LINE ScaleUp 2019 โปรแกรมต่อยอดความสำเร็จ Startup ไทยสู่ระดับ unicorn ที่มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อยกระดับศักยภาพ Startup ไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับโลก ได้จัด ScaleUp Camp ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมถึงตุลาคม บ่มเพาะ Startup ที่เข้ารอบทั้ง 6 ทีม ได้แก่ Finnomena, ClaimDi, Gowabi, Choco CRM, Tellscore และ Seekster เพื่อเฟ้นหาทีมที่ดีที่สุดในการชิงโอกาสได้รับเงินลงทุน หรือการเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจต่อไป
หลังจากที่เดินทางกันมาระยะหนึ่งแล้ว LINE ScaleUp 2019 ได้จัด session สุดเข้มข้นในหลากหลายหัวข้อ เริ่มจาก Session แรก เรื่อง LINE Messaging API Introduction โดยทีม Dev Relations จาก LINE ประเทศไทย แนะนำเชิงลึกเกี่ยวกับ LINE API และให้ทั้ง 6 ทีมได้ลองสร้าง chatbot ขึ้นมาจริง เพื่อใช้ต่อยอดการบริการของตนเอง ด้วยการเชื่อมต่อกับ LINE API อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อด้วย Session ที่สอง กับหัวข้อ Business model & Unit economics โดย Jayden Kang, Chief Strategy Officer แห่ง LINE ประเทศไทย ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับแพลตฟอร์มและแผนการธุรกิจของ LINE เพื่อเป็นแนวทางให้ Startup ทั้ง 6 ทีมในการวางแผนธุรกิจต่อยอดบนแพลตฟอร์ม LINE ได้อย่างตรงจุด โดยแต่ละทีมได้มีโอกาสนำเสนอแผนธุรกิจของตนเอง พร้อมได้รับข้อคิดเห็นและคำแนะนำเชิงลึกถึงแผนธุรกิจแบบตัวต่อตัว เข้าสู่ Session ที่สาม โดยมี VC ชั้นนำจากต่างประเทศมาให้ความรู้ในหัวข้อ How to secure investment? ซึ่งนอกจากทีมงาน LINE ประเทศไทยแล้ว LINE ScaleUp ยังเปิดโอกาสให้ Startup ทั้ง 6 ทีมได้พบปะกับเหล่านักลงทุนจากประเทศอินโดนีเซียและเกาหลี ที่ช่วยแชร์แนวคิด และเคล็ดลับดีๆ ในการหาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศอย่างเป็นกันเอง
และใน Session ล่าสุดของ ScaleUp Camp ได้มีการยกหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจของคนในยุคปัจจุบัน อย่าง UI/UX design และ Workshop ด้าน Design Thinking มาติวเข้มให้กับทั้ง 6 ทีม โดยมี คุณณัฐพร ทยานานุภัทร์ หัวหน้าฝ่าย Customer Experience ประจำ LINE ประเทศไทย เป็นผู้บรรยายในช่วงเช้า พร้อมแชร์เคล็ดลับในการออกแบบ UX (User eXperience) ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและเจ้าของแบรนด์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อนำไปสู่การเพิ่ม conversion rate รวมถึงมี workshop ให้แต่ละทีมได้ลองออกไอเดีย ไปจนถึงการทดลองด้วย
คุณณัฐได้บรรยายถึง หลักจิตวิทยาขั้นพื้นฐานที่ใช้สำหรับการออกแบบ UX โดยแม้แต่คนทั่วไปที่ไม่เคยมีพื้นฐานด้านการออกแบบมาก่อนก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้าได้ หากนำหลักการเหล่านี้ไปปรับใช้
คือกฎที่ว่าด้วย คนทั่วไปจะมีความสามารถในการจดจำได้ 7 รายการในเวลาเดียวกัน (บวกหรือลบ 2) หรือถ้าจะให้ดีที่สุดคือ 3-4 รายการเท่านั้น ดังนั้นในการออกแบบจึงควรคำนึงถึงสิ่งที่อยากให้ผู้ใช้เห็นเป็นอย่างแรก เช่น อยากให้กดปุ่ม call to action ก็ควรจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยไม่ควรมี task ในหน้าเดียวกันนั้นเกิน 7 อย่าง เนื่องจากผู้ใช้อาจจะเกิดความสับสนว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง และส่งผลต่อการตัดสินใจได้
คือกฎของความใกล้ชิด หรือการ grouping ให้ object ที่มีความใกล้เคียงกันหรือมีความเชื่อมโยงกัน มารวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ปัญหาหลักที่นักออกแบบ UX มักเจอ คือ ความต้องการอันหลากหลายจากแต่ละทีม ทั้งจากทีม Marketing ทีม Engineering ทีม Business รวมถึงทีม Customer Service ที่ต้องการให้ใส่ทุกสิ่งเข้าไปในหน้าเดียวกัน เพื่อตอบสนองเป้าหมายของตนเองดังนั้น ในการออกแบบจึงควรนำกฎนี้มาใช้ เพื่อจัดการให้ call to action หลักโดดเด่นที่สุด จัดกลุ่มสิ่งที่ลูกค้ามองหาคล้ายๆ กันไว้ที่เดียวกัน และเผื่อ space ไว้บ้าง เพื่อไม่ให้ดูรกจนเกินไป
กฎแห่งความคล้ายคลึง เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ โดยการจำแนกจาก สี ขนาด และรูปร่างที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ คนจะสามารถรับรู้ว่าสีที่คล้ายกัน หรือขนาดที่คล้ายกันนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกันได้ ในการออกแบบจึงควรใช้สีที่โดดเด่นสำหรับ call to action รวมถึงขนาดและรูปร่างที่จะทำให้ผู้ใช้เห็นได้ชัดเจนและเข้าใจในทันที
เป็นกฏว่าด้วยการใช้เวลาตัดสินใจที่แปรผันตามจำนวนและความซับซ้อนของทางเลือก เช่น ถ้าหากมี choice ให้ผู้ใช้ต้องเลือกหลายอย่าง ก็จะใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น ดังนั้นจึงควรออกแบบให้มีความซับซ้อนน้อยๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจของผู้ใช้
คือกฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการคลิกเลือกวัตถุเป้าหมายกับระยะทางและขนาดของวัตถุเป้าหมาย กล่าวโดยง่าย คือ การออกแบบควรทำให้ปุ่ม call to action อยู่ในบริเวณที่เหมาะสมต่อการกด โดยจากสถิติของ LINE พบว่าปุ่มที่อยู่บริเวณครึ่งล่างของจอสมาร์ทโฟนจะให้ conversion rate ที่ดีกว่า เนื่องจากนิ้วโป้งสามารถกดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ผู้ใช้ไม่ต้องเอื้อมหรือต้องใช้ความพยายามมากนัก นอกจากนี้ คุณณัฐยังแชร์ว่าขนาดของปุ่มที่เพอร์เฟคสำหรับนิ้วโป้งคือขนาด 44 points (ประมาณ 50 pixel)
คนส่วนใหญ่จะจดจำสิ่งที่เห็นเป็นอย่างแรกและอย่างสุดท้าย ดังนั้นจึงควรออกแบบปุ่ม Call to action หรือข้อมูลสำคัญๆ ให้ผู้ใช้เห็นเป็นอย่างแรก หรืออย่างสุดท้าย เพื่อเพิ่ม conversion rate
เป็นหลักการที่ตัดความซับซ้อนออกไป เมื่อมีวิธีแก้ปัญหาที่ให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกันมากนัก โดยเราควรเลือกวิธีการที่ง่ายที่สุด ในเชิงการออกแบบจึงหมายถึงการลดลักษณะที่มีความซับซ้อน แต่สร้างสิ่งที่เบสิคให้เกิดผลมากที่สุด
ในช่วง Workshop หัวข้อ Design Thinking คุณณัฐกล่าวว่า หัวใจสำคัญของ Design Thinking คือการลงมือทำจริง และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องมีการทำ Test หรือทดสอบสมมติฐานนั้นเป็นประจำ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าสิ่งที่ถูกออกแบบมาจะสามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนการออกแบบเหล่านี้ ต้องอาศัยความเข้าใจในความต้องการของ stakeholders ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น User, ทีม Business, ทีม Tech หรือ ทีม Marketing โดยผ่านการขอความคิดเห็น หรือให้ทดลองสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อรับฟัง feedback และนำไปปรับใช้
ลักษณะเฉพาะของ User ชาวไทย คือไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ ดังนั้นจึงไม่ควรใส่ text ลงไปในงานออกแบบเยอะเกินไป และควรจะโฟกัสให้ข้อความมีลักษณะดังนี้;
นอกจากนี้ ปุ่ม ‘Help’ หรือ ‘ช่วยเหลือ’ นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เนื่องจากคนไทยไม่ชอบอะไรที่ยากเกินไป ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้ ก็จะเกิดอัตราการ Drop off ค่อนข้างสูงนอกจากนี้ ยังมี session ในช่วงบ่ายที่ให้ Startup ทั้ง 6 ทีมได้ใช้เวลา 20 นาที สุด Exclusive แบบตัวต่อตัว กับคุณ Omar Trejo Gutierrez หัวหน้าฝ่าย Product Design ของ LINE ประเทศไทย ที่ได้ให้คำแนะนำทั้งในเรื่อง User Experience และ Product Design แก่ทุกทีมอย่างเข้มข้นถือเป็นเคล็ดลับและความรู้ดีๆ ที่หาโอกาสฟังได้ยาก จากผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์จริงในตลาดเมืองไทย หลังจากนี้ Startup ทั้ง 6 ทีมคงจะสามารถอัพเลเวลจากการสนับสนุนของ LINE ScaleUp เพื่อเดินหน้าไปให้ถึงฝั่งฝันในการเป็น Unicorn สัญชาติไทยได้อย่างแน่นอน
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด