เป้าหมายของการพัฒนาเมืองทุกเมืองทั่วโลกนั้นคือการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นด้านความสะอาด สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร ปลอดภัย และมีคมนาคมที่ดี ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนั้นต้องอาศัยระบบการจัดการที่ดี โดยปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยี Internet of Things มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการจัดการเมือง ทำให้เกิดเป็น Smart City หรือเมืองอัจฉริยะนั่นเอง แต่ Internet of Things ใน Smart City ถือเป็น Infrastructure ขนาดใหญ่ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรามีอยู่อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเกิดการพัฒนาเครือข่ายที่เรียกว่า NB-IoT ซึ่งกำลังเป็นเครือข่ายรองรับ IoT ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยก็เริ่มมีการใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไร มาติดตามกันได้เลยครับ
NB-IoT คืออะไร
NB-IoT ย่อมาจาก Narrow Band Internet of Thing เป็นหนึ่งในรูปแบบเครือข่ายโทรคมนาคมที่ 3GPP (3rd Party Partnership Project) องค์กรความร่วมมือดูแลมาตรฐานโทรคมนาคมกำหนดเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีมาตรฐานสำหรับใช้งานกับ Internet of Thing ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2016
เทคโนโลยี NB-IoT เป็นหนึ่งในระบบที่เรียกว่า Mobile IoT มีพื้นฐานมาจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กัน แต่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้งานกับ IoT มากกว่า เน้นที่การประหยัดพลังงาน มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถส่งสัญญาณได้ไกล รองรับการใช้งานเครื่องมือจำนวนมาก เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับระบบของเมือง โดยไม่เน้นที่จำนวนข้อมูลที่สามารถรับส่งได้ เหมือนอย่างใน Smartphone ซึ่งกินพลังงานมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
เหตุที่ NB-IoT ได้รับความสนใจมากกว่าเทคโนโลยี Mobile IoT อื่น สรุปได้ว่ามาจากคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
- ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ รับส่งข้อมูลในขนาดที่เหมาะสม อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์จึงอยู่ได้นานถึง 10 ปี ประหยัดเวลาและค่าบำรุงรักษา
- รองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดหลักแสนตัวต่อสถานีฐาน รองรับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอันซับซ้อนในแต่ละพื้นที่
- กระจายสัญญาณได้มากกว่า 10 กิโลเมตร และรับสัญญาณภายในอาคารได้มีประสิทธิภาพ
- ใช้งานกับเครือข่าย 4G LTE ในปัจจุบันได้ สามารถใช้งานในประเทศไทยได้ทันที
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ NB-IoT สามารถใช้งานกับเครื่องมือต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อระบบของเมืองและชุมชนได้อย่างดี ยิ่งปัจจุบันมีเครือข่าย 4G ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้สามารถนำระบบนี้ไปใช้งานในที่ห่างไกลได้ นอกจากนี้ NB-IoT ยังเป็นมาตรฐานที่คิดมารองรับระบบโทรคมนาคมยุคถัดไปหรือที่เรียกว่า 5G ด้วย จึงสามารถใช้งานได้ยาวนานและจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแน่นอนในอนาคต
องค์ประกอบของ IoT ที่เต็มประสิทธิภาพ
NB-IoT เป็นเหมือนถนนเตรียมให้ข้อมูลจาก IoT วิ่งเท่านั้น ดังนั้น หากเราต้องการใช้ IoT อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องสร้าง Ecosystem ของ NB-IoT ให้ครบพร้อม ซึ่งหลักๆ แล้วประกอบด้วย
- Device เป็นเครื่องมือที่มีหน้าที่เฉพาะ คอยส่งและรับข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น เซนเซอร์ตรวจจับสภาพแวดล้อมซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ หรือระบบไฟส่องสว่างที่ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและรับคำสั่งเปิดปิดจากระยะไกล
- Network เครือข่ายรองรับการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลเดินทางไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ยิ่งเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงเท่าไร การทำงานของ IoT ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
- Platform เป็นอีกส่วนสำคัญโดยเฉพาะกับ NB-IoT ซึ่งไม่มีการจัดเก็บข้อมูลจึงต้องพึ่งพา Platform มากเป็นพิเศษ โดยเป็นจุดที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลระหว่าง Device กับ User รวมถึงรองรับการทำงานอื่นๆ เช่น ระบบ Payment บน IoT ซึ่งต้องออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน Platform ที่นิยมใช้กันคือ Cloud Computing ซึ่งมีข้อดีที่สามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา มีความเสถียรสูง และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการสร้าง Platform เอง
- Application ทำหน้าที่เชื่อมโยง Device เข้ากับ User ทั้งส่วนที่เป็นหน้าจอแสดงผลหรือ Interface และระบบภายใน สามารถแสดงข้อมูลและถ่ายทอดคำสั่งไปยัง Device ได้ รวมถึงมีคุณสมบัติดูแลความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบของ Ecosystem ที่ทำให้ IoT Solution ดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่ง AIS ผู้ให้บริการเครือข่าย NB-IoT ในประเทศไทยได้รับรางวัล Thailand IoT Solutions Provider of the Year และ Thailand Cloud Services Innovative Company of the Year จาก Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards ประจำปี 2018 ทำให้มั่นใจว่าโครงข่าย IoT ในประเทศไทยนั้นดีพอสำหรับทุกนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
NB-IoT จาก AIS กับการใช้งานจริงในประเทศไทย
หลังจากได้รับทราบคุณสมบัติของ NB-IoT และรายละเอียดของ IoT กันไปแล้ว หลายคนคงมองว่าเทคโนโลยีนี้อาจจะต้องใช้เวลาสักพักถึงจะอยู่ในมือเรา แต่อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยี NB-IoT ได้รับการพัฒนาใช้งานจริงในประเทศไทยแล้ว โดย AIS ได้ร่วมกับภาครัฐฯ และเอกชนนำร่องการใช้งาน NB-IoT ในส่วนต่างๆ ซึ่งมีตัวอย่างการใช้งานจริงให้เห็นกันแล้วดังนี้
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำ Smart Environment Monitoring and Water Management สร้างระบบตรวจสภาพแวดล้อมและบริหารจัดการน้ำ โดยนำอุปกรณ์ NB-IoT Board และ NB IoT Sim ติดเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบ Real Time ผ่าน Application ซึ่งปัจจุบันได้ใช้งานจริงแล้ว บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ และ จ. ภูเก็ต ข้อมูลที่ได้จะส่งไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อมและระดับน้ำในพื้นที่เพื่อวางแผนป้องกันน้ำท่วมด้วย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนา Solution การดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ภายในคลังยาด้วยเทคโนโลยี NB-IoT สามารถตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสุรนารีนำระบบนี้ไปใช้งานจริงแล้ว พร้อมกับพัฒนา Application เพิ่มเติมให้สามารถส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของโรงพยาบาล เภสัชกรจึงสามารถเรียกดูได้ผ่าน Chat Application ได้ตลอดเวลา
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนา Solution Smart Trash Bin มาแก้ไขปัญหาขยะล้นถังก่อนถึงรอบเวลาจัดเก็บ เนื่องจากจุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมีปริมาณขยะที่แตกต่างกันตามสถานที่และช่วงเวลา Solution บนพื้นฐานของ NB-IoT สามารถตรวจสอบปริมาณขยะและกลิ่นขยะภายในถังได้ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่จึงเข้าไปจัดเก็บในเวลาที่เหมาะสมได้ทันที ช่วยบริหารจัดการการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดต้นทุนการจัดการ รวมถึงช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ Solution Smart City มาใช้ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เช่น Smart Locker ล็อคเกอร์อัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยี IoT เพื่อให้บริการแก่อาคารหรือที่อยู่อาศัย, ระบบอ่านป้ายทะเบียน ควบคุมบุคคลเข้าออกสถานที่ และระบบควบคุมแสงสว่างภายใน ซึ่งไม่เพียงแต่ดูแลความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ระบบยังช่วยเราลดค่าใช้จ่ายด้วย
- ปตท. นำเทคโนโลยี IoT ช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบระบบ Cathodic Protection สำหรับงานบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด จากเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา หากเกิดปัญหาก็พร้อมส่งข้อมูลตรงจากท่อส่งก๊าซผ่าน Application ถึงมือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที
[embed]https://www.youtube.com/watch?v=N2H8KRpCk1k&feature=youtu.be[/embed]
- พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำเครือข่าย NB-IoT จาก AIS เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ในโครงการ ‘Perfect Smart City’ เมืองอัจฉริยะที่ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้อยู่อาศัยในโครงการ เช่น Mobike จักรยานเชื่อมระบบ IoT, Smart Lighting ระบบจัดการแสงสว่างภายในโครงการ, Smart Tracking ระบบติดตามตัวบุคคลภายในโครงการเพื่อการดูแลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application อีกด้วย โดยเริ่มให้บริการแล้วใน 15 โครงการที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
- โครตรอนกรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ พัฒนา Smart Coin Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง เชื่อมต่อเครือข่าย NB-IoT ส่งข้อมูลแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็มจากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ แสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น ผู้ดูแลสามารถวางแผนการจัดเก็บเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสการบริการและสร้างกำไร โดยได้ใช้งานจริงแล้วกับเครื่องของโครตรอนทั่วประเทศ
จากทั้งหมดนี้ ทำให้เห็นว่า NB-IoT จะเป็นโครงข่ายที่ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยผ่านการเชื่อมโยง Internet of Things ได้ ในอนาคตยังมีนวัตตกรรมอีกมากที่พร้อมจะต่อยอดบน Internet of Thing ซึ่งหากทั้งหมดนี้อยุ่บนโครงข่ายที่แข็งแรง เป้าหมายที่จะมี Smart City เกิดขึ้นในประเทศไทยก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก internet-of-things-innovation
บทความนี้เป็น Advertorial