NO RULES RULES ปรัชญาเบื้องหลังความสำเร็จของ NETFLIX นิยามขององค์กรที่มีแต่ ‘คนเก่ง’ เป็นอย่างไร? | Techsauce

NO RULES RULES ปรัชญาเบื้องหลังความสำเร็จของ NETFLIX นิยามขององค์กรที่มีแต่ ‘คนเก่ง’ เป็นอย่างไร?

หากคุณเคยอ่านสรุปหรือรีวิวหนังสือ NO RULES RULES ผ่านๆ อาจพอได้เห็นเรื่องราวขององค์กรที่รวบรวมคนเก่ง และขับเคลื่อนด้วยคนเก่งเท่านั้น จนมีคำกล่าวว่า "ไม่มีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ หรือคนกลางๆ" แน่นอนว่าพอได้ยินดังนั้น หลายคนคงมีคำโต้แย้งอยู่มากมาย

วันนี้เราจะพามาเจาะลึกแนวคิดที่เป็นที่ถกเถียง ซึ่งเป็นหัวใจของ Netflix ที่สร้างผลลัพธ์น่าทึ่งในโลกของธุรกิจ จาก NO RULES RULES หนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังหนึ่งในนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ที่สุดในโลก มาอ่านแล้วหาคำตอบของความสงสัยที่ว่า คนเก่งคืออะไร? ไปพร้อมกันๆ

รัับฟังแนวคิดและร่วมตอบคำถาม กับ Erin Meyer หนึ่งในผู้เขียน No Rules Rules: Netflix and the Culture of Reinvention และหนึ่งในนักคิดทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้ใน Techsauce Global Summit 2022!

หากสนใจ สามารถซื้อบัตรเข้างานได้ที่: https://bit.ly/3uB09io

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3IpUxxm

เรียกได้ว่า Netflix ทำให้เกิดการปฏิวัติในอุตสาหกรรมบันเทิงโดยสร้างรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ต่อปีในโดยให้ความบันเทิงกับผู้คนหลายร้อยล้านคนในกว่า 190 ประเทศ 

แต่กว่าจะไปถึงจุดสูงสุดได้ Netflix ซึ่งเปิดตัวในปี 2541 ในฐานะบริการเช่าดีวีดีออนไลน์ต้องปรับแนวทางของธุรกิจครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งของ Netflix  ได้ปฏิเสธการทำงานแบบดั้งเดิมตามที่บริษัทอื่นๆ ดำเนินการและได้กำหนดมาตรฐานวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ที่ทำให้  Netflix กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่างรวดเร็ว 

Culture ในแบบฉบับของ Netflix โดยขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่

  • สิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งเท่านั้น
  • มีความตรงไปตรงมา feedback กันตรงๆ และ โปร่งใสมากที่สุด
  • อีกทั้งยังควบคุมให้น้อยที่สุด ไม่กำหนดวันลา คือค่าใช้จ่าย และพนักงานในทุกระดับสามารถตัดสินใจได้

แล้วสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งนั้นคืออะไร?

หากหนังสือเล่มนี้ถูกอ่านโดยผู้บริหาร คำว่าคนเก่ง หรือ Talent อาจถูกนิยามไว้ไม่ยาก อาจสรุปได้ง่ายๆ คือ “เขาคือคนที่บริษัทจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้”

แต่เมื่อถูกอ่านโดยระดับพนักงาน ย่อมเกิดคำถามกับตัวเองแน่ว่า แล้วเราเป็นคนเก่ง หรือคนที่อยู่ระดับกลาง ๆ ระดับพอใช้ของบริษัท? และนิยามของคำว่า ‘คนเก่ง’ คืออะไรกันแน่?

Netflix ไม่ใช่ไม่เคยเอาคนเก่งออก 

มีกรณีศึกษาที่ระบุอย่างชัดเจนว่า คนเก่งคนหนึ่ง ถูกให้ออกเพราะ ให้ Feedback (ที่เป็นหนึ่งใน culture สำคัญขององค์กรนั้น) กระทำอย่างไม่ถูกวิธี คือไม่กระทำตามหลัก 4A กล่าวคือ เขาไม่ตรงไปตรงมา และขาดความโปร่งใสทางการสื่อสาร รวมทั้งอาจมีการเล่นการเมืองในบริษัทมาเกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่ศักยภาพของเขาคนนั้นสามารถขึ้นมาเป็นระดับบริหารได้

จริง ๆ แล้ว สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งของ Netflix ไม่ได้หมายถึง คนที่มี Skillset เก่งๆ มีความสามารถระดับเทพเท่านั้น! แต่คนนั้นควรมี Mindset ที่ดีด้วย 

“โดยสรุป ผู้อ่านจึงคิดว่า คนเก่งจึง = Skillset + Mindset + ผลงานที่ทำ”

แล้ว NO RULES RULES จะปรับใช้กับตัวคุณ หรือองค์กรในไทยอย่างไร?

คุณอาจกำลังคิดว่า องค์กรของคุณอาจไม่ใช่องค์กรใหญ่ระดับโลกที่ต้องแข่งขันชิงตัว Talent หรือมีเงินมากพอที่จ่ายให้ Talent เหล่านั้นสูงกว่าคู่แข่งในตลาด

แต่คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งได้ คือ คนที่เก่งทั้ง Skillset หรืออาจพยายามพัฒนา Skillset และโชว์ความเก่งของเขาจากผลงาน พร้อมทั้งยังมีทัศนคติเชิงบวกที่จะสามารถพาองค์กรไปต่ออย่างไม่สะดุด

ในขณะเดียวกันหากคุณเป็นพนักงานในองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้ให้คุณรู้สึกเป็นเพียงแค่พนักงาน แต่ทำให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มีตัวอย่างมากมาย และมันจะปลุกพลังบางอย่าง ที่ทำให้คุณอยากพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่เก่งขึ้น และเป็นคนที่องค์กรจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้

โดยสรุปแล้ว เชื่อว่า… หลายองค์กรยังมีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ที่วันหนึ่งจะพัฒนามาเป็นคนเก่งและขับเคลื่อนบริษัทได้ แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร? 

อย่าพลาดโอกาสดี ๆ รับฟังแนวคิดและร่วมตอบคำถาม กับ Erin Meyer หนึ่งในผู้เขียน No Rules Rules: Netflix and the Culture of Reinvention และหนึ่งในนักคิดทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้ใน Techsauce Global Summit 2022

 หากสนใจ สามารถซื้อบัตรเข้างานได้ที่: https://bit.ly/3uB09io

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3IpUxxm


#TSGS2022  #norulesrules #Netflix #ErinMeyer

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกกลยุทธ์องค์กรยุคดิจิทัลกับการควบรวมกิจการในด้าน AI

สำรวจแนวโน้มการควบรวมกิจการด้าน AI ตั้งแต่ปี 2020-2024 กับกลยุทธ์องค์กรที่มุ่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ผ่านการลงทุนเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์...

Responsive image

สงคราม LLMs พลิกโฉมนวัตกรรม กำหนดอนาคต AI

ในปี 2024 โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญในการแข่งขันอันดุเดือดในตลาด LLMs ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่ว...

Responsive image

รู้จัก RNA Therapeutics โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย สู่อนาคตใหม่ของการรักษาโรค

เทคโนโลยี RNA therapeutics กำลังปฏิวัติวงการรักษาโรค ด้วยศักยภาพในการรักษาโรคที่รักษาได้ยาก ความก้าวหน้าในด้านนี้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล คาดการณ์ว่าตลาด RNA therapeutics จะม...