'Myanmar Startup Ecosystem' ดินแดน Startup หน้าใหม่ที่น่าจับตา กับโอกาสของคนที่ต้องการเพิ่มตลาดในพม่าต้องรู้

'Myanmar Startup Ecosystem' ดินแดน Startup หน้าใหม่ที่น่าจับตา กับโอกาสการขยายตลาดในพม่าที่ต้องรู้

ภาพรวมของ Startup ในพม่ามีการเติบโตอีกทั้งตลาดได้มีการเปิดกว้างมากขึ้นหลังจากเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดนั้นยังคงเล็กอยู่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน  ไม่นานมานี้ Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Rita Nguyen ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Jzoo ผู้ให้บริการด้าน Digital Consumer โดยใช้กลยุทธ์ Loyalty Program เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ค้าและผู้บริโภค ซึ่งเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ค้าปลีกทำการปรับสู่ระบบดิจิตัลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ด้านเทคโนโลยีมาก่อน ซึ่ง Rita ถืออีกเป็นบุคคลสำคัญที่เข้าใจตลาดในพม่าเป็นอย่างดี ใครที่กำลังมองพม่าเป็นอีกหนึ่งตลาดในการทำธุรกิจในอนาคต มาดูกันว่ามีอะไรที่ควรรู้บ้าง

Customer Insight พฤติกรรมผู้บริโภคที่ควรรู้

  • Facebook ถือเป็น Platform ที่คนพม่าใช้ในการบริโภคคอนเทนต์เป็นหลัก อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งหาข้อมูลแทนบราวเซอร์อินเตอร์เน็ตอื่นๆ
  • แอปพลิเคชันที่เป็นที่นิยมได้แก่ Viber ใช้ในการส่งข้อความ และ Grab ใช้ในการเรียกรถและการเดินทาง
  • ตลาดอีคอมเมิร์ชยังคงเล็กอยู่ เนื่องจากคนส่วนใหญ่นิยมใช้ Facebook ในการบริโภคคอนเทนต์มากกว่าจะดาวน์โหลดแอพพลิชันอื่นๆ เนื่องจากยังอยู่ในช่วง Early stage ของตลาดอีคอมเมิร์ช อีกทั้งคนพม่าได้ใช้ Facebook ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นหลัก เว็บขายสินค้ายังคงมีไม่มากนัก ซึ่งผู้ที่ให้บริการในขณะนี้ได้แก่ Barlolo และ Shop.com.mm

VC, CVC และ Angel Investor

  • Seed Myanmar ได้ทำการลงทุนในหลากหลายธุรกิจอีกทั้งเป็นผู้ที่มีความ active ที่สุด
  • Phandeeyar ได้ทำการลงทุน Startup เช่นกัน เป็นการให้เงินสนับสนุน 25,000 ดอลลาห์สหรัฐในโครงการ Accelerator
  • BOD Tech เน้นการลงทุนไม่เพียงเฉพาะธุรกิจในด้าน Software development เท่านั้น ยังรวมไปถึงด้าน People development, Social development และ Nation development อีกด้วย
  • Delta Capital Myanmar ทำการลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี, การสื่อสาร, การเงินการธนาคาร, สุขภาพ ไปจนถึงการบริการและการท่องเที่ยว
  • Emerging Markets Entrepreneurs (EME) เป็น VC ที่ทำการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย โดยให้เงินสนับนุนตั้งแต่ 25,000 – 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • MYEA Angel Network  ของ Myanmar Young Entrepreneur’s Association (MYEA) ทำการลงทุนใน local startups จากสมาชิกกว่า 1,000 ราย โดยในอนาคตได้มีการวางแผนทำ Incubation center และ Co-working space เป็นของตัวเอง

Incubator และ Accelerator

  • Impact Hub  เป็น Innovation Lab หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ และคอมมูนิตี้สำหรับกิจการเพื่อสังคม
  • Lithan Tech UP เป็นโครงการ Acccelerator ที่จะช่วยผู้ประกอบการหน้าใหม่ในการเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น แม้ว่าจะยังไม่มีไอเดียในการทำสตาร์ทอัพก็ตาม
  • Myanmar ICT Development Corporation ถือเป็นอีกผู้เล่นสำคัญในด้าน ICT Development ในพม่า เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชน
  • Phandeeyar Accelerator เป็นโครงการ Accelerator โดยตลอดระยะเวลา 6 เดือนของโครงการเหล่าสตาร์ทอัพจะได้รับการเทรนจากเหล่าเมนเทอร์ และฝึกทำการ pitch กับนักลงทุน
  • Rockstart Impact อีกหนึ่งโครงการ Accelerator ที่มีมุ่งเน้นไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีความต้องการในการลดช่องว่างระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน
  • Spring Accelerator มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เด็กผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียใต้และในแถบแอฟริกาตะวันออก
  • UMG Idealab Incubator อีกหนึ่ง Startup Incubator โปรแกรมที่จะช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

Co-working Spaces ที่น่าจับตามอง

Impact Hub  เครือข่ายที่มุ่งสร้างคอมมูนิตี้สำหรับผู้ประกอบการ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเป็นหน่วยงานหลักของเครือข่ายฮับทั่วโลก

Phandeeyar ศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของพม่า ที่นอกจากจะมีโปรแกรม Accelators แล้วมีการจัดเทรนนิง, เวิร์คช็อป และการแข่งขันสำหรับเหล่า Startup ให้ได้เข้ามาประลองฝีมือกันอยู่เรื่อยๆ

สื่อด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ

ด้านสื่อในพม่า ยังไม่มีสำนักข่าวไหนที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีและด้าน Startup โดยเฉพาะ โดยผู้ที่ต้องการอัพเดทข่าวสารในตลาดพม่าสามารถติดตามได้จาก Dealstreet AsiaDuwun, และ Momolay

นอกจากนี้ Tech Conference ที่เปิดโอกาสให้เหล่า Startup ได้มาแข่งขันยังคงมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามได้มีการตั้งเป้าให้เหล่า Startup ได้ scale และเชื่อมโยง Community ของพม่าสู่ระดับโลก โดยจะเห็นได้จากโครงการ Accelerators ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

ความท้าทาย

โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเติบโตของ Startup ถือว่าพัฒนาขึ้นมาก เนื่องจากมีการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษายังคงเป็นอุปสรรคเนื่องจากขาดแคลนสถาบันหรือองค์กรที่สอนทักษะเกี่ยวกับ Tech ยังมีความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้าน Developer และดีไซน์ เช่น UX และ UI

เรื่องเงินระดมทุนนั้นไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่กลับเป็นเรื่องของการที่หา Startup ที่จะลงทุนต่างหาก เนื่องจากไม่ใช่แค่จะให้เงินทุนเท่านั้น แต่ต้องให้การสนับสนุนในภายหลังอย่างต่อเนื่องด้วย หากมองในเรื่องเงินทุน พม่ายังคงขาด Angel Investors ที่ให้การสนับสนุนระดับ Seed อีกทั้งเมนเทอร์ที่จะเป็นแกนสำคัญในการช่วยให้ Startup ประสบความสำเร็จ ในตอนนี้การที่ Startup จะ scale ออกนอกประเทศได้นั้น หลายผู้ประกอบการยังคงต้องมองหาเงินทุนนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในอนาคตอันใกล้ แน่นอนว่า Startup ในพม่ามีแนวโน้มที่สดใส อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ยังคงต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนในเรื่องของการศึกษา ความรู้ และเงินทุนจากภาคส่วนต่างๆ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Startup Business Canvas, YGN Startup Ecosystem ผู้ทำการรวบรวมข้อมูลนำโดย Building Markets Myanmar และ Global Entreprenuership Network ด้วยความสนับสนุนจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในพม่าหรือ U.S. Agency for International Developement to Burma (USAID Burma)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...