สแกน' รูปภาพและลิงก์ส่วนตัว)

แม้แต่รูปภาพก็สะท้อนให้เห็นถึงอคติ (Bias) ของประเด็นข่าวในบางครั้งหน่อย ซึ่งรูปปกที่เป็น “แง่บวก” บน Facebook ก็อย่างรูป CEO Mark Zuckerberg กำลังยิ้มอยู่ ส่วนรูปปกที่เป็น “แง่ลบ” ก็เป็นรูปที่เหมือนว่า Mark กำลังมองสุนัขกำลังเสียชีวิต

AI ของ Knowhere จึงไม่ใช่การเลือกข้างไปทางใดทางหนึ่ง

Nathaniel Barling, Editor-in-chief และ Co-founder ของ Knowhow News ให้สัมภาษณ์กับ Motherboard ว่า ระบบบนเว็บไซต์จะมีการจับคู่ข่าวเข้ากับ Editor ที่เป็นมนุษย์เพื่อมาให้ถูกรีวิวและแก้ไขทุกข่าว เพื่อให้มั่นใจว่าผู้อ่านจะรู้สึกว่าได้อ่านข่าวที่เขียนจากนักข่าวจริงๆ และไม่ได้เป็นข่าวที่มาจาก Twitter Chatbot ซึ่งเมื่อข่าวถูกแก้ไขโดยมนุษย์แล้ว จะถูกระบบกลับไปในระบบ AI เพื่อใช้ระบบได้ใช้เวลาในการเรียรรู้และพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งเขาเองก็จะเป็นผู้อนุมัติให้แต่ละข่าวก่อนที่จะเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์จริง “ผมต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ และไม่อาจส่งความรับผิดชอบนี้ไปให้คนอื่นต่อได้” (The buck stops with me) เขากล่าวในบทสัมภาษณ์

มีการมีมนุษย์อยู่ในระบบอาจกลายเป็นข้อบกพร่องสำคัญใน AI เพราะจากที่เห็นในระบบ AI อื่นๆ ที่ผ่านมา จะพบว่ามันมีอคติจากผู้สร้างเนื้อหา (Creators) แต่ Barling และ Editor ยังต้องการสร้างความเป็นกลางเท่าที่มนุษย์จะทำได้อย่างแม้จริง — เพื่อให้แน่ใจได้ว่า AI ยังคงไว้ซึ่งความเป็นกลางหรือความเป็นธรรม

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา Knowhere เพิ่งระดมทุนได้เป็นจำนวน 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ Seed Funding จากนักลงทุนหลายราย ได้แก่ CrunchFund, Day One Ventures, Danhua Capital, Struck Capital และ Abstract Ventures

โดยนักลงทุนต่างๆ เห็นในศักยภาพของเว็บไซต์นี้ที่ต้องการเปลี่ยนการรับรู้ข่าวสารของเราอย่างชัดเจน แต่ว่าจะเข้าถึงคนได้มากพอหรือไม่? ถูกกลุ่มคนหรือไม่? และเป็นเรื่องจริงหรือไม่? นี่เป็นอีกสิ่งที่น่าคิด

"ความเป็นกลาง" คือจุดขายของ Knowhere ที่ชูขึ้นมา ดังนั้นถ้าคุณคิดว่านี่คือเว็บไซต์ที่ต้องการเข้ามาอ่าน เป็นไปได้ว่าคุณคือคนที่เห็นคุณค่าของความเป็นกลางที่ควรมีในข่าว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี และคุณก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาบางอย่าง

เพราะตอนนี้มีปัญหาอันหนึ่ง คือบางคนยังมีความสุขกับการอยู่ใน Echo Chamber [ห้องที่มีเสียงสะท้อน]ที่พวกเขาได้รับข่าวสารจากแห่งที่ตรงกับที่เขาคิด และถ้าคุณเป็นหนึ่งในแหล่งข่าวนั้น คุณก็ไม่อยากให้ผู้อ่านหนีหายไปจากคุณใช่ไหม? ดังนั้นคุณก็คงป้อนเนื้อหาที่ผู้อ่านพึงพอใจและมีอคติเหมือนเดิมต่อไป

ประเด็นนี้คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าสถานะเดิมของสื่อไม่ได้มีผลต่อ สังคมของเรา, ประชาธิปไตยของเรา และ โลกของเรา

ดังนั้น ประเด็นข่าวที่เป็นกลางที่ถูกเขียนด้วย AI ข่าวที่จะออกมามันดูเรียบๆ ใช่หรือไม่? คำตอบคือก็ใช่ แต่สังคมก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอด และแนวโน้มของมนุษย์ตอนนี้กำลังต้องการ Algorithm ที่ผลิตข่าวให้ฉลาดขึ้น มีเนื้อหาดึงดูดผู้อ่าน(แต่ยังคงความเป็นกลางไว้อยู่) ได้มากขึ้นแน่นอน

อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก Knowhere News, Motherboard และ Futurism

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...