วิเคราะห์อุตสาหกรรม OTT TV เมืองไทย กับโอกาสที่ซ่อนอยู่ | Techsauce

วิเคราะห์อุตสาหกรรม OTT TV เมืองไทย กับโอกาสที่ซ่อนอยู่

หากย้อนกลับไปในยุคที่ยังไม่มี 4G เราอาจนึกภาพไม่ออก ว่าวันหนึ่งเราจะดูทีวี ชมซีรีย์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และบนอุปกรณ์มือถือ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อม การเข้ามาของ 4G และ 5G ในอนาคต จึงเป็นโอกาสของ Content ในรูปแบบของวีดีโอ และนั่นคือ OTT TV

OTT TV หรือ Over-The-Top TV คือ บริการที่ให้เราสามารถรับชมภาพยนตร์, ซีรีย์ , Content ต่าง ๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต มีทั้งรูปแบบ Subscription (จ่ายค่าบริการรายเดือน/ รายปี) และ AVOD หรือ Advertising Video On Demand (ให้ดูฟรี แต่มีโฆษณาด้วย) โดยโมเดล Subscription ของ OTT TV เติบโตในต่างประเทศค่อนข้างมาก เช่น Netflix , Disney+ เป็นต้น ส่วนประเทศไทยช่วงแรกที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเติบโต เรามี Youtube ที่สามารถรับชมวีดีโอ Content ต่างๆ รวมถึงการรับชมละครย้อนหลัง จนกระทั่งในปี 2014 LINE TV ได้เป็นผู้บุกเบิกการรับชม Content ย้อนหลังอย่างจริงจัง ทั้งละครและซีรีย์ต่างๆ และทำออริจินัล คอนเทนต์ของตัวเอง และยังมีตามมาอีกหลายเจ้า ซึ่งก็มีการเจาะกลุ่มเป้าหมายและ Content ที่แตกต่างกันไป เรียกว่าตลาดของ OTT TV นั้นมีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง

OTT TV กลายเป็น New Normal ความบันเทิงของคนไทย 

พฤติกรรมของคนไทยในการรับชม Content ในรูปแบบ OTT TV นั้น เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของประเทศไทยนั้น Ovum คาดการณ์ไว้ว่า จำนวนผู้บอกรับสมาชิก OTT TV มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจพุ่งสูงถึง 2.45 ล้านคน ใน 2024 โดยสูงกว่าตัวเลขผู้ใช้บริการ OTT TV ในปี 2015 ถึง 7 เท่าตัว ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตดังกล่าวเป็นไปในทิศทาง เดียวกันกับการเติบโตของจำนวนผู้ชม OTT TV ทั่วโลก

โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ประเภท AVOD  จะเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่า 50% เกือบเทียบเท่าฐานผู้ชมบนทีวี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่เป็นเหมือนตัวกระตุ้น เห็นได้ชัดจาก LINE TV ที่มียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 43% และใช้เวลาดูนานขึ้นรวม 43% ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดโลกอย่าง Netflix ก็มียอดผู้สมัครสมาชิกรายใหม่ถึง 10 ล้านบัญชีในช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายนที่ผ่านมาเช่นกัน ก็เป็นการบ่งชี้ว่า OTT TV กลายมาเป็น New Normal ความบันเทิงของคนไทยไปอย่างสมบูรณ์แล้ว


OTT TV โอกาสสำหรับแบรนด์ในการทำการตลาด

จะเห็นได้ว่าหลายสินค้าเป็นที่พูดถึงหรือกลับมานิยมอีกครั้งจากคอนเทนต์บน OTT TV อย่าง อย่าง The Queen’s Gambit บน Netflix ก็เป็นตัวชี้วัดให้เห็นว่า Content สามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้า อย่าง ‘หมากรุก’ ที่ทำให้ยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Chess.com ก็พุ่งขึ้นสูงอย่างมาก ขณะที่แพลตฟอร์มหมากรุกออนไลน์อย่าง Lichess.org ก็มีผู้เข้าเล่นรายวันพุ่งขึ้นสูงสุดหลังซีรีส์เข้าฉายเช่นกัน 

แต่นั่นก็ไม่ใช่เพียงช่องทางเดียวสำหรับ OTT TV โดยเฉพาะ AVOD อย่าง LINE TV เพราะ LINE TV เป็นแพลตฟอร์มที่รองรับการทำการตลาดโฆษณาหลากหลายวิธี ตั้งแต่ประเภท Product Experience ใน Original Content ที่ทำออกมาหลากหลายแนวในแต่ละปี ก็ยังมี Pre-roll ads และ Sponsor อีกหลายรูปแบบที่สามารถสร้าง Quality Reach ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ชมเกิดความตั้งใจในการซื้อสินค้า (Intention to buy) มากถึง 49% ซึ่งที่ผ่านมา LINE TV ก็เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของแบรนด์มากมาย ทั้ง FMCG Lifestyle และ IT เป็นต้น 

แพลตฟอร์ม AVOD กับโอกาสโตทางธุรกิจ กับข้อได้เปรียบด้าน Ecosystem 

เมื่อแพลตฟอร์ม “ดูฟรี” เป็นสิ่งที่ถูกจริตคนไทย ขณะเดียวกันก็เกิดโอกาสให้กับธุรกิจให้แพลตฟอร์ม AVOD ที่มีข้อได้เปรียบทาง Ecosystem มา Monetize สร้างรายได้ให้แก่แพลตฟอร์มนอกเหนือจากแค่รายได้จากโฆษณา เห็นได้ชัดจาก LINE TV ที่มีผู้ชมวิดีโอมากกว่า 6,000 ล้านวิวในแต่ละปี เข้าถึงผู้ชมกว่า 40 ล้านคน นั่นหมายถึงกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดขนาดมหาศาล ที่ต่อยอดให้พัฒนาสร้างรายได้จากการหยิบใช้บริการต่างๆบน Ecosystem มาเสนอเป็นโซลูชั่นเพื่อแบรนด์ต่างๆ 

  • ยกตัวอย่างเช่น LINE TV ที่เชื่อมโยงเข้ากับ LINE Ecosystem ทำแคมเปญดันกระแสซีรีส์วายในเมืองไทย อย่างแคมเปญ “อินจิ้นฟินเวอร์” และ “อินกับวินฟินกับไบร์ท” ก็จับมือกับบริการในเครืออย่าง LINE STICKERS, LINE MELODY, LINE Official Account และ LINE Openchat มาสร้าง Engagement และคอมมูนิตี้กับผู้ชมได้นานที่สุด มากกว่าแค่ดูแล้วจบไป ผลคือสร้างยอดดาวน์โหลดทุบสถิติให้กับบริการที่ร่วมแคมเปญ หรือจะเป็น  As Seen on TV อีกโซลูชั่นที่ให้ชมคอนเทนต์และช็อปสินค้าในคอนเทนต์ต่อบนแอปฯ LINE ได้เลย กลายเป็นช่องทางธุรกิจบนข้อได้เปรียบจากคอนเทนต์และ Ecosystem 

ขณะที่คอนเทนต์เองก็ยังคงเป็นหัวใจธุรกิจของ LINE TV อีกข้อที่สามารถสร้างรายได้ให้แพลตฟอร์ม เพราะได้เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า นำ Original Content เรื่องเด็ดๆ ไปฉายบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับโลก เป็นการแลกเปลี่ยนฐานคนดูระหว่างแพลตฟอร์มและตัวคอนเทนต์ที่นำมาสู่การสร้างแบรนด์ในฐานะแพลตฟอร์มเจ้าของคอนเทนต์ฮิตให้กับ LINE TV อีกด้วย  

สรุป

อุตสาหกรรม OTT TV กำลังเติบโตตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยน ทั้งการมีตัวเร่งอย่าง COVID-19 และเทรนด์การสร้าง Original Content ของแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคติดตาม โดยหากเป็น Content  ที่ฟรีด้วยแล้ว ก็จะยิ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายกับไลฟ์สไตล์ของคนไทย เห็นได้จากตัวอย่างของ LINE TV ที่มีผู้ชมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ซึ่งทิศทางของ LINE TV ทำให้ นั้นเติบโตสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้ง Content เนื้อหาที่หลากหลาย กลยุทธ์ในการเลือก Partner อีกทั้ง LINE TV ยังเป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาดเลือกลงโฆษณา เพราะมี Content ที่จุดกระแส เข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง เรียกได้ LINE TV ว่าเป็น OTT TV ที่น่าจับตามองมากในไทย และเมื่อโลกกำลังเดินหน้าเข้าสู่ 5G คาดว่า อาจทำให้แพลตฟอร์มนี้เข้าถึงคนไทยได้มากขึ้น และเติบโตสูงขึ้นอีกมากในอนาคต

บทความนี้เป็น Advertorial



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner เผย! AI เป็นตัวการสำคัญ ทำค่าความปลอดภัยด้านข้อมูลทั่วโลกพุ่ง 15% ภายในปี 2025

Gartner เผยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...

Responsive image

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืนได้...

Responsive image

ซูชิสายพาน หนึ่งใน Game Changer ที่สำคัญของวงการอาหารญี่ปุ่น

บทความนี้ เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจต้นกำเนิดของซูชิสายพานที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิถีการกินซูชิของคนญี่ปุ่น แต่ยังกลายเป็นธุรกิจร้านอาหารที่ถูกใจคนไทยในยุคปัจจุบันอย่างมาก...