ส่องเทรนด์ MilitaryTech เทคโนโลยีทางทหารสำหรับโลกอนาคต | Techsauce

ส่องเทรนด์ MilitaryTech เทคโนโลยีทางทหารสำหรับโลกอนาคต

หน่วยงานกลาโหม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลเรื่องความมั่นคงให้กับประเทศ โดยทุกประเทศทั่วโลกจะต้องมีหน่วยงานดังกล่าว แต่หนึ่งในหน่วยงานที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากก็คือ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งแน่นอนว่า Pentagon มีงบประมาณด้านการทหารจำนวนมหาศาลอย่างไม่ต้องสงสัย โดยงบประมาณด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ในปี 2019 มีมูลค่าเกือบ 700,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยการระดมทุนจำนวนนั้น ทำให้มีอิสระในการใช้ไอเดียอย่างสร้างสรรค์

สำหรับการวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก จากการเน้นการลงทุนในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี หรือการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหาร ( MilitaryTech ) เพื่อการรักษาดินแดน ปกป้องความมั่นคงของประเทศในโลกอนาคตที่มนุษย์และหุ่นยนต์จะเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกันและกันได้ ในบทความนี้มาดูกันว่านวัตกรรมเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐอเมริกานั้นมีอะไรบ้าง 

Quantum Stealth ผ้าคลุมล่องหน

HyperStealth Biotechnology บริษัทผลิตชุดลายพรางทหารในแคนาดา ได้พัฒนาผ้าคลุมล่องหนขึ้นด้วยหลักการหักเหของคลื่นแสงเพื่อการอำพรางตัว โดยจะลบทั้งภาพที่ปรากฎและความร้อนออกจากผู้สวมใส่ หรือกระทั่งการใช้คลุมรถหุ้มเกราะด้วยก็ตาม สำหรับ Quantum Stealth เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานในการใช้งาน เป็นเพียงแค่แผ่นกระดาษบาง ๆ ราคาไม่แพง 

MilitaryTechภาพจาก thebossmagazine.com

ROBOpilot หุ่นยนต์นักบิน

จากความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (the Air Force Research Laboratory) และ DZYNE Technologies Inc. ซึ่งเป็นบริษัทด้านพาหนะทางอวกาศ ได้ดัดแปลงเครื่องบิน Cessna  ให้เป็น อากาศยานไร้คนขับเฉพาะกิจ (ad hoc unmanned aerial vehicle) โดยใช้วิธีติดตั้งชุดเครื่องมือบังคับแทนที่ที่นั่งนักบิน ซึ่งใช้เวลาอันรวดเร็วในการติดตั้ง และอากาศยานจะบินปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง จากนั้นจึงส่งกลับไปยังโครงร่างที่มีคนขับตามเดิม

Robotic warships เรือรบหุ่นยนต์

กองทัพเรือสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาเรือไร้คนขับที่สามารถสื่อสารกับเรือลำอื่น ๆ ในน่านน้ำที่มีผู้คนพลุกพล่านได้ โดยเมื่อการพัฒนาดังกล่าวนั้นมีความสมบูรณ์แล้วเรือรบจะมีความสามารถในการรับส่งสัญญาณวิทยุ VHF ( Very High Frequency) ย่านความถี่สูง 30-300 MHz. และเข้าใจภาษาต่างประเทศเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้กองทัพเรือต้องการที่จะสร้างเรือรบหุ่นยนต์ 10 ลำในทศวรรษหน้า แม้ว่าขณะนี้เรือไร้คนขับจะไม่ได้รับอนุญาตให้ติดอาวุธก็ตาม

MilitaryTechภาพจาก thebossmagazine.com

Cyborg soldiers ทหารจักรกล

กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯมองว่านวัตกรรมทางทหารจะก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยในขณะนี้ หุ่นยนต์ Battlefield ของสหรัฐฯมีความพร้อมที่จะใช้งานแล้ว  และภายในปี 2050 ทหารของกองทัพสหรัฐฯจะมีอุปกรณ์อย่าง คอนแทคเลนส์ ที่ทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดี โดยจะช่วยปรับปรุงดวงตาต่อการมองเห็นและการรับรู้สถานการณ์ รวมถึงมีหูฟังตัดเสียงรบกวนสามารถให้การป้องกันหูได้  สำหรับอุปกรณ์ที่จะมาช่วยทหารนั้นได้มีการพัฒนาด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบประสาทโดยตรงของสมองมนุษย์สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลแบบสองทาง เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างการใช้เครื่องมือ

MilitaryTechภาพจาก popularmechanics.com

Hypersonic weapons ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก

นาโนเทคโนโลยีทำให้เกิดนวัตกรรมทางทหารมากมาย รวมถึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาขีปนาวุธที่สามารถเดินทางได้เร็วกว่ามัก 5 (Mach 5) หรือขีปนาวุธที่เดินทางด้วยความเร็วเหนือกว่าความเร็วเสียงเกิน 5 เท่าขึ้นไป โดยมีการพัฒนาในส่วนของการหุ้มฉนวนที่ทำด้วยท่อนาโนคาร์บอนขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงาน และมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงถึงเกือบ 20,000 องศาฟาเรนไฮต์ และท่อนาโนยังสามารถทำให้ขีปนาวุธเคลื่อนที่เร็วกว่าความเร็วเสียงถึง 24 เท่าด้วย 

Black Hornet Nano เครื่องบินไร้คนขับขนาดเล็ก

เครื่องบินไร้คนขับขนาดเล็ก หรือโดรนขนาดเล็ก ที่ใช้สำหรับการเฝ้าระวังและตรวจสอบอันตรายในพื้นที่ โดยสามารถบินได้ไกลกว่า 1 ไมล์และยาวนานถึง 25 นาที พร้อมทั้งมีการสร้าง Prox Dynamics มาพร้อมกับกล้องสามตัวเพื่อให้ทหารสามารถมองเห็นมุมสูงในขณะที่พวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย  และมีการแสดงผลแบบเรียลไทม์ สำหรับโดรนดังกล่าวนั้นมีความยาวเพียงแค่ 6 นิ้ว  และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณมากกว่า 1 ออนซ์เล็กน้อย

MilitaryTechภาพจาก BSS Holland

Laser-guided rockets จรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 ที่ผ่านมา  F-16 Fighting Falcon ได้ยิงโดรนในการทดสอบ AGR-20A Advanced Precision Kill Weapon System ระบบอาวุธฆ่าความแม่นยำขั้นสูงที่พัฒนาสำเร็จ โดยใช้เวลาเพียงนัดเดียวของการยิงจรวดนำทาง ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะกลางขั้นสูงรุ่นก่อนหน้านี้และ F-16 สามารถบรรทุกจรวดได้มากกว่าเดิม 2 ถึง 3 เท่า

Drone-destroying drones โดรนทำลายโดรน

โดรนทำลายโดรน เป็นเทคโนโลยีทางทหารที่พัฒนาขึ้นโดย Anduril Industries โดยอาวุธดังกล่าวนั้น จะสามรถค้นหาโดรนเป้าหมายตัวอื่น และพุ่งเข้าใส่พวกมันด้วยความเร็วสูงถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง หากไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก มันก็จะติดตามโดรนของศัตรูจนกว่าจะทำงานเสร็จ สำหรับ Anduril Industries เป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านทหารโดยเฉพาะ และมี Palmer Luckey ซึ่งเคยเป็นผู้ก่อตั้ง Oculus  ที่ได้ขายให้กับ Facebook ไป เป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย  

นวัตกรรมเทคโนโลยี โอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

บทวิเคราะห์จาก Deloitte ได้ระบุว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศและการป้องกันในปี 2020   ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการบินและอวกาศ ที่ปริมาณผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศลดลงอย่างทีนัยสำคัญ 

ในขณะที่ภาคของการป้องกันยังคงทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2019 เนื่องจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลทั่วโลกต้องเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมในการปรับปรุงและเพิ่มกำลังทหารให้ทันสมัย คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 3 ถึง 4 % ในปี 2563 ซึ่งจะสูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ 

พร้อมกันนี้ความต้องการยุทโธปกรณ์ทางทหารก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จากการที่รัฐบาลทั่วโลกให้ความสำคัญกับความทันสมัยทางทหาร ท่ามกลางความกังวลด้านความมั่นคง ความไม่แน่นอนและความซับซ้อนอย่างต่อเนื่องในด้านการรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายด้านกลาโหมในช่วง 5 ปีข้างหน้า คาดว่าการใช้จ่ายด้านการป้องกันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นที่ CAGR (Compound Annual Growth Rate ) ประมาณ 3 % ในช่วงปี 2562-2566 หรือจะอยู่ที่ประมาณ 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2566

ในแง่ของโอกาสทางธุรกิจ จากการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันทั่วโลกจะสร้างโอกาสให้กับผู้รับเหมาด้านการป้องกันและ supply chain เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มผลผลิต ดังนั้น  Deloitte  มองว่าบริษัทด้านการป้องกันควรใช้ประโยชน์จากการผลิตที่คล่องตัวสูง ทำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเช่น Smart Manufacturing ที่นำระบบอัจฉริยะมาใช้ในภาคการผลิตที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้สูงถึง 10-12%  โดยที่ไม่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก เพื่อผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น


แหล่งข้อมูล Boss , Deloitte

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...