KPMG ชี้ ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผลกระทบต่องบการเงิน และ KPI ขององค์กร | Techsauce

KPMG ชี้ ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผลกระทบต่องบการเงิน และ KPI ขององค์กร

ทุกองค์กรต่างต้องเผชิญกับความท้าทายและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และต้องวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อรับมือ ซึ่งความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตัดสินใจด้านยุทธศาสตร์เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่องบการเงินและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ขององค์กรได้

ในปีที่ผ่าน ๆ มา หลายประเทศได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในจำนวนองค์กรที่มีการรายงานเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งนอกจากเป็นสาเหตุมาจากกฎข้อบังคับใหม่ ๆ แล้ว ยังเป็นเพราะความเข้าใจที่มากขึ้นในแง่ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance – ESG) ที่ส่งผลต่อผลประกอบการทางการเงินและคุณค่าขององค์กร การรายงานเรื่องของความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและองค์กรที่ยังไม่ได้รายงานในเรื่องดังกล่าวนั้นอาจจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

“จากรายงาน KPMG Survey of Sustainability Reporting 2020 พบว่าร้อยละ 80 ขององค์กรที่ทำการสำรวจพบว่า มีการรายงานด้านความยั่งยืน ซึ่งในกลุ่มองค์กรที่ใหญ่ที่สุด 250 องค์กรของโลก มีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 96” เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KPMG ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาวกล่าว “การที่องค์กรไม่มีนโยบายการรายงานด้านความยั่งยืนจะเป็นจุดอ่อนและก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม แต่ละองค์กรควรตระหนักว่ายุทธศาสาตร์และการรายงานด้านความยั่งยืนไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้โดยขาดการวางแผนและการไตร่ตรองที่ดีอย่างเป็นระบบ”

ถึงแม้ว่าปัจจุบันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่องบการเงินอาจจะยังไม่มากนัก แต่ว่าความเสี่ยงสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการออกกฎข้อบังคับ การเปลี่ยนนโยบาย หรือว่าการผันแปรของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การตัดสินใจขององค์กรในด้านนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ และหนี้สินขององค์กร หรือแม้กระทั้งอาจส่งผลให้องค์กรต้องหาแหล่งเงินทุน หรืออัดฉีดเงินทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ

“สิ่งสำคัญที่แต่ละองค์กรต้องคำนึงถึงเมื่อระบุผลกระทบต่องบการเงินจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นควรรวมถึง คำมั่นสัญญาที่จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net zero) ทรัพย์สินที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม (Polluting assets) ผลกระทบที่อาจเกิดจากการบังคับใช้ระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอน การมีลูกค้าหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยคาร์บอน การซื้อคาร์บอนเครดิต และเครื่องมือทางการเงินที่ใช้มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น” ณัฐพงศ์ ตันติจัตตานนท์ กรรมการบริหาร ความยั่งยืน เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้องค์กรสามารถเปิดเผยข้อมูลทางการเงินในด้านนี้ได้ เคพีเอ็มจีได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการรายงานงบการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ใน Climate change financial reporting resource center ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้องค์กรประเมินถึงปัจจัยที่อาจส่งผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศ และรายงานในงบการเงินได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่ Climate change financial reporting resource center



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...