หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 หลายภาคธุรกิจที่ต้องการจะเติบโตและสร้าง momentum ให้กับธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการเติบโตและให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่หันมาใช้ออนไลน์กันมากขึ้น โดยบทความนี้จะเผย 14 เทรนด์เทคโนโลยี ที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในปี 2022 จาก McKinsey เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอย่างแข็งแกร่ง
โดยเทรนด์ในบทความนี้ จะถูกแบ่งเป็น 2 ภาคส่วน คือ Silicon Age ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ IT และ Engineering Tomorrow หมายถึงเทคโนโลยีที่จับต้องได้
เทรนด์การใช้ AI ยังคงปรากฏอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ และภาคธุรกิจยังปรับใช้ AI เพื่อทำหน้าที่ทางธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ ซึ่งเมื่อปี 2021 McKinsey ได้ทำการสำรวจและพบว่ามีบริษัทกว่าร้อยละ 56 ที่ใช้ AI ในองค์กรและภาคธุรกิจ ซึ่งธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นผู้ใช้มากที่สุด ส่วนแผนกที่มีการปรับใช้ AI มากที่สุดคือแผนก Product Development และ Service Operations
หมายถึง เทคโนโลยีประเภท 5G/6G เครือข่ายไร้สายที่ใช้พลังงานต่ำ Low-Earth-Orbit (Leo) และเทคโนโลยีอื่นๆเหล่านี้ได้ขับเคลื่อนการเติบโตและประสิทธิภาพในการทำงานของอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะนอกจากโปรโตคอลในการเชื่อมต่อและเครือข่ายเทคโนโลยีที่มากขึ้นแล้วยังช่วยเชื่อมต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ สุขภาพ หรือแม้กระทั้งสายงานการผลิตต่างๆ บนเครือข่ายการเชื่อมต่อแบบ Low-Earth-Orbit (Leo) หรือ เครือข่าย 5G
เทคโนโลยีผสานรวมองค์ความรู้ด้านชีวภาพและสารสนเทศเข้าด้วยกัน สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนดีขึ้นได้ ด้วยความก้าวหน้าทางชีววิทยา รวมกับนวัตกรรมในเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการในด้านต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ อาหารและการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค ความยั่งยืน และการผลิตพลังงานและวัสดุโดยการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
อนาคตพลังงานสะอาดเป็นแนวโน้มสู่การแก้ปัญหาด้านพลังงานที่ช่วยให้เกิดการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าหรือการผลิตจนถึงการจัดเก็บจนถึงการจำหน่าย นอกจากภาคพลังงานที่ได้รับผลโดยตรงจากเทคโนโลยีพลังงานสะอาดแล้ว โดยยกตัวอย่างอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลรองลงมา เช่น อุตสาหกรรมเหมืองที่ต้องผลิตโลหะสำหรับเทคโนโลยีนี้ทั้งลิเธียมและทองแดง
เทคโนโลยีเพื่อการเดินทาง ซึ่งเน้นประสิทธิภาพและความยั่งยืนของการเดินทางและการขนส่งสินค้า จะพัฒนาไปข้างหน้าด้วยเทคโนโลยีกลุ่ม ACES หรือ autonomous, connected, electric, and smart และจะยิ่งเร่งการพัฒนามากขึ้นไปอีก เนื่องจากปัจจัยที่ผลักดันด้านความยั่งยืน
คือการบริโภคอย่างยั่งยืนเน้นการใช้สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ใช้คาร์บอนต่ำ และวัสดุที่ยั่งยืน เทคโนโลยีนี้จะเปลี่ยนแปลงการบริโภคของอุตสาหกรรมและส่วนบุคคลเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงสภาวะโลกร้อนด้วยนั่นเอง การบริโภคอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งการบริโภคในระดับบุคคลและระดับอุตสาหกรรม
Web3 หรือ โมเดลอินเทอร์เน็ตในอนาคต เน้น Decentralized Model
อุตสาหกรรมที่ปรับใช้ Web3 ได้แก่ การเงิน โดยเฉพาะในวงการเกม ค้าปลีก Web3 นั้น ประกอบด้วยแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่ช่วยเปลี่ยนไปสู่ อนาคต อินเทอร์เน็ตแบบกระจายศูนย์ด้วยมาตรฐานแบบเปิดและโปรโตคอลในขณะที่ยังมีการปกป้องสิทธิ์การเป็นเจ้าของทางดิจิทัล ให้ผู้ใช้เป็นเจ้าของข้อมูลได้มากขึ้น และควบคุมวิธีการสร้างรายได้จากข้อมูลของพวกเขา และกระตุ้นธุรกิจใหม่ๆ
Industrializing machine learning (ML) เป็นกระบวนการที่นำ AI และ ML มาสู่การผลิต สำหรับการใช้งานทางธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริง โซลูชันอุตสาหกรรม ML ให้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อปรับขนาด ML เวิร์กโฟลว์และความสะดวกในการพัฒนาและปรับใช้ ML สำหรับองค์กร ML สามารถช่วยธุรกิจให้สามารถพัฒนาโครงการนำร่อง (Pilot Project) ให้เป็น Product ทางธุรกิจที่ทำได้จริง (Viable)
มีส่วนประกอบด้วยกัน 4 ส่วนคือ Spatial Computing, Mixed Reality (MR), Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) Immersive-reality technologies ใช้เทคโนโลยี Sensing และ Spatial computing ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เป็นงานออฟฟิศทั่วไปมีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น วงการสาธารณสุข การศึกษา การบิน ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์
เทคโนโลยีที่ช่วยกระจาย Workload ของคอมพิวเตอร์ผ่าน Remote data center และ local node เพราะเครือข่ายแห่งอนาคตประกอบด้วยศูนย์ข้อมูลคลาวด์แบบดั้งเดิมและทรัพยากรการคำนวณที่หลากหลายที่เครือข่าย node edge กับผู้ใช้ปลายทางเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของการประมวลผลแบบคลาวด์แบบดั้งเดิมในขณะที่ได้รับประโยชน์ที่ดีกว่าของข้อมูลและความเป็นอิสระของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
ความปลอดภัยของข้อมูลและตัวตนดิจิทัลของผู้ใช้งาน มาจากแนวคิด Zero-trust architecture (ZTA) ซึ่งเป็นรูปแบบของระบบ IT ที่ออกแบบให้ต้อง verify ตัวตนเสมอ นำมาสู่การควบคุมด้าน cybersecurity เช่น ในวงการสุขภาพ ข้อมูลที่ระบุตัวตนของผู้ป่วย จำเป็นต้องมีการควบคุมการใช้งานที่เหมาะสม
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และค่าใช้จ่ายที่ลดลงทำให้เทคโนโลยีอวกาศเป็นไปได้มากขึ้น เพราะสามารถออกแบบให้ดาวเทียมและจรวด มีขนาด น้ำหนัก พลังงาน และราคาลดลงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ คือ Telecom ที่จะได้ประโยชน์ เพราะดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้เครื่องบินเชื่อมต่อ broadband internet ได้ หรือช่วยเพิ่มอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล
เทคโนโลยีควอนตัมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคำนวณคอมพิวเตอร์ได้อย่างก้าวกระโดด หากจะอธิบายในรูปแบบที่ทำให้เข้าใจง่ายที่สุดนั้น Quantum Computing จะเป็นการกล่าวถึงเครื่องจักรที่ทรงพลังที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากการพึ่งพาทฤษฎีทางกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ในแบบที่พวกเขาสร้างขึ้น
เทคโนโลยีเพื่อ Next-Gen Software Development จะเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นได้ เนื่องจากเทคโนโลยีประเภท AI pair programmers, low-code and no-code platforms, และ automated testing เนื่องจากช่วยลดความซับซ้อนของงานซอฟต์แวร์ได้ ในอีกทางหนึ่งกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นวิศวกรและไม่ใช่วิศวกรก็สามารถทำงานร่วมกันได้เร็วขึ้น
และนี่เป็น 14 เทรนด์ ด้านเทคโนโลยีที่ที่สำคัญมากๆ ประกอบไปด้วย Silicon Age อย่าง Advanced Connectivity, Applied AI, Industrializing machine learning, Cloud and edge computing, Immersive reality technologies, Next-Generation Software Development, Quantum technologies, Trust architectures and digital identity, Web3
และ Engineering Tomorrow ประกอบไปด้วย Future of bioengineering, Future of clean energy, Future of mobility, Future of space technologies, Future of sustainable consumption
สำหรับในอนาคตที่กำลังจะมาถึง องค์กรต้องมีการเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่ง และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้ารวมถึงพนักงานด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด