NFT ไม่ได้เป็นแค่งานศิลปะดิจิทัล! แต่ต่อยอดธุรกิจได้ | Techsauce

NFT ไม่ได้เป็นแค่งานศิลปะดิจิทัล! แต่ต่อยอดธุรกิจได้

เมื่อเอ่ยถึงสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง NFT ที่กำลังกลายเป็นกระแสที่มาแรงในโลก โดยสามารถเป็นได้ทั้งแหล่งรายได้และการลงทุนใหม่ให้กับนักสะสม นักลงทุน  และกำลังมีการริเริ่มนำมาต่อยอดด้านการตลาดในโลกธุรกิจ หลายแบรนด์ชั้นนำของโลกเริ่มเดินเกมเข้ามาชิมลางการทำการตลาดจาก NFT และพบว่าสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว

NFT ไม่ได้เป็นแค่งานศิลปะดิจิทัล! แต่ต่อยอดธุรกิจได้

ทั้งนี้หากดูจะพบว่า NFT เคยมีมูลค่าการซื้อขายในตลาดสูงสุดต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดในตลาดสากลเท่านั้น ในตลาดประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ซึ่งพบว่าไทยมีผู้ลงทะเบียนผู้ใช้งาน NFT เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สูงถึง 5.65 ล้านคน (ข้อมูลจาก Statista Digital Economy Compass 2022) NFT จึงนับเป็นเทรนด์การตลาดสำคัญที่นักธุรกิจ นักการตลาดไทยต้องจับตามอง

ที่ผ่านมา Techsauce ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้าน Crypto Currency รวมถึง NFT มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ NFT คืออะไร หรือ NFT จะสร้าง Value ได้อย่างไร ? ซึ่งแต่ละคอนเทนต์มักจะเป็นเพียงการแนะนำให้รู้จัก และเป็นมุมในการลงทุน ผลตอบแทน แต่วันนี้เมื่อกระแส NFT ในโลกธุรกิจกำลังมาแรง มีบทบาทกับระบบเศรษฐกิจมากขึ้น 

ในครั้งนี้จึงจะนำผู้อ่านไปทำความรู้จักในอีกมุมที่เป็นมุมของ NFT ที่เชื่อมสู่ภาคธุรกิจ จากงาน NFT for Business: The Future of Marketing with LINE CREATORS จัดโดย LINE ประเทศไทยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน NFT มาร่วมเปิดมุมมองด้านธุรกิจไว้มากมาย เพื่อให้ธุรกิจ แบรนด์ และนักการตลาดในไทย ได้มีความรู้พื้นฐาน เข้าใจถึงเทรนด์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ๆในอนาคต

พงศ์พิศิชญ์ ประทีปะวณิช ผู้ก่อตั้งเพจ iKnowTerry

พงศ์พิศิชญ์ ประทีปะวณิช ผู้ก่อตั้งเพจ iKnowTerry เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดดิจิทัลและสกุลเงินคริปโต ได้เล่าไว้ในงานภายใต้การบรรยายหัวข้อ “The Burgeoning Trend of NFT” ว่า ความสามารถที่โดดเด่นของ NFT คือ A Proof of Ownership นั่นคือ ความสามารถในการแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น ๆ อาทิ งานศิลปะ อสังหาฯ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยี ในตลาด NFT มีการเติบโตตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งเกิดโปรเจกต์จำนวนมาก 

ณ วันนี้ มีโปรเจกต์NFT เกิดขึ้นประมาณ 100 โปรเจกต์ต่อวัน โดย NFT มีความสามารถเป็น Format ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่หนีไม่พ้นเรื่องของภาพวาด วีดิโอ และเสียง แต่ในอนาคตอาจจะมีโปรเจกต์ในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แต่รูปแบบ NFT ยอดนิยม จะเป็น Digital Art, Generative Art, Avatars (PFP), Virtual World, Games, Collectibles โดย  Generative PFP ที่ดูเหมือนกับว่าจะเป็นสิ่งที่คนชอบกันมากที่สุด

แม้ว่าช่วงนี้  มูลค่าตลาด NFT อาจดูลดลงไป ซึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ตลาด Cryptocurrency โดยรวม ไม่ค่อยมีนักลงทุนรายใหม่ๆเข้ามาหากเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นเพียงสัญญาณด้านการเทรดและมูลค่าซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน แต่หากมองมุมของการสะสม การเพิ่มขึ้นของโปรเจกต์NFT และความนิยมนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการตลาด กลับเดินหน้าในทิศทางตรงกันข้าม หลายแบรนด์ชั้นนำเริ่มเข้าสู่การใช้งาน  Web 3.0 โดยนำ NFT มาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ ไนกี้ (Nike) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน โดยได้เข้าซื้อบริษัทชื่อ RTFTK สตูดิโอผู้พัฒนารองเท้าผ้าใบ หรือสนีกเกอร์เสมือน ของสะสม และมีม ช่วยให้ Nike สามารถ เชื่อมโยงโลกของกีฬา ความคิดสร้างสรรค์ เข้ากับโลกยุคใหม่ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว 

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง Bitcast 

ด้าน ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง Bitcast ที่ปรึกษาการลงทุนสกุลเงินคริปโต ได้แบ่งปันมุมมองด้านโอกาสสำหรับผู้ที่เข้ามาในตลาด NFT โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครีเอเตอร์ ในช่วงที่ตลาดเพิ่งจะเริ่มต้นนี้ หรือเรียกว่าเป็น Early Adopter ว่า ตลาดของ NFT จะเติบโตยังไปได้อีกไกล แต่จะต้องอาศัยครีเอเตอร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์เข้ามานำเสนองานรูปแบบใหม่ๆให้กับคอมมูนิตี้ อาชีพครีเอเตอร์ยังมีโอกาสอีกมาก และหากมองดูสัดส่วนรายได้จาก NFT ในตลาด จะพบว่ารายได้ของยอดขายเทียบกับจำนวนครีเอเตอร์ในตลาด NFT ยังมีมูลค่าสูงมาก โดยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 1.74 แสนดอลลาร์ต่อครีเอเตอร์ 

อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จในโลกของ NFT  ได้นั้นก็ไม่ได้เรียกว่าง่าย เพราะครีเอเตอร์จะต้องมีความเข้าใจทั้งในเรื่องธุรกิจ รู้ว่าต้องเจาะกลุ่มลูกค้าใด สร้างคุณค่ากับผลงานอย่างไร และเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี รู้จักว่า NFT คืออะไร แพลตฟอร์มเพื่อการสร้าง การเก็บ การซื้อขาย และการสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งหากครีเอเตอร์มีความพร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถก้าวเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ NFT ในฐานะ Early Adopter และเติบโตไปกับคอมมูนิตี้นี้ได้ไม่ยาก

จากข้อมูลข้างต้นอาจจะทำให้ทุกคนเห็นภาพแล้วว่า NFT คืออะไร ? และมีประโยชน์ รวมถึงโอกาสอย่างไรบ้าง ดังนั้นสิ่งที่ธุรกิจ นักการตลาด และเอเจนซี่ ต้องเร่งหาคำตอบว่าจะผสาน NFT ให้เข้ากับธุรกิจได้อย่างไร

รฐนนท์ พลานนท์ Head of Business Strategy จาก บิทคับ บล็อกเชน เทคโนโลยี

รฐนนท์ พลานนท์ Head of Business Strategy จาก บิทคับ บล็อกเชน เทคโนโลยี ได้ช่วยไขคำตอบในเรื่องนี้ โดยได้ฉายภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับ Metaverse และความสัมพันธ์ที่มีต่อ NFT และ Cryptocurrency บนโลกเสมือนไว้อย่างชัดเจน รวมถึงให้แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจบน Metaverse ว่าสามารถเป็นไปได้ใน 4 รูปแบบ คือ 

(1) Landowner หรือเจ้าของที่ดินบนโลกเสมือน ที่เจ้าของสามารถให้เช่า หรือหารายได้จากที่ดินนั้นได้ 

(2) Designer หรือ ผู้สร้างของเพื่อขายบนโลกเสมือนซึ่งก็คือ NFT นั่นเอง 

(3) Advertiser หรือการให้เช่าโฆษณา เมื่อโลกเสมือนนั้นๆมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก 

และ (4) ผู้เล่นในโลกเสมือนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างรายได้ (Play to Earn) 

ทั้งนี้ ในส่วนของ BItkub เอง ได้เตรียมพร้อมในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเอื้อต่อการเข้าสู่ตลาด NFT ของครีเอเตอร์ ผู้ที่ต้องการซื้อขาย NFT หรือแม้แต่แบรนด์ที่ต้องการสร้าง NFT ก็สามารถเข้าใช้แพลตฟอร์มของ Bitkub ได้ เช่น Bitkub Next Wallet กระเป๋าเงินคริปโตเพื่อใช้ซื้อขาย NFT Bitkub NFT แพลตฟอร์มเพื่อการสร้างและซื้อขาย NFT หรือ Earnkub แพลตฟอร์มเพื่อการเชื่อมโลกจริงและโลกเสมือนไว้ด้วยกัน มีฟีเจอร์ในการติดตามสิ่งที่ทำทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน ซึ่งจะมีประโยชน์มากกับการทำการตลาด  ในเรื่องของการสะสมคะแนน การแจกรีวอร์ด เป็นต้น  

และที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือ ภายในงานนี้ LINE ประเทศไทย ยังได้ประกาศความเตรียมพร้อมในการให้บริการเป็นพันธมิตรให้กับ แบรนด์ต่างๆในประเทศไทย โดยแนะนำโซลูชั่นการตลาด NFT ด้วย LINE CREATORS ซึ่งเป็นบริการแบบครบวงจรเพื่อนำพาแบรนด์เข้าสู่การทำตลาดด้วย NFT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การทำเวิร์คช้อป ระดมสมองร่วมกับแบรนด์ เพื่อทำการออกแบบผลงาน NFT โดยครีเอเตอร์แถวหน้าของเมืองไทย ไปจนถึงการมองหาแพลตฟอร์มที่สามารถมอบสิทธิประโยชน์และตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์มากที่สุด

ที่ผ่านมา NFT มักถูกพูดถึงในเชิงของดิจิทัลอาร์ตและไอเท็มดิจิทัลรูปแบบของสะสมเป็นหลัก แต่จริง ๆ แล้ว NFT สร้างประโยชน์ในเชิงการตลาดได้อีกหลายอย่าง เพียงแต่นักการตลาดต้องโฟกัสที่ประโยชน์ (Utility) ให้เหมาะกับแคมเปญที่จะนำไปใช้ มองหาพันธมิตรที่จะเข้ามาเติมเต็มความเชี่ยวชาญทั้งเรื่องการออกแบบและเทคโนโลยี เริ่มต้นจากเพียงเท่านี้ ก็จะสามารถต่อยอด สร้างกลยุทธ์การตลาด NFT และขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้

สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์บนโลก NFT พร้อมเรียนรู้การทำการตลาดด้วย NFT บนโลกดิจิทัล สามารถรับชมงาน ‘NFT for Business: The Future of Marketing with LINE CREATORS’ ย้อนหลังได้ที่ https://lin.ee/R4FKdoY/wcvn

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...