New Digital Ecosystem เมื่อดิจิทัลรู้จักเราดีกว่าตัวเราเอง? | Techsauce

New Digital Ecosystem เมื่อดิจิทัลรู้จักเราดีกว่าตัวเราเอง?

สมาร์ทโฟนมียอดขายลดลง ออนไลน์เริ่มออกนอกจอมาสู่โลกจริง การสั่งงานด้วยเสียงมีความแม่นยำถึง 95% การประมวลภาพมีการพัฒนาก้าวกระโดด นำไปสู่ New Digital Ecosystem ที่รู้จักเราดีกว่าตัวเราเองผ่าน Digital Foot Print ที่เราทิ้งเอาไว้

ในขณะที่ยอดขาย Smart Phone ตกลงทุกปี แต่เวลาที่เราอยู่ใน Internet กลับมีมากขึ้น แต่เวลาออนไลน์ส่วนใหญ่ ตกไปอยู่ในสองกิจกรรมหลัก คือ Entertainment เช่น Video และ Social Media ในกิจกรรม Chat Massage

เราเริ่มเห็นมาหลายปีแล้วว่า การเติบโตของโลกออนไลน์นั้น สวนทางกับโอกาสในการทำธุรกิจออนไลน์ หรือใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำธุรกิจ (ยกเว้นแต่คุณทำ Video Content แล้วมีรายได้จากยอดเข้าชม)

เหตุผลหลักๆ มีอยู่สามข้อ ได้แก่

  1. Platform คือ Google และ Facebook ที่ปรับวิธีการแสดงผล ซึ่งกระทบกับจำนวนลูกค้า
  2. การแข่งขันในออนไลน์สูงขึ้น และแย่งเวลา และเงินในกระเป๋าของลูกค้า
  3. จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่โตขึ้นในฐานล่างๆ ที่มี Package Data ที่จำกัด

“ออนไลน์นอกจอ”

ในขณะที่ออนไลน์ในจอนั้น แย่งเวลาผู้ใช้กันอย่างดุเดือด อีกด้านหนึ่งคือ “ออนไลน์นอกจอ” ก็กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ออนไลน์นอกจอที่พูดถึง หมายถึง กลุ่ม Internet of Things ที่เป็นการใช้อินเทอร์เน็ต กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Sensor ต่างๆ ที่กระจัดกระจายรายล้อมอยู่รอบๆ ตัวเรา เทคโนโลยีเหล่านี้ ทำงานอัตโนมัติด้วยตัวมันเอง พวกมันคุยกันเอง และคิดเองแทนเรา โดยมีสมาร์ทโฟนในบทบาทที่เป็น Input และ Output เท่านั้น

ในกลุ่มนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอันหนึ่งคือ ยอดขาย ลำโพงอัจฉริยะในกลุ่ม Echo ของ Amazon ที่เติบโตก้าวกระโดดมาหลายปีติดต่อกัน และขายได้ถึง 30 ล้านชิ้นในปี 2017 ที่ผ่านมา

“การสั่งด้วยเสียง”

เดือนพฤษภาคม ปีนี้ (2018) ในงาน Google I/O ได้มีการเปิดตัว Google Duplex AI เทคโนโลยีที่ช่วยให้ Google Assistant มีพัฒนาการที่ก้าวกระโดด โดยมันเข้าใจที่เราพูดได้ถึง 95% (อาจจะมากกว่าที่คนเราเข้าใจกันเองเสียอีก) นอกจากฟังเก่งแล้ว Google Assistant ยังพูดโต้ตอบได้อย่างลื่นไหล ด้วยน้ำเสียงที่แยกไม่ออกเลยว่า กำลังคุยกับคอมพิวเตอร์อยู่ การสั่งงานด้วยเสียงนี้ จะเป็นการพลิกโฉมวงการไปอย่างสิ้นเชิง เพราะตั้งแต่มีคอมพิวเตอร์เจ็ดสิบปีก่อน จนกระทั่งมาถึงสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน เราติดอยู่ในกรอบของ สามสิ่ง คือ “หน้าจอ เมาส์ และคีย์บอร์ด” ในการสั่งงาน (Input) หรือรับรู้ข้อมูล (Output) กับคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าการมีทัชสกรีน ที่เราใช้นิ้วลาก จิ้ม ถ่าง คือ เทคโนโลยีพลิกโฉมที่ทำให้ Smartphone เกิดขึ้น และทำให้เกิดกลุ่มผู้ใช้ในวงกว้าง

พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งใช้งานได้เป็นธรรมชาติเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ในวงกว้างมากขึ้น การสั่งงานด้วยเสียง จะเป็นการพลิกโฉมหน้าอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ทัชสกรีน ได้ทำเอาไว้ในปี 2007 เราจะเริ่มเห็นการสั่งงานด้วยเสียง เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้นๆ ในอีกสองสามปีข้างหน้า

“การประมวลภาพ”

คือ การที่คอมพิวเตอร์เช้าใจว่า ความหมาย ของภาพ หรือวีดีโอที่เห็นอยู่ ว่าภาพนั้น มีอะไร ใคร หรือ กิจกรรมใด กำลังเกิดขึ้นในภาพ เทคโนโลยีนี้พัฒนาอย่างรวดเร็ว เริ่มนำมาใช้งานในลักษณะ กล้องวงจรปิดในพื้นที่ใหญ่ๆ ในลักษณะ Smart City ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กล้องวงจรปิด ที่คอยถ่ายภาพรถที่ทำผิดกฏจราจร อ่านป้ายทะเบียนเอง และพิมพ์เป็นใบสั่งส่งไปถึงที่บ้าน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลภาพ นี้เมื่อใช้งานร่วมกับกล้องวงจรปิดที่อยู่ในอาคาร สามารถระบุตำแหน่งเฉพาะเจาะจงเป็นคนๆ ได้ เหมือนในภาพยนตร์ที่เห็นกันมาหลายปี ก็เริ่มมีใช้บ้างแล้ว การประมวลภาพนี้ สามารถเอามาใช้กับงานบางอย่าง เพื่อให้เฝ้าดูกิจกรรมต่างๆ ในห้อง เช่น เริ่มมีการพัฒนา AI เพื่อให้เข้าในว่า ตอนนี้คนในห้องกำลังนอนหลับ ลุกขึ้น เดินไปเข้าห้องน้ำ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าดูแลผู้ป่วยในอนาคต นอกจากนี้ การประมวลภาพ ยังสามารถเข้าใจอารมณ์พื้นฐาน เช่น พอใจ หรือไม่พอใจ ผ่านการแสดงออกทางสีหน้า ได้อีกด้วย

New Digital Ecosystem

จากเทคโนโลยีหลักๆ ที่ได้กล่าวมานั้น เมื่อใช้งานร่วมกัน คงพอจะเห็นได้ว่า ขณะนี้ กำลังเกิดระบบนิเวศน์ของดิจิตอลแบบใหม่ ที่ไม่ได้ถูกจำกัดด้วย จอ ทัช และคีย์บอร์ดอีกต่อไป แต่เป็นโลกดิจิตอลที่ออกมาซ้อนทับกับโลกจริงที่เราอยู่ ทำให้เราสามารถใช้งานมันด้วยวิธีที่เป็นธรรมชาติของเรา อย่างเช่น การพูด, สีหน้า และท่าทาง และจะทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้างมากขึ้น มีรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ มากขึ้น

การแข่งขันยังมีน้อย และที่สำคัญ คือมีโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซ่อนอยู่อีกมหาศาล ตัวอย่างเช่น การใช้ Google Assistant มาโทรไปจองร้านตัดผม โดยทั้งลูกค้าละผู้รับบริการไม่ต้องมีความรู้ด้านออนไลน์หรือดิจิตอลใดๆ

แน่นอนกว่า New Digital Ecosystem ใหม่นี้ จะง่ายกว่าการใช้งานเฉพาะ On Screen Digital ในแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นน่านน้ำใหม่ที่ผู้ประกอบการ และผู้บริหาร ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ทดลองใช้เมื่อมีโอกาส

เพื่อจะได้ไม่พลาด เหมือนกับตอนที่คลื่นดิจิตอลมากวาดล้างทำลายดังเมื่อห้าหกปีก่อน

Digital Footprint

การใช้งานเทคโนโลยีทุกครั้ง แน่นอนว่า จะต้องเกิดการ “ทิ้งร่องรอย” หรือ Digital Footprint

ถ้าสมัยอินเทอร์เน็ตแรกๆ เลย ก็ การเข้าเว็บต่างๆ และเครื่องยังเก็บ Web Browsing History เอาไว้ ผู้ชายบางคนรู้ดีว่า มันน่ากลัวขนาดไหนถ้าแฟนมาขอเปิดประวัติการท่องเว็บดู พอมาถึงยุคสมาร์ทโฟน ตอนนี้เราคงเชื่อแล้วว่า ผู้ให้บริการทั้งหลายรวมถึงตัวสมาร์ทโฟนเอง ก็เก็บข้อมูลของเรา เช่น เมื่อจะใช้กล้อง แอปก็จะขอเข้าถึงที่เก็บรูปต่างๆ ของเรา และแอบเข้าไปอ่านรูปที่เราถ่ายเอาไว้ หรือ เมื่อเปิดใช้งานบาง Application มันก็จะแอบเปิดไมค์เอาไว้ฟังว่า เรากำลังพูดอะไรหรือ

หรือตัวอย่างตลกๆ อันหนึ่ง คือ แอปดูหนังวาบหวิวฟรีจากประเทศจีน มีหนังอย่างว่าให้ดูมากมาย แต่ตลกร้ายของแอปตัวนี้ก็ คือ บางครั้งมันก็แอบเปิดกล้องหน้าไว้ และถ่ายรูปเราตอนกำลังดูหนังอย่างว่าเอาไว้ วันดีคืนดีถ้าได้ภาพเด็ดๆ ก็ส่งภาพลับกลับมาเรียกเงิน แลกกับการไม่โพสต์รูปประจานลงโซเซี่ยล

พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งเราใช้เทคโนโลยีได้ง่ายเท่าไหร่ มันก็ยิ่งรู้จัก และเก็บร่องรอยของเราได้มากขึ้นเท่านั้น ในยุคท่องอินเทอร์เน็ตด้วย PC มันรู้จักเราได้เพียงประวัติการท่องเว็บ เมื่อเราหยุดเล่น มันก็เก็บข้อมูลต่อไม่ได้ ในยุคสมาร์ทโฟน มันรู้จักเรามากขึ้นทั้งภาพ เสียงพูด และอาจจะรวมถึงที่สถานที่ต่างๆ ที่เราไป แต่เมื่อเราไม่พกสมาร์ทโฟนไป มันก็เก็บข้อมูลต่อไม่ได้

แต่ในยุค New Digital Ecosystem ที่ผมพูดถึงนี้ ดิจิตอลเริ่มออกมาอยู่ในโลกจริง มันเห็นภาพเราได้ และรู้ว่าเราเดินไปตรงไหนของตึกโดยที่เราไมได้จงใจใช้งานอะไรมันเลยด้วยซ้ำ

Digital Persuasion

ถ้าไม่ได้ทำผิด จะต้องกลัวอะไร???

ถ้าไม่ได้ร่ำรวย รู้จักตัวตนเราไปแล้วจะเอาอะไรเราไปได้???

ในขณะที่ประเทศอาชญากรรมต่ำมากๆ อย่างญี่ปุ่น ตัวเลขนี้กลับน้อยเพียง 8% คนจีน 36% ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อแลกกับโปรโมชั่นดีๆ มีการคาดการณ์ว่า แอปฝั่งประเทศจีนจะฉลาดขึ้นได้อีกมากๆ เพราะลูกค้ายอมเปิดเผยช้อมูลให้นักพัฒนาเอาไปพัฒนาแอปให้ฉลาดยิ่งขึ้น และอีกไม่นานเมื่อมันพัฒนามากขึ้น มันจะรู้จักเราดียิ่งกว่าเรารู้จักเราเองเสียอีก

มันไม่ได้ต้องการปล้น หรือจับเราเข้าคุกหรอก มันเพียงแค่อยากให้เราเชื่อในสิ่งที่มันอยากให้เชื่อ

เช่น ชอบสิ่งนี้ อยากไปเที่ยวตรงนั้น โดยมีคนจ่ายเงินที่เรียกว่าค่าโฆษณา มาทำให้เราเชื่ออีกที

โดยที่เราคิดว่า นั่นเป็นความคิดของเราเองจริงๆ

จะมีใครน่าเชื่อถือมากกว่าคนที่รู้จักเราเป็นอย่างดี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...