Local Alike และ VT Thai : 2 Startup เพื่อสังคมไทยสู่สังคมโลก คว้าเงินทุน ใน ‘Future Makers’ เวทีรวมนักนวัตกรรมที่สร้าง impact เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมโลก | Techsauce

Local Alike และ VT Thai : 2 Startup เพื่อสังคมไทยสู่สังคมโลก คว้าเงินทุน ใน ‘Future Makers’ เวทีรวมนักนวัตกรรมที่สร้าง impact เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเราพูดถึง startup หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยเสมอคือศักยภาพในเชิงธุรกิจ หรือเรื่องของตัวเลขสำคัญต่างๆ แต่ยังมี startup อีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างธุรกิจโดยมุ่งเน้นไปที่การนำ innovation และ technology เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม เน้นการสร้าง impact เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นหลัก หรือเป็น startup ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Social Enterprise (SE) ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้คือโครงการ “Future Makers Regional Program” โครงการที่ทาง Singtel Group นำโดย Singtel และ Optus จัดขึ้นบนจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม startup ที่สร้างสรรค์สังคมในเรื่องของ SDGs (The Sustainable Development Goals) ช่วยให้ startup เพื่อสามารถ scale impact ในสังคมได้

สำหรับประเทศไทยก็ได้มี startup ใน portfolio ของ AIS The StartUp เป็นตัวแทนไปร่วมในโครงการดังกล่าว ซึ่งก็คือ VT Thai (วิถีไทย) [SP1] marketplace ที่ช่วยให้สินค้าชุมชนสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ รวมทั้งเป็น matching platform ให้ designer มาเจอกับชาวบ้าน และ Local Alike [SP2] ซึ่งเป็น platform เชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยวที่สนใจในเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Startup ทั้งสองสามารถแสดงความโดดเด่นบนเวที Global pitch จนสามารถคว้าเงินทุนเป็นรางวัลติดมือกลับมาได้ Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร. ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp และ founder ของ startup ไทยทั้งสอง ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ ข้อคิด และสิ่งที่น่าสนใจตลอดการเข้าร่วมโครงการ Future Makers Regional Program ในครั้งนี้

สัมภาษณ์ ดร. ศรีหทัย พราหมณี หรือ ดร.ออน

อยากให้เล่าถึงภาพรวมของโครงการ Future Makers

ดร.ออน : เป็นงานที่ส่งเสริมกลุ่มของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจโดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการสร้าง social impact ดังนั้นผู้ประกอบการกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจที่หวังกำไร แต่ต้องเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างเติบโตและยั่งยืนได้จริงๆ โดยที่เขานำการเติบโตของเขากลับมาช่วยส่งเสริมสังคมในมิติใดมิติหนึ่งของ SDGs

เรามองไปกลุ่มธุรกิจที่สามารถสร้างโมเดลที่ขยายได้อย่างStartup ไม่ใช่แค่สร้างได้แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น แต่รูปแบบธุรกิจนี้จะต้องครอบคลุมและแก้ปัญหาให้ได้มากกว่า 1 ประเทศ สามารถครอบคลุมได้ทั้ง SEA ในบริบทของการส่งเสริม startup คือการส่งเสริมธุรกิจ แต่เราจะส่งเสริมอย่างไรให้ขยายผลไปสู่สังคมได้เยอะขึ้น

AIS The StartUp มีบทบาทกับโครงการนี้อย่างไรบ้าง

ดร.ออน :AIS The StartUp มีความยินดีที่เราได้มีส่วนร่วมและบทบาทในโครงการนี้ในหลากหลายมิติ อันดับแรกคือ เราได้รับโอกาสในการคัดสรรตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้  คือ ซึ่ง Local Alike และ VT Thai ก็ได้รับเลือกในครั้งนี้  บทบาทที่สองคือการที่เราเป็น mentor  และ coaching อย่างใกล้ชิดกับ 2 startup เพราะครั้งนี้ startup ไม่ได้เป็นแค่การร่วมโครงการแต่เป็นการ pitching เพื่อขอ funding ดังนั้นการเตรียมตัวคือสิ่งที่สำคัญ การไปในครั้งนี้เราก็เป็น sponsor ให้ทั้งสองราย ทั้งค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงการเดินทางและที่พักด้วย

เมื่อไปถึงที่ออสเตรเลีย อีกหนึ่งบทบาทที่ AIS The StartUp ได้เข้าร่วมคือ การร่วมเป็นคณะกรรมการจัดสรรเงินทุนให้กับ startup ที่มาร่วม pitching ร่วมกับตัวแทนผู้บริหารผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำจากหลากหลายประเทศ  นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสร่วมพิจารณาเงินทุนกับทางคุณ Julian Harris (Serial entrepreneur ทางด้าน data and AI analysis), คุณ Lisa Cotton (founder and CEO of Ideology Group), และ Sarah Pearson (CIO - the Australian Department of Foreign Affairs and Trade)

มีเกณฑ์ในการคัดเลือก startup เพื่อเข้าร่วมโครงการอย่างไร

ดร.ออน : อันดับแรกคือเรามองที่ social impact ก่อนว่า startup รายไหนที่สร้าง social impact และคำว่า social impact ของเขามันขยายขอบเขตไปขนาดไหน โมเดลสำเร็จมันสารมารถขยายขอบเขตนอกเหนือจากไทยไหม หรือจะอยู่แค่ในไทย เรามองไปที่คนที่สามารถ scale ได้มากกว่าแค่ตลาดเมืองไทย

ธุรกิจ Local Alike และ VT Thai  เปิดโอกาสในการสร้างงานในชุมชนมากขึ้น สร้างคุณค่าให้กับคน ซึ่งรูปแบบธุรกิจของทั้ง 2 startup นี้ทำให้คนในชุมชนมีศักยภาพในการผลิตงาน ในการหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพและนำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้จริงๆ โมเดลลักษณะนี้ต้องอาศัยทั้งความรู้ในเรื่องพัฒนาชุมชน ความรู้ด้านการขยายธุรกิจ  ไปต่างประเทศ จนถึงการจัดการ ที่ทำให้เกิดความยั่งยืน ซึ่ง Local Alike และ VT Thai เป็น startup ที่มีองค์ประกอบดังกล่าวครบ

ความแตกต่างคือ VT Thai ยังเป็น startup หน้าใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งได้แค่ปีเดียว ขณะที่ Local Alike เขาก่อตั้งมาหลายปีแล้วสามารถขยายไปต่างประเทศได้จริงๆแล้ว มี traction ให้เห็นเป็นรูปธรรม ความท้าทายของสองรายนี้ต่างกัน เมื่อ  VT Thai ยังเป็น early stage จะทำอย่างไรที่จะพิสูจน์ให้ให้สังคมโลกได้เห็นว่าถ้าโมเดลของเขาเวิร์คจริงจะสามารถสร้าง impact ให้กับคนในแต่ละประเทศได้แค่ไหน ในขณะที่ Local Alike เอง ปัจจุบันนี้เขาสามารถ scale ไปนอกประเทศไทยแล้ว แต่การ scale ก็เกิดงาน operation เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า Local Alike มีความสามารถสร้าง local operation เพื่อสร้าง  impact ไปยังชุมชนอื่นในประเทศอื่นได้

startup สองรายนี้ก็ไม่ได้ทำให้คนไทยผิดหวัง สามารถ pitching รับเงินทุนจากเวทีนี้ได้ เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ว่าไม่ว่าจะอยู่ใน early stage หรือ scaling stage ถ้ามีความตั้งใจจะทำธุรกิจเพื่อส่งเสริมสังคม คนในเวทีโลกก้สามารถรับรู้ถึงคุณค่าของธุรกิจคุณได้จริงๆ

ก่อนจะไปได้มีการเตรียมตัวกับ startup ทั้ง 2 อย่างไรบ้าง

ดร.ออน : ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเตรียมในเรื่อง coaching และ mentor ในการ pitching เพื่อหา funding และส่วนที่สองคือเรื่องโลจิสติกส์ต่างๆ และการเตรียมตัวในการอำนวยความสะดวก รวมถึงการประสานงานที่จะนำ startup ทั้งสองรายเข้าพบสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย แนะนำวัฒนธรรมต่างๆ ในออสเตรเลีย เพื่อให้ startup รู้กระบวนการหรือวิธีการวางตัวในการที่จะคุยเรื่องธุรกิจกับคนออสเตรเลีย

ได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจากการไปร่วมโครงการครั้งนี้

ดร.ออน : เราได้รับโอกาสในการเป็นคณะกรรมการที่แบ่งสัดส่วนของเงินทุนให้แก่ startup ที่ pitching ฉะนั้นประสบการณ์ของเราจากมุมมองของคนที่ให้เงิน อันดับแรกเราอยากรู้ว่าคุณอยากได้เงินเท่าไร และเงินนั้นจะนำไปทำอะไรบ้าง ถ้านำไปทำแล้วจะทำสำเร็จใช้เวลาขนาดไหน outcome ของความสำเร็จนั้นคืออะไร ซึ่งหลายๆ ครั้งของการ pitching นั้น startup มักจะบอกว่า product ตัวเองทำอะไร มี traction เท่าไหร่ เมื่อถึงเวลาที่ต้องบอกว่าจะนำเงินไปทำอะไร ข้อมูลเหล่านี้มักจะขาดหายไป ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตัดสินใจของคณะกรรมการเพื่อที่จะให้เงินแก่ startup แต่ละราย

มีมุมมองต่อ startup สาย SE ในไทยอย่างไร

ดร.ออน : ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าพี่เป็นคนที่อยู่ในด้าน commercial แต่ด้วย passion ในการดำเนิน บริบทเพื่อส่งเสริม startup เราส่งเสริมในทุกวิมิ ไม่ว่าจะเป็น startupในด้าน commercial  หรือด้านสร้างสรรค์สังคมหรือ SE

Startup สาย SE ในไทยมีความต้องการการสนับสนุนที่ชัดเจน ซึ่งการสนับสนุนของเขาไม่ใช่แค่เรื่อง PR แต่เป็นการสนับสนุนเพื่อให้เขาเติบโตได้อย่างยั่งยืน พี่ได้เห็นว่าประเทศไทยมี community ของ startup สาย SE ค่อนข้างเยอะในระดับหนึ่ง ประเด็นคือเราจะทำอย่างไรให้ startup สาย SE ให้เขากลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนได้ เพราะฉะนั้นจึงมี mindset เรื่องของธุรกิจและเรื่องการส่งเสริมสังคมไปด้วยกัน

สัมภาษณ์ คุณวัธ จิรโรจน์  พจนาวราพันธุ์ Founder แห่ง VT Thai และ คุณไผ สมศักดิ์ บุญคำ Co-founder แห่ง Local Alike

วัธ จิรโรจน์  พจนาวราพันธุ์ Founder แห่ง VT Thai

รู้สึกอย่างไรบ้างในการเป็นตัวแทน AIS The StartUp ที่เข้าไปร่วมงานกับ Future Makers Regional Program ในครั้งนี้

คุณวัธ : ก่อนอื่นต้องขอบคุณ AIS The StartUp ที่ให้โอกาสในครั้งนี้ เพราะ VT Thai เราเปิดตัวได้แค่ปีเดียว ซึ่งทาง AIS The StartUp ก็เล็งเห็นว่าเราทำให้ชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นจริงๆ อีกเรื่องคือประสบการณ์ เพราะเราไม่เคยไป pitch เป็นภาษาอังกฤษที่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก รวมทั้งได้เห็น SE ที่มี social impact ในต่างประเทศ ได้รู้ว่าต่างประเทศเขาให้ความสำคัญกับธุรกิจที่มี social impact ค่อนข้างเยอะ บางคนเป็นคนออสเตรเลียหรือยุโรป ก็ไปลงทุนในแอฟริกาหรือในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรที่ดี

คุณไผ : ต้องขอบคุณทาง AIS The StartUp ที่เห็นว่าเราน่าจะเป็นตัวแทนของ startup ที่สร้างผลกระทบในทางบวกต่อสังคม ขอบคุณที่เห็นสิ่งที่เราทำมากว่า 6-7 ปี อยากแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยก็มี startup ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคม

ในการเข้าร่วมทั้ง 3 วัน ได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง

คุณวัธ : มีบูธสำหรับกลุ่ม Future Makers คือมีตัวแทนในแต่ละประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสุดท้ายคือประเทศไทย ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 ทีม โดยมีการจัดแสดงสินค้าและนำเสนอบริษัทของตัวเองว่า ทำอะไร และมี social impact ที่ดีอย่างไร

ภายในงานแต่ละวันก็จะมี class ให้เข้าร่วม ซึ่งจะมีโค้ชมาคอยแนะนำ เช่น แนะนำเรื่องการ pitch อย่างไรให้ได้ใจนักลงทุนและคนฟัง อีกอย่างคือการ raise fund ของ 2 ธุรกิจแบบไลฟ์สด และ raise fund ตอนนั้นเลย คลาสของการ discuss กันเกี่ยวกับ social impact ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งก็ทำให้เราได้ประสบการณ์และมุมมองหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยเจอมาก่อน

ไผ สมศักดิ์ บุญคำ Co-founder แห่ง Local Alike

คุณไผ : ก็มีสองส่วนด้วยกัน หนึ่งคือโปรแกรมของ  Future Makers เอง คือได้ไปทำความรู้จักกับ startup รายอื่นๆ ที่มาจาก 5 ประเทศ และทำความรู้จักกับเครือข่ายของ Singtel group อีกกิจกรรมหนึ่งคือการได้ร่วมสัมนาของ Impact Investment forum ซึ่งเป็น forum ของ แวดวงการลงทุนเพื่อสังคม ก็ทำให้เรารู้ว่าประเทศอื่นมีการลงทุนเพื่อสังคมมากน้อยแค่ไหน มีอะไรที่เขาจะดูบ้างเพื่อให้เขาสนใจที่จะลงทุนในบริษัทอย่างพวกเรา ก็ได้ความรู้เยอะ พอสมควร

ความประทับใจ และประสบการณ์ที่อยากนำมาเล่าต่อ

คุณวัธ : ประสบการณ์ที่อยากนำมาเล่าต่อในครั้งนี้ก็เป็น culture ของคนออสเตรเลีย คือเขาค่อนข้างพูดตรงๆ  มีอะไรก็สามารถถามได้ ซึ่งก็เป็นข้อดีที่ทำให้เราสรุปได้เร็ว รวมทั้งได้เห็นหลากหลายธุรกิจที่ได้นำเทคโนโลยีมาบริหาร แต่ก็มี social impact ต่อคนในวงกว้างด้วย ได้เห็น startup ของสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ที่เขาอยากทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ได้เข้าใจว่า startup ที่มาร่วม pitching ในแต่ละประเทศเขามีแนวโน้มและความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง อย่างเช่น อินโดนีเซีย เขาบอกว่า startup ในประเทศเขาโด่งดังกว่า charity อีก ไปไหนก็มีแต่คนชื่นชมเนื่องจากว่านอกจากเก่งแล้ว ก็ทำบางอย่างกลับเพื่อสังคมด้วย เป็น startup ที่มี social impact ในประเทศ ได้ประสบการณ์จากผู้ใหญ่ที่มาเสวนาในงาน Session pitch coach consultant ซึ่งเป็นที่ปรึกษามาแนะนำ tips หลายอย่างในการ pitch ในเวทีระดับโลก

คุณไผ : เรื่องประทับใจคงเป็นเรื่องการได้ทำความรู้จักกับเครือข่ายของ Singtel Group ว่าเราจะ explore ยังไงกันต่อ อย่างเราก็คุยว่าจะร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ที่ฟิลิปปินส์ยังไง จะ localized ยังไง ก็ต้องขอบคุณที่ Singtel พาเราไปเจอเจ้าอื่นๆ ด้วย

พูดถึง Future Makers หรือ startup ที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม แน่นอนว่าเทรนด์การลงทุนใหญ่ๆ มันยังไม่ได้มีมากขนาดนั้น เราอาจจะเสียเปรียบ startup อื่นๆ อยู่ ดังนั้นการที่เราจะได้เงินลงทุนมันจะไม่ใช่แค่เรื่อง scalability แล้ว แต่มันเป็นเรื่องว่าเราจะสร้าง impact ได้มากน้อยแค่ไหน startup แบบอื่นอาจจะดูว่าจะสร้างเงินได้มากแค่ไหน แต่ startup แบบเรามันต้องดูด้วยว่าจะสร้าง impact ได้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้นมันมีสองอย่างที่นักลงทุนจะดู อันนี้คือ takeaway หลักๆ

การ Pitch เป็นอย่างไร มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

คุณวัธ : ไม่เคยเจอการ pitch แบบนี้มาก่อน เพราะมีเวลาแค่ 3 นาที ซึ่งผมรู้สึกว่าทำได้ปานกลาง ไม่ได้แย่จนเกินไป ด้วยความที่เราตื่นเต้นด้วย อาจจะต้องซ้อมมากกว่านี้ เวลาเราพูดภาษาอังกฤษจะได้ถ่ายทอดข้อความให้มี impact มากกว่านี้ ซึ่งก่อนเราจะไป pitch ทาง AIS ก็ได้มีจัด course อย่างเข้มข้นให้กับเรา เพื่อให้เราได้ pitch deck ที่ดีที่สุดก่อนจะไปเจอเวทีจริง

ทาง AIS ได้แจ้งเราล่วงหน้าก่อนแล้ว ซึ่งเราก็เตรียมตัวก่อน 2-3 อาทิตย์ก่อนที่จะไป เพราะในการ pitch แต่ละครั้ง ความต้องการแต่ละเวทีก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละเวทีว่าเข้ามีการตัดสินและให้คะแนนอย่างไร เช่น เวทีนี้จะให้คะแนนด้าน social impact เทคโนโลยีที่นำมาใช้ และสามารถเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้นอย่างไร หลักๆ ก็จะเน้นด้านนี้

คุณไผ : ที่เตรียมหนักหน่อยก็คงเป็นเรื่อง presentation skill ที่แน่นอนว่าเราต้องปรับให้เข้ากับแวดวง startup พอสมควร อย่างเราที่อยู่ในแวดวงของกิจกรรมเพื่อสังคม พอไปลักษณะแบบนี้เราก็ต้องมีการเตรียม pitching อีกแบบหนึ่ง ต้องขอบคุณทางทีม AIS The StartUp ที่ให้คำแนะนำว่าควรจะทำยังไงเพื่อที่จะให้ชนะใจกรรมการ

อยากจะให้พูดถึงเงินทุนและรางวัลที่ได้รับ

คุณวัธ : อย่างแรกคือรู้สึกดีใจ เรามองว่าโค้ชและกรรมการอาจจะเห็นว่า VT Thai ยังอยู่ในช่วง early มากๆ แต่เขาเห็น potential ว่าถ้าแพลตฟอร์มเราสำเร็จ มันสามารถเปลี่ยนแปลงคนได้เยอะจริงๆ เราก็ดีใจและทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่า มันจะเป็นแรงผลักดันและทำให้มันเดขึ้นมาจริงๆ ดีใจที่เขาสนับสนุนเราแม้ว่าเราจะยังอยู่ในช่วง early stage  ถ้าเทียบกับทีมอื่น

คุณไผ : เราได้เงินทุนอันดับ 2 มาเป็นรางวัลให้กับความตั้งใจของเราในครั้งนี้ ต้องขอบคุณกรรมการที่เห็นว่าโมเดลของเราเป็นโมเดล impact maker ที่ดี คือใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้คนในชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจให้กับทั้งชุมชน นี่คือสิ่งที่กรรมการเห็นและทำให้เราได้รับรางวัลกลับมา

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...