ตัวแทนกรุงศรีคว้า 2 รางวัล จาก CBDC Hackathon ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลให้กับประเทศ | Techsauce

ตัวแทนกรุงศรีคว้า 2 รางวัล จาก CBDC Hackathon ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลให้กับประเทศ

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เป็นธนาคารที่อยู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยตั้งเป้ามุ่งสู่การเป็นสถาบันการเงินชั้นนำระดับภูมิภาคที่ก้าวสู่เวทีโลก ด้วยการเติบโตที่ยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และที่สำคัญไม่แพ้กันคือการไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะความรู้ให้กับพนักงานของกรุงศรีในด้านต่าง ๆ  เพราะเชื่อว่าพนักงานทุกคนเป็นพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือการสร้างสรรค์โซลูชันทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับอย่างแท้จริง

ล่าสุด กับความสำเร็จที่กลุ่ม Talent ตัวแทนจากกรุงศรีเข้าร่วมการแข่งขัน CBDC Hackathon ซึ่งจัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมทางการเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ผ่านการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง สำหรับภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDC) จนคว้าชัยชนะด้วยรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 และรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการแข่งขันในครั้งนี้

วันนี้ Techsauce จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ CBDC ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาขึ้น รวมถึงไอเดียของผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับรางวัลจากกิจกรรม CBDC Hackathon ที่ผ่านมา

CBDC คืออะไร 

CBDC (Central Bank Digital Currency) คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศ เปรียบได้กับธนบัตรที่ออกโดยธนาคารกลาง สำหรับประเทศไทยก็คือเงินบาทที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลนั่นเอง ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ชำระค่าสินค้าและบริการ ทั้งยังสามารถรักษามูลค่าและนับเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ โดย 1 CBDC = 1 บาท

การใช้งาน CBDC แบ่งออกเป็นสองประเภท 

  1. Wholesale CBDC: สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน 
  2. Retail CBDC: สำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป 

ในปี 2561 ธปท. ได้ศึกษาและพัฒนาการใช้งานรูปแบบ Wholesale แล้วผ่านโครงการที่มีชื่อว่า ‘อินทนนท์’ เพื่อทดสอบระบบต้นแบบการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน และปัจจุบันกำลังเดินหน้าทดสอบการใช้งานแบบ Retail CBDC ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ ความเสี่ยง และวิธีการใช้งานเทคโนโลยีการเงินแห่งอนาคตนี้

รู้จัก CBDC Hackathon โดยธนาคารแห่งประเทศไทย 

ล่าสุด ธปท.  ได้จัดกิจกรรม “CBDC Hackathon” เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป นักศึกษา ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมและพัฒนา Retail CBDC เพื่อทดสอบความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และการเขียนโปรแกรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเงินรูปแบบใหม่  ที่นอกจากจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ยังจะเข้ามาแก้ปัญหา pain point ต่าง ๆ  เพื่อช่วยยกระดับการทำธุรกรรมของประชาชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ 

สำหรับโจทย์การแข่งขันนั้น ธปท. กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน โดยอยู่บนพื้นฐานการใช้งาน Retail CBDC  โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบแนวคิดหรือรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก  มีผู้ส่งแนวคิดหรือรูปแบบทางธุรกิจ ในการประยุกต์ใช้ Retail CBDC เข้าร่วมแข่งขันกว่า 100 ทีม และมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายเพียง 10 ทีม โดยใน 10 ทีมมีทีมที่เป็นตัวแทนจากกรุงศรี 3 ทีม

ตัวแทนจากกรุงศรีคว้า 2 รางวัล ใน CBDC Hackathon

ในการแข่งขัน CBDC Hackathon ตัวแทนจากกรุงศรี ที่สนใจในเรื่องนวัตกรรมด้านการเงินและการพัฒนา Retail CBDC ได้ร่วมส่งแนวคิดการประยุกต์ใช้ Retail CBDC เข้าแข่งขันเป็นจำนวนมาก โดยมีไอเดียที่ได้รับการคัดเลือกผ่านเข้ารอบ 3 ทีมสุดท้าย และสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 และรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 มาครองได้สำเร็จ ได้แก่ 

ทีมชนะเลิศอันดับที่ 1:  ทีม Grow Up Wallet

ประยุกต์ใช้ Retail CBDC เพื่อมาตอบโจทย์เรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน ขจัดปัญหาเรื่องเงินหายในเด็ก พร้อมปลูกฝังทักษะการออมและสร้างความรู้ตลอดจนวินัยทางการเงินให้แก่เด็กและผู้ปกครอง

ทีมชนะเลิศอันดับที่ 3:  ทีม Green Wallet

นำเสนอไอเดียด้านความยั่งยืนในการสร้าง Ecosystem ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย ให้เกิดแรงจูงใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน  และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในเรื่อง Carbon Footprint Tracking ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ที่ผ่านมาทางกรุงศรีสนับสนุนโครงการ CBDC ของธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยตลอดนับแต่โครงการอินทนนท์ จนมาถึงการร่วมทดสอบ Retail CBDC ล่าสุด ภายในองค์กรกรุงศรีเองยังมุ่งส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาทักษะและศักยภาพ ด้วแนวคิดเปิดกว้าง ไม่ปิดกั้น โดยเปิดเวทีแบ่งปันความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่อง CBDC และเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนไม่ว่าอยู่แผนกใดที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน CBDC Hackathon ในครั้งนี้ได้ จนสามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันในครั้งนี้ 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย 

กรุงศรี เป็นสถาบันการเงินที่มีการเตรียมความพร้อมตอบรับและสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเงินของไทยในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร อาทิ

  • Krungsri Innovation Center: ศูนย์รวมแหล่งความรู้และอัปเดตเทรนด์สำหรับสายเทค ที่เปิดตัวอย่างสวยงามที่เชียงใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งมีจุดประสงค์ให้เป็นพื้นที่สำหรับแสดงความสามารถและสร้างสรรค์ทางด้านการเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน
  • Krungsri Finnovate: สายธุรกิจและสตาร์ทอัพน่าจะคุ้นเคยกันดี สำหรับ Krungsri Finnovate ผู้นำด้านการสนับสนุนและลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ทอัพทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ที่เปิดกองทุน Finnoventure Fund I  กองทุนสตาร์ทอัพแรกของไทย

ไม่เพียงเท่านั้น กรุงศรี ยังผลักดันให้มีการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลและนวัตกรรมให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของเทรนด์หรือแนวโน้มของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรมการเงินของไทยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ  

อ้างอิง : bot.or.th


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สื่อสารการตลาดยุคใหม่ต้องทำยังไง ‘ให้ได้ใจคนฟัง’ สรุปเทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต

ฟัง Session ‘เทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต’ โดยคุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร จาก SCBX และคุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ จาก Dentsu ที่มาแชร์มุมมองและแนวทางการปรับตัวสำหรับแบรนด...

Responsive image

5 เหตุผล ทำไมอินโดนีเซีย ดึงดูดนักลงทุนมากกว่าไทย?

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึก 5 เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก และพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...

Responsive image

6 เทคนิคใช้ AI ยกระดับธุรกิจ SME ให้โดดเด่นและติดตลาดไว

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันกันอย่างดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ อย่างไรก็ตามป...