ทิศทางนวัตกรรม Logistic เบื้องหลังสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเปลี่ยนไป | Techsauce

ทิศทางนวัตกรรม Logistic เบื้องหลังสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเปลี่ยนไป

  • ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์สู่โลกอนาคต ทำให้ระบบ Supply Chain เปลี่ยนไป เช่นเดียวกับระบบ Logistic ที่ต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะการขนส่งที่รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดเรื่องระยะทางพร้อมการประหยัดต้นทุน
  • ตัวอย่างเทคโนโลยี Logistic ที่น่าสนใจเช่น Vision Picking อุปกรณ์สวมใส่ AR ที่ช่วยแจ้งพนักงานคลังสินค้าให้เรียงและจัดเก็บสินค้าได้อย่างถูกต้อง และ On Demand delivery ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมวันที่ เวลา และสถานที่จัดส่งอย่างยืดหยุ่น แม้กระทั่งระหว่างการจัดส่ง
  • แนวโน้มการใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบซัพพลายเชนให้มีความโปร่งใส
  • สำหรับวงการ Logistic ในอนาคตจึงเริ่มมองหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน Blockchain

ช่วงนี้เราจะเห็นธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ถูกเปลี่ยนโฉมหรือทรานส์ฟอร์มโดยเทคโนโลยี (Digital Disruption) ที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous driving) รถพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles) และรถ connected car ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนท้องถนนมากขึ้น และเมื่ออุตสาหกรรมหนึ่งมีการทรานส์ฟอร์มย่อมจะส่งผลให้มีการปรับปรุงกระบวนการด้านซัพพลายเชนและลอจิสติกส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญในการนำนวัตกรรมยานยนต์มาสู่ผู้บริโภค

ในยุค Automobility ที่ต้องการการขนส่งที่รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดเรื่องระยะทางพร้อมการประหยัดต้นทุน คือปัจจัยที่ธุรกิจลอจิสติกส์ควรให้ความสำคัญพอๆกับการให้ความสำคัญกับสินค้า

ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า และคาดว่าจะมีการยุติการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2035 เพื่อมุ่งสู่การสร้างการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ในอนาคตจะมีความซับซ้อนขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อควบคุมสมรรถนะเครื่องยนต์ มีกลไกการตัดสินใจด้วยความสามารถของ AI การเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตบนระบบ 5G และระบบ Cloud เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการออนไลน์ขณะเดินทางและแชร์ตำแหน่งรถยนต์ได้ ความเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดผลต่อซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายๆด้าน เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา มีความเปราะบางมากขึ้นและต้องการการปกป้องเพื่อให้ปลอดภัยจากอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก รวมถึงการคายประจุไฟฟ้าสถิต การกระแทก และการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งจึงต้องนำเทคโนโลยีและโซลูชั่นเฉพาะด้านมาใช้ในการจัดการปัญหาเหล่านี้

ดีเอชแอลได้จัดงาน DHL Auto-Mobility Discovery Fair เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมการขนส่งใหม่ๆในภาคธุรกิจยานยนต์ ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่ประกอบด้วยความรวดเร็วในการจัดส่ง การลำเลียง การเรียกคืนสินค้า ความแม่นยำในการจัดเก็บชิ้นส่วนยานยนต์ในคลังสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นในการขนส่ง เช่น Ring Scanner อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับยานยนต์ และช่วยปรับปรุงงานประจำในส่วนของการรับและจัดเรียงสินค้า Outbound Real-time dashboard เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดส่งสินค้าสู่โรงงานผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ รองรับการวางแผนและจัดส่งแบบ just-in-time และถูกใช้งานในการกระจายสินค้าสำหรับคลังสินค้าอะไหล่รถยนต์ Vision Picking อุปกรณ์สวมใส่ AR ที่ช่วยแจ้งพนักงานคลังสินค้าให้เรียงและจัดเก็บสินค้าได้อย่างถูกต้อง และ On Demand delivery ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมวันที่ เวลา และสถานที่จัดส่งอย่างยืดหยุ่น แม้กระทั่งระหว่างการจัดส่ง

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี AI หรือ IoT ที่ช่วยปรับปรุงการตรวจสอบซัพพลายเชนด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบติดตามราคาประหยัดที่ทำงานได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจสอบและรายงานตำแหน่งที่ตั้งของสินค้าที่จัดส่งได้ หรือการใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบซัพพลายเชนให้มีความโปร่งใส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกของการขนส่งรถยนต์

การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) กำลังมีบทบาทสำคัญในการช่วยยกระดับประสิทธิภาพ และนำเสนอแนวทางธุรกิจใหม่ๆในโลกของการขนส่งรถยนต์ อย่างไรก็ตามเราจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพหากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนการขนส่งรถยนต์ร่วมกันสำรวจรับมือกับความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ

ปัจจุบันดีเอชแอลสร้างดิสทริบิวชั่นเซ็นเตอร์ ร่วมกับการใช้หุ่นยนต์ รถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้ากว่าแสนคันสำหรับให้บริการลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการประเมินสัดส่วนจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่าการใช้หุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงานตามค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 69 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน และหุ่นยนต์อย่างน้อย 3,000 ตัวจะถูกนำมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์อีก 5 ปีข้างหน้า วงการลอจิสติกส์ในอนาคตจึงเริ่มมองหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน Blockchain เพื่อเสริมสมรรถนะการขนส่งด้านความปลอดภัย ความโปร่งใส และคาดว่าจะช่วยลดต้นทุน และร่นระยะเวลาการทำงาน

อย่างไรก็ดี ทักษะของบุคลากรและบุคลากรที่มีความสามารถยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคความท้าทายงานด้านลอจิสติกส์ในธุรกิจยานยนต์ ดีเอชแอลยังคงสร้างบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านลอจิสติกส์และนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์การทำงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะเบื้องหลังดีล Zipevent และ Link Station Group สู่การขยายธุรกิจอีเวนต์ในภูมิภาค SEA

การเข้าซื้อกิจการระหว่าง Zipevent แพลตฟอร์มจัดการอีเวนต์และจำหน่ายบัตรออนไลน์ในประเทศไทย กับ Link Station Group บริษัทญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำหน่ายบัตร (Ticketing System) ถือเ...

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...