ทำความรู้จัก NB-IoT เครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT แล้วมีประโยชน์อย่างไรในเชิงธุรกิจและ Startup เมื่อทั้ง AIS และ True เปิดตัวแล้ว | Techsauce

ทำความรู้จัก NB-IoT เครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT แล้วมีประโยชน์อย่างไรในเชิงธุรกิจและ Startup เมื่อทั้ง AIS และ True เปิดตัวแล้ว

ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความเรื่องเกาหลีใต้เปิดตัวเครือข่าย IoT ครอบคลุมทั่วประเทศที่แรกของโลก ด้วยเทคโนโลยี LoRaWAN ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา และได้รับความสนใจอย่างมาก หลายคนก็ถามว่า เอ๋ะ! เมื่อไหร่บ้านเราจะมีกับเขาบ้าง ล่าสุดทางค่าย AIS ก็เปิดตัวเครือข่าย IoT ออกมาเป็นที่เรียบร้อย แต่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน นั่นคือ Narrow Band Internet of Things หรือ NB-IoT นั่นเอง

NB_IoT_Cover

ทำไมเรายังต้องการใช้เครือข่าย IoT ต่างหาก?

เราคุ้นชินกับเครือข่ายเดต้ากันมานานอยู่แล้ว แต่โครงสร้างดังกล่าวเหมาะสำหรับการใช้งานของบุคคลทั่วไป แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ Internet of Things (IoT) เสียทีเดียว โดยก่อนหน้านี้มีโครงข่ายเทคโนโลยีหลายแบบที่อุปกรณ์กลุ่ม IoT ทำงานอยู่บนนั้น อาทิ

  • Mobile Data ที่เราคุ้นเคยกันอยู่นี่แหล่ะ แม้จะรองรับการเชื่อมต่อระยะไกลได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง
  • WiFi, Bluetooth หล่ะ? ก็มีข้อจำกัดด้านระยะทาง

แถมทั้ง 3 เทคโนโลยีข้างต้นยังกินพลังงานสูงในการขับเคลื่อนอุปกรณ์อีกต่างๆ หาก ลองนึกภาพว่าพวกอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ต้องอยู่ที่ไกลๆ ถ้าใช้พลังงานเยอะก็ทำให้แบตเตอรี่หมดแล้ว การไปเปลี่ยนแบตฯ ก็ต้องเสียเวลาและเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่นั่นคือ Narrow Band Internet of Things (NB-IoT) 3gpp-cellular-iot_sized

 

ภาพจาก Qualcomm

Narrow Band Internet of Thing (NB-IoT) คืออะไร?

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือของบ้านเราทุกวันนี้ มีองค์กรที่กำหนดมาตรฐานอย่าง 3rd Generation Partnership Project (3GPP) โดย NB-IoT  ถือเป็นหนึ่งใน Release ที่ 13 ของ 3GPP (LTE-Advanced Pro) และพึ่งประกาศออกมาในเดือนมิถุนายน ปี 2016 ที่ผ่านมานี้เอง ถือเป็นเทคโนโลยีแบบ Low Power Wide Area Network (LPWAN) ให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการรับส่งข้อมูลแบบใช้พลังงานต่ำ

คุณลักษณะหลักๆ คือแก้ปัญหาที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้าทั้งหมดเลย อย่างกรณีของ AIS ที่พึ่งเปิดตัวไปคือ

  1. ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ ส่งข้อมูล uplink ในขนาดที่เหมาะสม จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
  2. รองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
  3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้

แล้วต่างกับ LoRaWAN ที่มีข่าวออกมาก่อนหน้าที่เกาหลีอย่างไร

เมื่อกลางปีก่อนที่เกาหลีประกาศเปิดตัวเป็นประเทศแรกของโลกที่มีเครือข่ายสำหรับ IoT  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ SK Telecom ใช้นั้นมีความแตกต่างกันอยู่พอควร โดย LoRaWAN เป็น unlicensed spectrum ตัว LoRa เป็นระบบของบริษัทที่ชื่อ Semtech ผู้ให้บริการ LoRaWAN ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออย่างที่เห็นก็สามารถให้บริการได้  แต่สำหรับ NB-IoT จะเป็นเทคโนโลยีที่ Follow ตามมาตรฐานของวิวัฒนาการเทคโนโลยีของโครงข่ายโทรศัพท์มือถือโดยตรง ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ในเชิงเทคนิคจะทำได้ดีกว่าทั้งในเชิงการออกแบบเพื่อรองรับการทำงานระยะยาวและใช้งานได้กับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ LTE เดิม ดูแล้วเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทยที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ในขณะที่ฟากของเกาหลีอย่าง SK ในช่วงเวลานั้นน่าจะเป็นช่วงที่เร่งเปิดให้ใช้บริการก่อนมาตรฐาน 3GPP จะเรียบร้อย เลยเปิดตัว LoRaWAN ก่อนร่วมกับ Samsung ซึ่งขณะเดียวกัน SK Telecom ก็ทดสอบ NB-IoT อยู่กับ Nokia ด้วย  ปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายประเทศเปิดตัวโครงข่ายตัวนี้แล้วอย่าง Vodafone และ Verizon

จริงๆ ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำมาใช้อุปกรณ์ IoT ด้วยแนวคิดเดียวกันคือการแก้ปัญหาเรื่องพลังงาน และรัศมีครอบคลุมที่กว้าง โดยในอนาคตอันใกล้เมื่อถึงยุค 5G ความสามารถก็จะดีขึ้นกว่านี้อีก

LPWA-connectivity-2

ภาพจาก : IoTblog.org

ว่าแต่ภาคธุรกิจทำอะไรกับมันได้บ้าง?

ถ้าใครทำงานฟาก Telecom ก็จะคุ้นกับคำว่า Machine-to-Machine ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันมากว่า 10 ปีแล้ว เอาอุปกรณ์ต่างๆ ส่งข้อมูลถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นงานกลุ่ม มิเตอร์ต่างๆ ตามโรงงาน เช่น ไฟฟ้า และน้ำ รวมถึงเซนเซอร์ต่างๆ ที่คอยมอนิเตอร์แจ้งเตือน จนมาสู่ยุคของ Internet of Thing (IoT) ที่อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารถึงกันผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ฟังดูแล้วก็เป็นโซลูชั่นที่มีมานาน แต่อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ แอปพลิเคชั่นถูกพัฒนาขึ้นมาก็จริง แต่โครงข่ายที่มีอยู่เดิมไ่ม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้เมื่อแบตเตอรี่อุปกรณ์หมด ก็ต้องไปคอยเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ เสียค่าดูแล บำรุงรักษาไม่ใช่น้อย รวมถึงการส่งข้อมูล Uplink เพื่อรายงานผลจากอุปกรณ์หลายๆ ตัวก็ยังไม่มีประสิทธิภาพนัก แต่เมื่อ Infrastructure พร้อมทีนี้หล่ะ ภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งโรงงานอุตสกรรม, ธุรกิจค้าปลีก, โรงพยาบาล หรือผู้พัฒนาโซลูชั่นกลุ่ม Home Monitoring, Smart City จะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วน Operation Cost ได้มาก ในขณะที่อุปกรณ์ก็จะมีต้นทุนที่ถูกลง สามารถนำมาติดตั้งหลายๆ ตัวได้ อย่างไรก็ตามค่าบริการในส่วนของการใช้งานเดต้าต้องติดตามกันต่อจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยตรง

โอกาสสำหรับ Startup ไทยยังมีไหม?

ถือเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มผู้พัฒนาโซลูชั่นและ Startup ที่จับตลาดด้านนี้ โดยปัจจุบันทาง AIS ได้ประกาศเปิดตัวให้บริการดังกล่าว ในขณะที่ True ก็ไม่น้อยหน้าจับมือกับ Huawei เปิด True Huawei IoT OpenLab ตามกันมาติดๆ แห่งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเน้นการวิจัยพัฒนาโซลูชั่นด้าน IoT โดยตรง สุดท้ายเราก็หวังว่าผู้ให้บริการจะเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาโซลูชั่นรายย่อยที่มีศักยภาพของไทยได้ลืมปาอ้าปากสามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อยอด เปิดเป็น Partnership โปรแกรมบ้าง ไม่ได้เป็นของพี่จีนหรือต่างชาติเพียงอย่างเดียว

NB_IoT_Use_case

ภาพจาก Qualcomm

ข้อมูลเพิ่มเติม

3GPP link-labs Qualcomm

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...