เจาะลึก Krungsri Finnoventure Fund 1 กองทุน Startup แรกของไทย | Techsauce

เจาะลึก Krungsri Finnoventure Fund 1 กองทุน Startup แรกของไทย

“เพราะโค้ชที่ดีจะพาผู้เข้าแข่งขันคว้าชัยชนะได้” เช่นเดียวกับนักลงทุนจำเป็นต้องเลือกเฟ้นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถชี้ช่องทำกำไรให้พอร์ตทำเงินมหาศาล ยิ่งช่วงนี้ธุรกิจ Startup กำลังเป็นที่จับตาและเนื้อหอมกว่าใคร คนที่จะบริหารจัดการกองทุน Startup ที่มีศักยภาพสูงได้ ก็จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์มองไกลถึงโอกาสการลงทุนที่สามารถสร้างการเติบโตที่ดี และมีประสบการณ์ลงทุนใน Startup อย่างช่ำชอง

Krungsri Finnovate ซึ่งมีประสบการณ์ลงทุนในยูนิคอร์นตัวแรกของไทยและ Startup ตัวท็อปกว่า 10 ราย การันตีด้วยรางวัล Best Startup Synergy Award ซึ่งจะมอบให้กับองค์กรที่ Startup อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด เรียกได้ว่าเป็น CVC ที่ช่วยขับเคลื่อน Startup Ecosystem มาตลอด จึงเดินหน้าประกาศตั้งกองทุน Startup กองแรกของไทย พร้อมทำหน้าที่จุดไฟความหวังให้ลุกโชน ตอบสนองนักลงทุนที่กำลังมองหากองทุน Startup ที่ฉายแววโดดเด่น และเป็นโอกาสครั้งสำคัญของ Startup ที่จะเติบโตให้แรงสุดฉุดไม่อยู่

ในบทความนี้เราจะไปเจาะลึกถึงกองทุน Finnoventure Fund I กับ คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ และคุณกัมปนาท วิมลโนท Head of Investment & Strategic Partnership บริษัท กรุงศรีฟินโนเวต จำกัด

FINNOVENTURE I กองทุน Startup กองแรกของไทย 

Finnoventure  Fund I เป็นกองทุนลักษณะ Private Equity Trust ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนใน Startup ขึ้น โดยคุณแซมกล่าวว่าได้นำโมเดลจากสหรัฐอเมริกามาใช้ (Goldman Sachs , JP Morgan) ซึ่งกองทุนนี้จะเปิดโอกาสให้ Corporate และนักลงทุนกลุ่ม Ultra High Net Worth ที่ไม่มีหน่วยงาน Venture Capital หรือยังไม่เชี่ยวชาญในธีมการลงทุน สามารถเข้ามาลงทุนได้ โดยจะมีกรุงศรี ฟินโนเวต ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารกองทุน ซึ่งมีขนาด 3,000 ล้านบาท และกองทุนนี้มีอายุอยู่ที่ 10 ปี โดยเลือกลงทุนกับ Startup ในไทยและ Startup ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือหากเป็น Startup จากต่างประเทศ จะต้องประกอบกิจการอยู่ในภูมิภาคนี้ด้วย 

Finnoventure Fund1

การสั่งสมประสบการณ์ของกรุงศรี ฟินโนเวต ที่มีมากว่า 6 ปี ในวงการ Startup  ถือเป็นเครื่องยืนยันความน่าเชื่อถือของกองทุนนี้ กล่าวคือกรุงศรี ฟินโนเวต คลุกคลีกับวงการ Startup มาอย่างยาวนาน โดยในช่วงปี 2560-2562 หรือเรียกได้ว่าเป็นยุค KFIN 1.0 กรุงศรี ฟินโนเวตเริ่มทำความรู้จักกับ Tech Startup ใน Ecosystem มีการจัด Accelerator Program ขึ้น ในชื่อ Krungsri RISE Accelerator เพื่อผสานความร่วมมือกับธุรกิจ Startup 

ต่อมาในช่วงปี 2563 KFIN 2.0 กรุงศรี ฟินโนเวต ขยับขยายการลงทุน และเป็นพันธมิตรกับ Startup มากขึ้น ทั้งในรูปแบบ Strategic Investment โดยเฉพาะกับ Tech startup เจ้ายักษ์ใหญ่ อย่าง Grab และ Flash เป็นต้น และ Strategic Partnership โดยทำงานร่วมกับ Startup กว่า 63 บริษัท กว่า 106  โปรเจ็ค อีกทั้งยังมีการจัดทำโครงการ  Krungsri Unicorn Startup Studio เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพนักงานในองค์กร และผลักดันให้เกิดไอเดียในการสร้างและพัฒนา Startup ให้ออกสู่ตลาดได้จริง

แซม ตันสกุล

ปัจจุบัน กรุงศรี ฟินโนเวต ก้าวสู่กลยุทธ์ KFIN 3.0 พร้อมจะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในวงการ Startup โดยเฉพาะกับ Startup ในเมืองไทย มาเป็นอาวุธสำคัญ เพื่อก้าวสู่ยุคของการจัดตั้งกองทุน Startup  ผสานพลังการลงทุนให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้องค์กร และนักลงทุนประเภท Ultra High Net Worth ที่สนใจลงทุนใน Startup เข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งนักลงทุนไม่เพียงได้รับโอกาสในเรื่องผลตอบแทนที่คาดการณ์ว่าจะสูงมากเท่านั้น แต่สำหรับนักลงทุนองค์กรยังได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลด้านนวัตกรรมของ Startup ด้วย สามารถเข้าเป็นพันธมิตรกับ Startup ที่อยู่ในกองทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจองค์กรได้อีกด้วย 

คุณแซมกล่าวว่า “กลุ่มเป้าหมายของกองทุนคือ Corporate จำนวนมากที่ยังไม่มีหน่วยงาน Venture Capital ของตนเอง อาจเพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างทีม Venture Capital ไม่ว่าจะบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลกระทบให้องค์กรต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นการเลือกกองทุนที่บริหารโดยทีมงานของกรุงศรี ฟินโนเวต ซึ่งมีประสบการณ์สูง ย่อมทำให้ Corporate กลุ่มนี้สามารถมาร่วมลงทุนกับเราได้ ผ่านกองทุน FINNOVENTURE FUND I นั่นเอง” 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่หอมหวลสำหรับนักลงทุน

คุณแซม เล่าถึงโอกาสของการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดกว้างและมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนกับเทคโนโลยี ซึ่งเหตุผลสำคัญคือประชากรจำนวนมหาศาลในภูมิภาค และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายๆประเทศ ซึ่งธนาคารกรุงศรีอยุธยาเอง มีศักยภาพด้านเครือข่าย อีกทั้งยังมีมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ MUFG สถาบันการเงินชั้นนำของโลกเป็นพันธมิตรให้การสนับสนุน ทำให้กรุงศรีมีทั้งธุรกิจที่เข้าไปลงทุนและธนาคารพันธมิตรทั้งในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม สะท้อนสถานะของกรุงศรีในการเป็น ‘regional bank’ หรือ สถาบันการเงินในระดับภูมิภาค สามารถซัพพอร์ตนักลงทุนผ่านหน่วยงานที่ช่วยดูแล  Startup และพร้อมจะพา Startup  เหล่านี้ไปเติบโตในภูมิภาค โดยคุณแซมได้ยกตัวอย่าง Startup ที่กรุงศรีช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ไปเติบโตในภูมิภาคได้ อย่าง Flash และ Builk One Group

นอกจากนี ยังพบว่าสถานการณ์โควิด 19 ทำให้เกิด Digital Transformation อย่างหนักหน่วง เกิดกระแสความต้องการไม่สิ้นสุด โดยจำเป็นต้องอาศัยการแก้ปัญหาหรือการนำเสนอบริการใหม่ จึงคาดการณ์ได้ว่าจะต้องมี Startup เกิดใหม่ขึ้นมารองรับความต้องการ ทั้งนี้ ยังมั่นใจว่าอีก 5-10 ปี การลงทุนในภูมิภาคนี้จะมีโอกาสเติบโตได้มากกว่า 10 เท่า 

FINNOVENTURE I จึงเป็นกองทุนที่เกิดขึ้นมาถูกที่ถูกเวลาเป็นที่สุด โดยจะมุ่งลงทุน ไปที่ 3 sector หลักที่มีโอกาสเติบโตสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ Fintech, E-commerce และ Automotive (ยานยนต์)

ด้าน คุณกัมปนาท วิมลโนท Head of Investment and Strategic Partnership กรุงศรี ฟินโนเวต วิเคราะห์ว่า ความน่าสนใจของ Fintech ในภูมิภาคนี้ มาจากปัจจัยด้านความพร้อมของประชากรเป็นหลัก หากเทียบกับประเทศแถบยุโรป หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว จะพบว่าคนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการรับเทคโนโลยีมาใช้อย่างก้าวกระโดด ธุรกิจใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตจึงขับเคลื่อนไปได้เร็ว อีกทั้งในภูมิภาคนี้มีอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตสูง ตลอดจนยังมีการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะ เช่น ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย ทำให้สถาบันการเงินเข้าถึงประชากรจำนวนมากได้ยาก จึงเป็นโอกาสที่สดใสมากของ Fintech

ในขณะที่ e-Commerce ถึงแม้ว่าภูมิภาคนี้จะมีอัตราประชากรและกำลังซื้อโดยเฉลี่ยแล้วต่ำกว่าประเทศจีน และสหรัฐอเมริกาอยู่มาก แต่แนวโน้มพฤติกรรมซื้อของออนไลน์กำลังไปในทิศทางบวก ธุรกิจกลุ่ม e-Commerce จึงมีโอกาสเติบโตได้อีก และสำหรับ Automotive นั้นหลายประเทศในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มการใช้รถยนต์จำนวนมาก และสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ว่า จะมีเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่รอการเปลี่ยนแปลงจากต่างประเทศเข้ามาตอบสนองความต้องการอย่างแน่นอน ทำให้ Automotive จะยังเติบโตได้อีกมากเช่นกัน

ทำไมต้องลงทุนกับกรุงศรี ฟินโนเวต

FINNOVENTURE FUND I ภายใต้การบริหารของกรุงศรี ฟินโนเวต ได้เลือกลดความเสี่ยง โดยจะเลือกลงทุนกับ Startup ที่มองเห็นว่ามีแนวทางการเติบโตชัดเจน ในซีรีส์ A, B, C ขึ้นไป มี Traction หรือความสามารถในการที่จะดึงลูกค้ามาใช้สินค้าหรือบริการ และมีฐานลูกค้าใช้บริการสม่ำเสมอต่อเนื่อง และที่สำคัญจะต้องเป็นธุรกิจที่กรุงศรี ฟินโนเวต มีความเข้าใจและสามารถประเมินความเสี่ยง รวมถึงต่อยอดการเติบโตได้

 “เราจะต้องเข้าใจเขาก่อนเราจะลงทุน เราเป็น Venture Capital ที่มีการปิดกั้นความเสี่ยงของเราก่อนในหลากหลายรูปแบบวิธี ถ้าเราไม่ชัวร์จริงๆ เราจะไม่ลง” คุณแซมกล่าว 

คุณแซม ให้ความเห็นว่า รูปแบบการลงทุนนี้ เกิดจากความมั่นใจและความชำนาญของกรุงศรี ฟินโนเวต หลังจากโลดแล่นอยู่ในวงการนี้มานานกว่า 5 ปี  ทำให้เข้าใจบริบทของ Startup และการลงทุนอย่างเต็มที่ และเพื่อยืนยันว่าเราจะดูแลกองทุนนี้อย่างดีที่สุด เราซึ่งเป็นผู้ดูแลกองทุนจะลงทุนเอง 15% ด้วย เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบในวงการ Venture Capital ส่วนใหญ่ผู้ดูแลกองทุนจะลงทุนประมาณ 1-2% เท่านั้น

ซึ่งทั้งประสบการณ์บวกกับศักยภาพทีมงานทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ โดยเฉพาะกับ Startup ในประเทศไทย จึงทำให้ FINNOVENTURE FUND I จะเป็นอนาคตที่สดใสและแข็งแกร่งของนักลงทุนได้จริงๆ

“เราเก่งขึ้น เราเข้าใจมากขึ้น เราสามารถเอาจุดอ่อนที่เราเจอมาแล้ว มาทำให้เป็นจุดแข็งของ FINNOVENTURE FUND I”

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...

Responsive image

DeFi เกิดมาเพื่อทำลายระบบธนาคารจริงหรือไม่

เก็บตกประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ he Rise of Decentralized Finance (DeFi): Disruption or Distraction? จาก Money 20/20 Asia...