ในช่วงปีที่ผ่านมาจนมาถึงปีนี้ เรื่องของ Sustainability หรือการสร้างความยั่งยืน กลายเป็นหัวข้อสำคัญที่ทำให้ทั้งบริษัทเล็กใหญ่และหน่วยงานต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดโลกร้อน ลดใช้พลาสติก หรือการใช้พลังงานทดแทน
Techsauce เคยแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับเทคโนโลยี Super Sensing ที่เกิดขึ้นจากการผนวกระหว่างนวัตกรรมและศิลปะผ่านแนวคิดการสร้างพลังงานที่ยั่งยืน โดยนวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ KUDOS ผู้นำธุรกิจอุปกรณ์ในห้องน้ำ ห้องครัว กับ super sensing forum จากประเทศญี่ปุ่น
ในปีที่แล้วเราได้เห็นการใช้เทคโนโลยี Super Sensing สร้างพลังงานไฟฟ้าจากแบคทีเรียในดิน และในปีนี้ KUDOS ได้พาเรากลับมาพบกับ Super Sensing อีกครั้ง พร้อมการจัดงาน International Conference ภายใต้หัวข้อ "REGENERATING GOOD: Making Our Planet A Better Place" ซึ่งต้องการตอกย้ำว่าพลังงานเกิดขึ้นได้จากทุกสิ่ง ทุกที่ ทุกเวลา และทุกรูปแบบ โดยงานครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ KUDOS ร่วมกับ super sensing forum, Asahi Kasei บริษัทผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Sensor จากประเทศญี่ปุ่น และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ในงาน Bangkok Design Week 2020
ภายในงานนี้ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ส่วน คือ Technology Showcase: E!ROOM, International Conference และ Workshop
จากโจทย์ที่ต้องการทำให้ทุกคนตระหนักในการสร้างโลกให้น่าอยู่มากขึ้น ใน International Conference ครั้งนี้ก็มี Speaker ผู้เชี่ยวชาญ ที่มาสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสร้างความยั่งยืน และชวนคิดในการนำเอางานดีไซน์มาผนวกกับเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน หนึ่งในนั้นคือคุณซาโตชิ นาคากาว่า ผู้ก่อตั้งบริษัท Sensingnet และ super sensing forum จากญี่ปุ่น
คุณซาโตชิได้เล่าถึงเหตุการณ์มหันตภัยต่างๆที่โลกเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นสึนามิที่ญี่ปุ่น พร้อมอธิบายว่า สิ่งรอบๆ ตัวเรามี Micro Energy หรือพลังงานอยู่ แม้แต่สิ่งมีชีวิต ซึ่งได้ตั้งคำถามว่า จะเพิ่มพลังงานอย่างไร โดยมีคำตอบคือการพัฒนานวัตกรรมจาก Sensor เกิดเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Super Regenerator สามารถเพิ่มพลังไฟฟ้าจากระดับ 1 ไมโครวัตต์ (µW) มาเป็นระดับ 4-5 โวลต์ (Volts)
ซึ่งในงาน Bangkok Design Week ในปีนี้ก็ได้มีการจัดแสดงผลงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “E!ROOM” ในแนวคิด “Sensorless Sensor” คุณซาโตชิ ได้แสดงให้เห็นการดึงพลังงานจากอากาศ อาหาร และน้ำมาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยปกติแล้วการพัฒนาระหว่างน้ำกับ Sensor เป็นสิ่งที่ยากมาก แต่เราสามารถใช้นวัตกรรมนี้มาสร้างไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นได้ในยามคับขัน โดยไม่ต้องกลัวว่าพลังงานนั้นจะหมด โดยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับ 4-5 Volts ซึ่งเพียงพอสำหรับการนำมาใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและเซ็นเซอร์ต่างๆ
นวัตกรรมนี้สามารถต่อยอด สร้างกระแสไฟฟ้าจากพลังธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิต ทำให้เราสามารถประยุกต์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบภายในร่างกายเราได้ด้วยหากต่อยอดงานวิจัยรูปแบบนี้ไปเชื่อว่าจะช่วยให้วงการแพทย์มีข้อมูลในการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกายส่งผลให้มีเครื่องมือในการรักษาสุขภาพได้ดีขึ้น
คุณซาโตชิเผยแนวคิดว่า มนุษย์นั้นใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ เราสามารถสร้างพลังงานได้จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดย Super Sensing จะใช้ Power Booster Chip Technology เทคโนโลยีการกระตุ้นเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตพลังงานที่สูงขึ้น และ เทคโนโลยี Advanced Sensor ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระแสไฟฟ้า โดย Technology Showcase E!ROOM ครั้งนี้ ได้มีการแสดงให้เห็นการสร้างไฟฟ้าจากดิน น้ำ ขยะ อาหาร และสิ่งต่างๆรอบตัวเรา
โลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคของ IoT เมื่อมนุษย์ผูกติดกับเทคโนโลยี แต่ทุกคนยังใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ เราจะสร้างพลังงานที่ยั่งยืนอย่างไม่มีวันหมดได้อย่างไร? Super Sensing จึงกลายเป็น Game Changer ที่ปลดล็อคแนวคิดการออกแบบเพื่อความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งการเข้าถึงชุมชนที่เข้าไม่ถึงไฟฟ้า
นอกจากนี้ภายในงานยังมี Speaker ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของหลายวงการทั้ง สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันแบ่งปันไอเดียและพัฒนาองค์กรจากเทคโนโลยี Regenerative Super Sensing ที่นำเอาเซ็นเซอร์มาใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ ได้แก่ Mr. Tucker Viemeister ผู้สร้างนิยามใหม่ของคำว่า “สื่อแบบผสมผสาน (Multimedia)” ด้วยการผสานแนวคิดนวัตกรรมเข้ากับสื่อและสิ่งของต่างๆจนได้รับความนิยม, Mr. Eric Schuldenfrei เจ้าของผลงานหนังสือชื่อดังอย่าง “The Films of Charles and Ray Eames” หนังสือด้านสถาปัตยกรรม, รัฐศาสตร์, ภาพยนตร์ และการศึกษา, Ms. Marisa Yiu สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอด้านสถาปัตยกรรมประยุกต์ร่วมกับ Mr. Eric Schuldenfrei นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่งเป็น Executive Director ของ Design Trust องค์กรด้านการออกแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งโดย Hong Kong Ambassadors of Design, Mr. Andre Feliciano นักศิลปะชาวบราซิลที่เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเขามีสวนที่ชื่อ Floraissance ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานการสร้างศิลปะร่วมสมัย และธรรมชาติเข้าด้วยกัน และ Mr. Forrset Megger ผู้ก่อตั้ง CHAOS (Cooling and Heating for Architecturally Optimized systems) ห้องปฏิบัติการสำหรับค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเกิดความร้อน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม
ในช่วงนี้โลกต้องเจอกับภาวะโลกร้อน ภัยภิบัติทางธรรมชาติอย่างไฟป่าหรือ หรือปัญหา PM 2.5 เรื่องของการ Reduce, Reuse, Recycle อาจไม่เพียงพอ โดย KUDOS ตอกย้ำให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้การ Regen ด้วย ซึ่งหมายถึงการหาพลังงานทดแทนนั่นเอง ผ่านการจัด Workshop ให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์ด้าน Super Sensing
KUDOS ได้จัด Workshop ชวนเข้าร่วมการสร้างพลังจากธรรมชาติ ผ่านการทดลองสร้างพลังงานสะอาดให้โคมไฟจากการดึงเอาพลังงาน Micro Energy จากแบคทีเรียในดินมาใช้ โดยมี Ms.Lindsay Smillow จาก Brooklyn College ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการศึกษาด้านงานศิลปะที่เชื่อมโยงชุมชน และสร้างประสบการณ์ร่วมกับงานศิลปะ มาเป็นผู้ให้ความรู้ Workshop นี้ได้นำเอาการออกแบบและการประยุกต์เอานวัตกรรมมาใช้งานร่วมกันเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนในอนาคต
นอกจากนี้คุณซาโตชิยังนำเสนอแนวคิดแบบยั่งยืน ผ่านการนำเอาวัสดุธรรมชาติ อย่างเศษไม้ที่แตกหักตามธรรมชาติให้เป็นของใช้ อย่างปากกาที่ใช้งานได้จริง ซึ่งสื่อถึงการนำเอาขยะมารวมกับการออกแบบเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับของเหลือ
ทั้งหมดนี้คือไฮไลท์ที่น่าสนใจที่ KUDOS นำมามอบให้กับผู้ร่วมงาน Bangkok Design Week 2020 ตอบรับกระแสรักษ์โลกด้วยพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการผสานเทคโนโลยีและงานออกแบบเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการนำเอาธรรมชาติมาสร้างคุณค่าใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายและยั่งยืนมากขึ้น
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด