‘เข้าใจลูกค้า’ ฟังเหมือนง่ายแต่ทำยาก NocNoc เปิดเวที NocNoc Hackathon 2024 พัฒนาระบบรู้ใจลูกค้า ยกระดับ E-commerce ด้าน Home and Living สร้างประสบการณ์ที่ดีบนแพลตฟอร์ม | Techsauce

‘เข้าใจลูกค้า’ ฟังเหมือนง่ายแต่ทำยาก NocNoc เปิดเวที NocNoc Hackathon 2024 พัฒนาระบบรู้ใจลูกค้า ยกระดับ E-commerce ด้าน Home and Living สร้างประสบการณ์ที่ดีบนแพลตฟอร์ม

Personalization = รู้ใจ เป็นหนึ่งในแนวทางนำเสนอสินค้าและบริการด้วยการทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละคนอย่างตรงจุด เชื่อหรือไหมว่าผู้บริโภคถึง 91% มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ให้ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของพวกเขามากที่สุด 

แต่ข้อมูลจาก Gartner หนึ่งในบริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก เผยว่า ผู้นำด้านการตลาดกว่า 63% มองว่าการนำระบบ Personalization มาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าในยุคดิจิทัลยังคงเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจ แต่หนึ่งในธุรกิจไทยที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส  Ecosystem เรื่องบ้านอย่าง NocNoc พบว่า Personalization คือ หัวใจ และความท้าทายของทุกมาร์เก็ตเพลส 

เนื่องจากลูกค้าที่เข้ามาบนแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสมีความต้องการและความชอบที่หลากหลาย ซึ่งยากที่จะรู้ได้ว่าสินค้าใดจะตอบโจทย์ ดังนั้น ‘ความท้าทาย’ เหล่านี้มันจึงเป็นโจทย์ที่ต้องตีให้แตก เคาะให้ตรง เพื่อดันทุกธุรกิจของไทยให้ก้าวทันโลก

บทความนี้ Techsauce จึงจะชวนมาหาคำตอบว่า ความท้าทายที่ฉุดรั้งการนำระบบ Personalization มาใช้ คืออะไร ? และพาไปทำความรู้จักโครงการดีๆ อย่าง NocNoc Hackathon 2024 Home & Living Personalization เวทีปล่อยของคนไทยหัวใจเทคฯ ร่วมพัฒนา ‘ระบบรู้ใจลูกค้า’ เพื่ออนาคตธุรกิจไทย

4 ความท้าทายระบบ Personalization ของธุรกิจ

1. ความท้าทายด้านข้อมูล

‘ข้อมูล’ คือวัตถุดิบหลักของการ Personalization กว่าที่ธุรกิจจะเข้าใจลูกค้าจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของพวกเขา แต่ทว่าลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจผ่านช่องทางหลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ส่งผลให้เกิด ‘คลังข้อมูลมหาศาล’ ที่ยากต่อการจัดการ

และไม่ใช่ข้อมูลทุกชนิดจะสามารถหยิบมาใช้งานได้ การกรองข้อมูลมากมายเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และนำออกมาใช้งาน จึงเป็นความท้าทายแรกที่ธุรกิจต้องเจอ

2. ความท้าทายด้านการแบ่งกลุ่มลูกค้า

การแบ่งกลุ่มลูกค้าและกำหนดเป้าหมายอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องทำ ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้วิธีแบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากร เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ หรือที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งดูเหมือนจะเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน 

แต่ในทางปฏิบัติ ความเป็นจริงคือลูกค้าแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันเพียงบางส่วน การพยายามจำแนกลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อหาจุดที่แตกต่างหรือเหมือนกัน จึงกลายเป็น ความท้าทายที่น่าปวดหัวสุดๆ สำหรับธุรกิจ

3. ความท้าทายด้านบุคลากรและเทคโนโลยี

ในยุคที่เต็มไปด้วยโฆษณาและการแข่งขันที่เข้มข้น ความเร็ว เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ   ธุรกิจที่เข้าใจลูกค้าและตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ย่อมมีโอกาสคว้าใจลูกค้าและสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง 

แต่การจะทำความเข้าใจลูกค้าได้ทันท่วงทีต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การแบ่งส่วนลูกค้า การซิงโครไนซ์โปรไฟล์ข้ามช่องทาง ทำให้ปัญหาในตอนนี้ที่หลายธุรกิจต้องเผชิญคือ ขาดบุคลากรและระบบเทคโนโลยีที่ทำงานประสานกันได้อย่างดี 

4.ความท้าทายในการวัดผลลัพธ์

การวัดผลลัพธ์ก็มีความสำคัญเนื่องจากทำให้เข้าใจว่าความพยายามในการ Personalization ประสบความสำเร็จหรือไม่ รวมถึงยังแสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยใดที่ได้ผลและไม่ได้ผล เพื่อใช้ปรับปรุงกลยุทธ์ในอนาคต แต่ความท้าทายของการวัดผล คือ ความซับซ้อนของข้อมูล+ต้องดูผลลัพธ์ระยะยาวใช้เวลานาน+ตัวชี้ที่เป็นนามธรรม (เช่น ความไว้วางใจของลูกค้า) การวัดผลให้แม่นยำจึงเป็นเรื่องยาก

NocNoc Hackathon 2024 พัฒนา ‘ระบบรู้ใจลูกค้า’ สร้างประสบการณ์ที่ดีบนแพลตฟอร์ม


เพื่อพาธุรกิจไทยก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ NocNoc ได้เปิดเวทีประลองให้คนไทยหัวใจเทคฯ เข้ามาแข่งขันกันพัฒนา ‘ระบบรู้ใจลูกค้า’ หรือระบบ Personalization ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยยกระดับธุรกิจไทยให้ทันสมัยและแข็งแกร่งในตลาดโลก ผ่านโครงการ NocNoc Hackathon 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 - 22 กันยายน 2567 ณ สำนักงานใหญ่ NocNoc ชั้น 7อาคารเกทเวย์ แอท บางซื่อ

โดยมีโจทย์หลักคือการพัฒนาระบบ ‘Personalized Product Recommendation’ ซึ่งเป็นระบบแนะนำผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าบนเว็บไซต์ NocNoc 

เปิดรับสมัคร: 1 กรกฎาคม 2567 - 16 สิงหาคม 2567

โครงการนี้เหมาะกับใคร?

โครงการนี้เป็นความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัลและ NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมที่จะมายกระดับวงการ E-commerce และสร้างประสบการณ์ที่ดีบนแพลตฟอร์ม ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 200,000 บาท พร้อมโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำของประเทศไทย 

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี นักพัฒนาและวิศวกรซอร์ฟแวร์ หรือแม้แต่นักศึกษาในสาขาเทคโนโลยีก็สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้เช่นเดียวกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมของผู้สมัคร

  1. ผู้สมัคร 3 - 5 คน/ทีม โดยแต่ละคนต้องมีชื่ออยู่ในทีมเพียงทีมเดียวเท่านั้น และมีสิทธิส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้เพียง 1 ผลงานต่อ 1 ทีม เท่านั้น
  2. สัญชาติไทยหรือเป็นชาวต่างชาติ ที่พำนักอยู่ในประเทศไทย อายุ 18 ปี ขึ้นไป หรือเป็นนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 เป็นต้นไป 
  3. ผู้สมัครในทีมอย่างน้อย 1 คน สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ได้
  4. ผู้เข้าประกวดต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครผ่าน https://bit.ly/45Bac8E
  5. พร้อมแนบไฟล์วิดีโอแนะนำทีม และไอเดียสั้นๆในการทำ personalization ที่ตรงใจคนแต่งบ้าน  แบบ Full HD ความยาวไม่เกิน 5 นาที 

อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่นี่: https://bit.ly/45Bac8E

สอบถามเพิ่มเติม 

ร่วมสนับสนุนโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) , น้ำดื่มคริสตัล , โออิชิ กรีนที , เอส โคล่า และ ซี ซุปปลาทูน่าสกัด

#NocNocHackathon2024 #NocNoc #เรื่องบ้านเลือกจนกว่าจะชอบ #Hackathon

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ปลดล็อกศักยภาพท่องเที่ยวไทยสู่ Global Destination ยกระดับประเทศผ่านเอกลักษณ์และความร่วมมือ

ร่วมวิเคราะห์เชิงลึกจากการเสวนาของคุณชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ และ ดร. วิทวัส สิทธิเวคิน Moderator ใน session นี้ เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายข...

Responsive image

ความท้าทาย โอกาส และการปรับตัวของประเทศไทย เจาะลึกยุทธศาสตร์นำทัพไทยในพายุภูมิรัฐศาสตร์ 2025

โลกกำลังเผชิญกับ Turbulent Times หรือยุคแห่งความผันผวนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความผันผวนนี้ส่งผลกระทบต่อทุกมิติ ตั้งแต่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไปจนถึงสิ่งแว...

Responsive image

ก้าวสู่สังคมสูงวัย เป็นโอกาสทองของไทยหรือความท้าทายที่ต้องเผชิญ ?

เพราะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ไปจนถึงการลดลงของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ...