[Exclusive] Digital Transformation ที่ NASA: เราใช้ไอทีศึกษาดาวเคราะห์แม่อย่างไร? | Techsauce

[Exclusive] Digital Transformation ที่ NASA: เราใช้ไอทีศึกษาดาวเคราะห์แม่อย่างไร?

วันนี้เราไม่ได้จะมาเล่าเรื่องไอทีในองค์กรเล็กๆ แต่เราจะมาเล่าเรื่องใหญ่อย่างการศึกษาดาวเคราะห์ และการใช้ไอทีในองค์กรอย่าง "NASA"

บทความนี้สรุปจากการเข้าฟังบรรยาย Keynote โดยคุณ Tom Soderstrom ซึ่งเป็น CTO ของ NASA ในส่วนของ Jet Propulsion Laboratory หรือก็คือแล็บเกี่ยวกับการส่งเจ็ตไปนอกโลก รวมถึงสอดแทรกเนื้อหาจากการหาข้อมูลเพิ่มเติม

tom-soderstrom-cto-jpl-nasa

How can we help mother earth? เราจะช่วยดาวเคราะห์แม่ของเราได้อย่างไร? เป็นคำถามที่คุณทอมหยิบยกขึ้นมา สิ่งที่เขาแชร์หลักๆ แล้วสรุปได้ดังนี้

ลงทุนกับ Data มากขึ้น

ประเด็นหลักๆ ที่คุณทอมแชร์คือ เรื่อง Cloud computing โดยเฉพาะการเก็บ Data และการนำ Data มาใช้

"เราช่วยโลกด้วยการเก็บข้อมูล และศึกษาข้อมูลใหม่ๆ มากขึ้น" แล้วก็ได้ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่ NASA มีการเก็บข้อมูลมากมายมหาศาล เช่น

  • ข้อมูลสำหรับ SMAP (Soil Moisture Active Passive วิจัยความชุ่มชื้นของดิน)
  • ข้อมูลสำหรับ OCO-2 (Orbiting Carbon Observatory-2 การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ระหว่างโลกกับอวกาศ)

data-in-nasa2

  • และล่าสุดก็คือ SWOT (Surface water and ocean topography การศึกษาวิจัยมหาสมุทร) และ NISAR (การศึกษาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ) ซึ่งนับเป็นงานวิจัยที่ต้องอาศัยการลงทุนสูงมาก โดยเขาเผยว่ามันจะต้องเก็บข้อมูลมากขึ้นอีกเป็นร้อยเท่าเมื่อเทียบกับโปรเจกต์อื่นๆ โดยตัว SWOT & NISAR นี้รวมกันแล้วต้องใช้ถึง 100 TB ต่อวัน
  • รวมทั้งหมดแล้วจริงๆ เก็บเป็นหลาย Exabytes นั่นเท่ากับแผ่นซีดีประมาณ 1.5 พันล้านแผ่น

data-in-nasa

Data Scientist คือตำแหน่งงานสำคัญของที่นี่ โดยเขาจะเรียกกันว่า Datanaut

เทคโนโลยีการสำรวจ

ถัดจากเรื่อง Data ก็ได้เล่าถึงอุปกรณ์หุ่นยนต์ใหม่ๆ ที่จะใช้ทำการสำรวจ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์สำหรับสำรวจพื้นที่

https://youtu.be/sAnShfa2wzc

nasa-rov-e

NASA กับการเข้าถึงคนทั่วไป

NASA เริ่มสนใจโปรเจกต์ที่ได้ Engage กับคนทั่วไปมากขึ้น มีหลายๆ อย่างที่ปล่อยออกมาให้คนสามารถนำไปใช้ได้ เช่น รูปภาพ Podcasts วีดีโอ แอป E-books เป็นต้น

pia20840

Huge waves are sculpted in this two-lobed nebula some 3000 light-years away in the constellation of Sagittarius. This warm planetary nebula harbours one of the hottest stars known and its powerful stellar winds generate waves 100 billion kilometres high. The waves are caused by supersonic shocks, formed when the local gas is compressed and heated in front of the rapidly expanding lobes. The atoms caught in the shock emit the spectacular radiation seen in this image.

รูปภาพจาก NASA

ในวันนี้เขายังได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ "NASA MARS" ซึ่งเป็น Alexa App ตัวแรกของ NASA (สำหรับใครยังไม่รู้จัก Alexa มันคือเทคโนโลยี Voice command (นึกถึง Siri) โดย AWS ซึ่งนักพัฒนาสามารถนำไปพัฒนาต่อได้)

สำหรับ NASA MARS คุณสามารถพูดคุยกับมัน ถามมันเกี่ยวกับเรื่องราวการค้นพบบนดาวอังคาร แล้วมันจะเล่าให้คุณฟัง

nasa-mars-alexa-app

Digital Transformation

Digital Transformation เป็นประเด็นพูดคุยที่เขามักได้ไปบรรยายบ่อยๆ NASA เองมีความเป็น Enterprise ค่อนข้างมาก และรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ยาก จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าองค์กร NASA เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ออกมาแชร์และพูดคุยเรื่อง IT Transformation อย่างต่อเนื่อง ดูได้จากบล็อก และดูได้จากโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่มีการทำงานร่วมกับ Startups ภายนอก เช่น โครงการ NASA's Space Apps Challenge ซึ่งเป็นงาน Hackathon ของ NASA


พูดถึงชื่อของ NASA ปกติเราจะรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ไกลตัวมาก แท้จริงแล้วเป็นองค์กรที่มีความตื่นตัวด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ปรับตัวเข้าหาประชาชนทั่วไปมากกว่าที่เราเคยคิดไว้ นับว่าน่าสนใจมากๆ

และถือเป็นเกียรติของผู้เขียนที่ได้มาร่วมงาน AWS re:Invent 2016 ในครั้งนี้ ขณะนี้ผู้เขียนยังร่วมงานอยู่ที่ลาสเวกัส ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลในงานแบบลงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ที่ บล็อกรายงานสดงาน re:Invent

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...