เหมียวจด (MeowJot) แอปจดรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิป สรุป Data ไว ไม่ต้องบันทึกรายจ่ายเอง | Techsauce

เหมียวจด (MeowJot) แอปจดรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิป สรุป Data ไว ไม่ต้องบันทึกรายจ่ายเอง

เห็นคนในแวดวงเทคโนโลยีเริ่มแชร์ ‘เหมียวจด (MeowJot)’ แอปพลิเคชันใหม่ที่ใช้แมวเหมียวเป็นสัญลักษณ์แทน ‘นักจดรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิปโอนจ่าย’ ยิ่งเป็นทาสแมวและชอบลองอะไรใหม่ๆ ด้วยแล้ว แม้ว่าบริการยังไม่ได้รับการพัฒนาเต็มขั้น (Full support) แต่การได้ทดลองแอปใช้ก่อนในฐานะ Early Adopter ก็น่าสนุกไปอีกแบบ

ฟีเจอร์ของ ‘เหมียวจด’ และความสามารถ ณ ปัจจุบัน

หลังจากติดตั้งและใช้งานแอป เหมียวจด เพียงกดเปิดแอป ตัวแอปก็สแกนสลิปการโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking อัตโนมัติ เช่น สลิปจากแอป K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยที่โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารอื่น โดยเหมียวจดจะอ่านแต่ ‘สลิปในโฟลเดอร์ของแอปธนาคาร’ เท่านั้น ไม่ข้ามไปดูโฟลเดอร์อื่นๆ ใน Photos และจะเก็บเฉพาะข้อมูลเบื้องต้น เช่น ยอดเงิน เวลาที่โอน ชื่อร้านค้า และจะจัดหมวดหมู่รายการใช้จ่ายให้อัตโนมัติ หากเป็นร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าทั่วไป รวมกว่า 4,000 ร้านที่เหมียวจดมีข้อมูลแล้ว 

เหมียวจด

ความฉลาดหลักๆ ของเหมียวจดจึงอยู่ที่การจด ‘รายจ่าย’ หรือ ‘รายการโอนออก’ ผ่านสลิปในมือถือ แล้วแยกหมวดหมู่ สรุปการใช้จ่ายได้อัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานรู้ว่า ในแต่ละวัน แต่ละเดือน มีการใช้จ่ายด้านใดมากที่สุด และนำไปวางแผนบริหารการใช้จ่ายให้ดีขึ้นได้ นอกจากนั้น ‘เหมียวจด’ ยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาทำบันทึกรายจ่ายลงสมุดในแบบ Physical หรือพิมพ์เก็บทุกรายละเอียดของการโอนเงินลงแอปแบบ Digital 

สำหรับการรับเงินโอนและการใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำรายการผ่าน Mobile Banking เช่น การรูดซื้อสินค้าด้วยบัตรเดบิตหรือเครดิต การชำระเงินสด ผู้ใช้งานสามารถใส่ข้อมูลแบบ Manual ได้โดยเลือกฟีเจอร์ ‘จดเพิ่ม’ แล้วกรอกจำนวนเงินที่ใช้จ่าย (ลูกศรชี้ออก) หรือจำนวนเงินที่ได้รับ (ลูกศรชี้เข้า) เลือกหมวดหมู่ อาทิ อาหาร, เดินทาง-รถ, ของใช้จำเป็น, ช้อปปิ้ง, บันเทิง, สุขภาพ,  สัตว์เลี้ยง, ให้คนอื่น, ออมเงิน หรือหากอยากใส่รายละเอียดเพิ่มก็สามารถ ‘เพิ่มโน้ต’ เข้าไปได้อีกทาง 

นอกจากนี้ เหมียวจดยังมีฟีเจอร์ ‘ย้ายเงิน’ (ลูกศรชี้ซ้ายขวา) สำหรับผู้ที่โอนเงินเข้าบัญชีตัวเอง โดยจะไม่นับรวมเป็นรายจ่าย/รายรับแต่อย่างใด และทุกครั้งที่เปิดใช้งานแอป ตัวแอปก็จะสรุปให้ด้วยว่า ณ วันนั้นเหมียวจดให้กี่รายการ มียอดใช้จ่ายกี่บาท และข้อมูลทุกการใช้จ่ายที่อยู่ในเหมียวจด ยังมีสรุปตัวเลขและชี้แจงอัตราส่วนการใช้จ่ายให้เข้าใจง่ายอีกด้วย

ไอเดีย ‘เหมียวจด’ แปลงสลิปรายจ่ายเป็น Data สะท้อนการใช้จ่ายจริง

อยากให้เปิดแอป Photos ย้อนดูภาพในสมาร์ทโฟนของตัวเองกันหน่อย เห็นสลิปธนาคารอยู่ในเครื่องเยอะไหม มีสลิปปีก่อนๆ อยู่ด้วยหรือเปล่า?

ประเด็นนี้เองที่ทีมงานจาก KBTG หรือ กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป บริษัทเทคโนโลยีที่ Spin-off มาจากธนาคารกสิกรไทย เล็งเห็นว่า เก็บสลิปไว้ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถ้าอย่างนั้น เอาสลิปโอนเงินไปใช้จดรายจ่ายดีไหม? นำมาสู่การพัฒนา ‘เหมียวจด’ เพื่อให้เหมียวช่วยจดรายจ่ายของมนุษย์อย่างจริงจัง

ช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาแอปเหมียวจด คือ ไตรมาส 2 ของปี 2023 โดยผู้พัฒนาแอปก็คือ ทีมนักพัฒนานวัตกรรมจาก KBTG Labs และทีมนักออกแบบจาก Beacon Interface ซึ่งล้วนเป็นทีมงานรุ่นใหม่ภายใต้ธนาคารกสิกรไทยนั่นเอง 

ทั้งสองทีมร่วมกันค้นคว้า ออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชัน ‘เหมียวจด’ โดยในช่วงแรก ทำให้อ่านสลิปจากแอปของธนาคารกสิกรไทยได้ก่อน นั่นคือ K PLUS, MAKE by KBank ต่อมาพัฒนาให้เหมียวจดสามารถอ่านสลิปโอนเงินในโฟลเดอร์ธนาคารอื่นๆ และเปิดให้ผู้สนใจทดลองใช้งานในขณะที่เหมียวจดสามารถอ่านสลิปได้จาก 12 แอป รวม 9 ธนาคาร ดังนี้ 

  1. K PLUS
  2. MAKE by KBank
  3. Krungthai Next
  4. Bualuang mBanking
  5. CIMB Thai Digital Banking
  6. UOB TMRW Thailand
  7. SCB Easy
  8. TTB Touch
  9. KMA
  10. Kept
  11. Dime!
  12. KKP Mobile 

โดยแอปตัวที่ 1-6 เหมียวจดสามารถอ่านสลิปย้อนหลังได้ 30 วัน ส่วนแอปที่ 7-12 สามารถอ่านสลิปย้อนหลังได้ 7 วัน และไม่สามารถอ่านสลิปที่เก่ากว่านี้ได้

แรงบันดาลใจในการพัฒนาแอปชื่อ ‘เหมียวจด’ มาจาก ‘กระปุกออมสินแมวตะปบเหรียญ’ ที่จะมีน้องแมวโผล่มาหยิบเหรียญไปเก็บหรือเล่น คล้ายๆ กับเหมียวจดที่หยิบสลิปไปจดรายจ่ายให้ โดยแมวที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ คือ ‘วิเชียรมาศ’ แมวมงคลของไทยที่เชื่อกันว่า เลี้ยงแล้วจะได้ลาภก้อนโต ส่วนสไตล์ภาพที่เป็น Origami สื่อถึง ‘กระดาษ’ ที่ผู้คนใช้จดบันทึกมาเนิ่นนาน

และจากที่พัฒนาเหมียวจดให้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนระบบ iOS ของ Apple ได้ ก็ขยายสู่การใช้งานบนสมาร์ทโฟนระบบ Android เวอร์ชัน 11 ขึ้นไป เช่นแบรนด์ Samsung, Xiaomi, Oppo, Vivo รวมถึง Huawei บางรุ่น ซึ่งถ้านับตั้งแต่เปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งาน มีผู้ใช้งานเหมียวจดแล้วกว่า 28,000 ราย 

ความสามารถและอนาคตของ ‘เหมียวนักจดรายจ่าย’

อย่างไรก็ตาม เหมียวนักจดฝีมือคนไทยยังเปิดรับฟีดแบ็กหรือคอมเมนต์เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการของแอปหลังจากนี้จึงน่าติดตามอย่างยิ่ง เพราะรายรับ - รายจ่าย ของพลเมืองดิจิทัลยุคนี้ ไม่ได้มาจากช่องทางใดเพียงช่องทางเดียว โดย KBTG Labs เปิดเผยข้อมูลส่วนหนึ่งว่า มีอีกหลายฟีเจอร์ที่ ‘เหมียวจด’ กำลังพัฒนา เพื่อช่วยผู้ใช้งานรวบรวมข้อมูลการใช้จ่ายได้สะดวก เห็นง่ายในแอปเดียว ไม่ว่าจะเป็น

เหมียวจด

  • ความสามารถในการอ่านสลิปจากสถาบันทางการเงินอื่นๆ เพิ่ม

  • ความสามารถในการแยกประเภทการจับจ่ายใช้สอยได้ละเอียดและอัตโนมัติยิ่งขึ้น จากจำนวนร้านค้าที่จะเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้น

  • ความสามารถในการจดสลิปประเภทอื่นๆ ที่ไม่มี QR code ในสลิป รวมถึงกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่าง TrueMoney, LINE BK 

  • ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและเครดิตได้ ทำให้การบันทึกรายจ่ายทำได้ครบวงจรยิ่งขึ้น

  • ความสามารถในการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ กับค่าบริการที่เป็นแพ็กเกจแบบ Subscription ผู้ใช้งานสามารถจ่ายตามการใช้งานจริง และจะเพิ่มฟีเจอร์หรือยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้

แน่นอนว่า การผสานรวมช่องทางเก็บข้อมูลด้านการใช้จ่ายในลักษณะนี้ ทางธนาคารต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลัก PDPA และรักษาข้อมูลของผู้ใช้งานให้มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ ‘เหมียวจด’ ช่วยบันทึกรายรับ - รายจ่ายได้สะดวกในอนาคต และตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น และเมื่อเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆ กสิกรไทยก็มีโอกาสเพิ่ม Value เพิ่มรายได้ และน่าจะดึงดูดให้ผู้ใช้งานเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศเทคโนโลยีของกสิกรไทยได้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้  https://meowjot.onelink.me/A393/install
#เหมียวจด #Meowjot #แอปบันทึกรายจ่ายอัตโนมัติ #financialapp #KBTG #KBTGLabs #innovation

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...