รถไฟใต้ดินในโอซาก้า เปิดตัวประตูกั้นเข้าชานชาลาโดยใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

บริษัทรถไฟฟ้าใต้ดินในโอซาก้า ได้ทำการเริ่มทดสอบระบบตรวจตั๋วอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้า โดยผู้ประกอบการรถไฟใต้ดินมีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับสถานีทั้งหมดภายในปีงบประมาณ 2024 ก่อนจะถึงงาน 2025 World Expo ในเมืองโอซาก้า 

การทดสอบนี้มีพนักงานของสถานีรถไฟใต้ดินโอซาก้าประมาณ 1,200 คนเข้าร่วม อ้างอิงจากข้อมูลของ บริษัท ซึ่งการทดลองครั้งนี้นับเป็นการทดลองครั้งแรกสำหรับการจัดการด้านระบบรถไฟในญี่ปุ่น โดยระยะเวลาทดลองจะดำเนินการจนถึงเดือนกันยายนปีหน้า และเริ่มที่ 4 สถานี ได้แก่ Dome-mae Chiyozaki, Morinomiya, Dobutsuen-mae และ Daikokucho แต่ละสถานีจะเครื่องกั้นที่ใช้ระบบจดจำใบหน้าที่พัฒนาโดย 4 บริษัทเพื่อทดสอบการทำงานของแต่ละเจ้า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาโดย Omron Social Solutions Co. , Takamisawa Cybernetics Co. , Toshiba Infrastructure Systems & Solutions Corp. และ Nippon Signal Co.      

ล่าสุด ที่ผ่านมามีการติดตั้งประตูที่สถานี Dome-mae Chiyozaki โดยให้พนักงาน Osaka Metro ที่ได้ทำการบันทึกข้อมูลใบหน้าไว้ล่วงหน้ามาใช้งาน ซึ่งกล้องได้ทำการวิเคราะห์ใบหน้าและประมวลผลจากนั้นก็เปิดให้พนักงานเข้าไปได้ 

“ผู้สูงอายุและผู้คนที่มีรถเข็นจะสามารถผ่านเข้าประตูได้โดยไม่ต้องวางอะไรลง” เจ้าหน้าที่ของบริษัทกล่าว “ เราต้องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานีด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ”

ข้อมูลจาก: The Japan Times



No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...