ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจที่เรียกว่า Digital Disruption ทำให้หลายองค์กรต้องปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันในเศรษฐกิจโลกได้อย่างมั่นคง ดังนั้นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องการคือผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาตอบรับกับเเนวทางของบริษัท แต่ปัญหาในปัจจุบันคือช่องว่างระหว่างนักวิจัยด้านเทคโนโลยีและภาคธุรกิจ ทำให้หลายภาคส่วนหันไปใช้เทคโนโลยีและความรู้จากต่างประเทศที่ไม่ตอบรับกับวัฒนธรรมของไทยอย่างเเท้จริง รวมถึงประเทศไทยจะมีนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่มีผลงานโดดเด่น ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาเพิ่มความสามารถของธุรกิจให้เเข่งขันในเศรษฐกิจระดับโลกได้ แต่ด้วยปัญหาช่องว่างที่ยังไม่มีสะพานเชื่อมโยงภาคการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และภาคธุรกิจ
ด้วยเหตุนี้สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมมือกันจัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่น และงานสัมมนาเชิงวิชาการ Outstanding Technologist Awards and STI Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ Turning Science & Technology into Business ด้วยเเนวคิด “แปลงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจ” งานในครั้งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ของนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ไทยสู่ภาคอุตสาหกรรม
คุณวรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า “ประเทศไทยมีนักวิจัยที่มีความสามารถมากมายแต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและความรู้นี้ยังไม่ถูกนำไปใช้ในสังคมได้ถูกจุด หากเราสามารถเชื่อมโยงในส่วนนี้ได้จะช่วยเสริมขีดความสามารถของธุรกิจไทยด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ได้ เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว รวมถึงการตอบรับกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ของไทย อาทิ ด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัย และอื่น ๆ อีกมากที่ยังรอความรู้มาแก้ไขปัญหานี้”
เสวนาซึ่งเป็นไฮไลท์ของงาน STI Forum 2019 ในครั้งนี้ คือ การบรรยายพิเศษหัวข้อ “Visualizing Business Opportunities through Foresight” โดย Dr. Tamara Carleton, Chief Executive Officer and Founder Innovation Leadership Group, USA งานเสวนาในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่ถอดบทเรียนจากประสบการณ์จริงของธุรกิจระดับโลกรวมถึงการวิเคราะห์โอกาสการเติบโตของธุรกิจ ที่จะช่วยเสริมความรู้ให้นักวิจัยไทยรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจมองเห็นรูปแบบการพัฒนาผ่านกลยุทธ์สร้างธุรกิจในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร แสดงให้เห็นถึงการตอกย้ำเเนวคิดของงานในครั้งนี้ที่นอกจากการมอบรางวัลพระราชทานเพื่อเป็นการสนับสนุนนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 2019 แล้วยังเห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้าสู่ภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน
เมื่อเวลาคือหนึ่งในสิ่งที่ชี้ให้เห็นการสร้างโอกาสการวางเเผนหรือกลยุทธ์สำหรับการเติบโตของธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งข้อที่เราจะเห็นได้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลก เพราะพวกเขาไม่ได้ทำเเคนั่งรอเวลาให้โอกาสเข้ามา แต่เขามองไปถึงอนาคตเเละเริ่มวางโมเดลหรือ Timeline ในแต่ละช่วงว่ปัจจุบันสิ่งที่มีอยู่ในมือเขาคืออะไร ในขั้นตอนต่อไปจะต่อยอดจากสิ่งที่มีอย่างไรให้ธุรกิจของเขาเติบโตขึ้น หนึ่งในประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาพูดคือ โมเดลธุรกิจ 3 ทางที่ถอดบทเรียนจากธุรกิจ Facebook ของ Mark Zuckerberg เขาวางรากฐานการเติบโตทางธุรกิจได้ 3 ทาง จากที่เราทราบกันดีอยู่เเล้วว่า Facebook เป็น Platform online ที่ได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วถึงเเม้ผลิตภัณฑ์ของเขาจะมีเพียงอย่างเดียวก็ยังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เขาไม่ได้หยุดเเค่ Facebook
ในปี 2559 Mark Zuckerberg ได้วางโมเดลการเติบโตของธุรกิจไว้ 3 ทาง ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยโมเดลนี้จะเป็นเหมือนระบบรากฐานธุรกิจของเขา
ทางที่ 1 สร้างระบบผลิตภัณฑ์ของบริษัท 5 ปี อีก 10 ปี สร้างเทคโนโลยีมาเสริมระบบที่มีให้เติบโตขึ้น
ทางที่ 2 ในระยะเวลา 2 ปี ธุรกิจของเขายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากระบบและเทคโนโลยีดั่งเดิมเเต่เขาได้เพิ่มรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงขยายบริษัททั้งสาขาของสถานที่ทำงาน และ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งยังคงเชื่อมโยงสู่ระบบนิเวศน์เดิมไว้ได้
ทางที่ 3 ขยายฐานของธุรกิจให้เพิ่มขึ้นจากเดิมภายใต้ Facebook และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันต่างมี Buzzword ขึ้นมามากมาย ทั้ง Artificial intelligence (AI), Augmented Reality (AR), Blockchain, Internet of things (IoT) หนึ่งในคำถามที่ถูกยกมาเป็นประเด็นในหัวข้อนี้ คุณจะสร้างเรื่องราวจากสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลูกค้าอยากจำคุณได้อย่างไร นี่คือความท้าทายในโลกยุคนี้
คุณจะสื่อสารไปยังทีมวิจัยและนักพัฒนาในการช่วยทำให้วิสัยทัศน์ของคุณให้เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร การสร้างเรื่องราวแรงบันดาลใจคือสิ่งที่จะช่วยโน้มน้าวและทำให้สิ่งที่มุ่งหวังของคุณเป็นจริงขึ้นมาได้
คุณ Tamara ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจาก Amazon เมื่อ CEO และผู้ก่อตั้ง Jeff Bezos ได้พูดถึงความรุ่งเรืองในอนาคต ที่ไม่ใช่กลไกใหม่ หากแต่เป็นการสร้างประกาศแบบสมมติขึ้นมา โดยให้พนักงานเขียน Press release หรือการประชาสัมพันธ์ที่จะส่งไปเผยแพร่ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ด้วยหัวข้อ “เมื่อคุณจากไป อยากให้คนอื่นจดจำคุณอย่างไร ให้เขียนสิ่งนั้น”
โดยการมอบหมายให้คนในทีมเขียนข่าวประชาสัมพันธ์เพื่อแสดง ‘Big Idea’ ในภาษาที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ ไม่ใช่เฉพาะนักข่าว เป้าหมายคือ Amazon ต้องการให้พนักงานคิดถึงลูกค้าตั้งแต่แรกเริ่ม เนื่องจาก Press release นี้ไม่ได้พูดในสิ่งที่ Amazon ทำ แต่เป็นผลกระทบจากบริการที่บริษัทจะมอบให้สู่ตลาดในอนาคต นี่ยังรวมไปถึงการเขียนคำถามที่ถามบ่อยหรือ FAQ ถึงสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับหลังจากปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการสร้างเรื่องราวจำลองในอนาคต รวมไปถึงสร้างบทสนทนาที่พวกเขาคาดหวังให้เกิดขึ้น
คุณ Tamara ได้ยกตัวอย่าง ‘Foresight framework’ ซึ่งออกแบบมาเพื่อระบุและประเมินเทคโนโลยีใหม่ๆ การคาดการณ์ความต้องการในปัจจุบัน และสิ่งที่ลูกค้าในอนาคตต้องการ และการจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วสร้างสรรค์และเป็นระบบที่สุด
การเริ่มวางแผน และสร้างเครื่องมือนั้นจะช่วยให้คนในทีมเข้าใจในโครงสร้างบทสนทนา สามารถมองเห็นภาพการวิเคราะห์และการพัฒนาที่จะทำให้ไอเดียของคุณเป็นจริงขึ้นมาได้
การสร้างแบบจำลองและเฟรมเวิร์คเพื่อช่วยให้คนในทีมเห็นไอเดียเป็นรูปเป็นร่าง โดยคุณ Tamara แนะนำให้เริ่มจากการลงมือทำก่อน แล้วค่อยคิดทีหลัง หรือ Build to think การสร้างแบบจำลองขึ้นมาก่อนจะช่วยเปลี่ยนวิธีในการมองปัญหา อีกทั้งช่วยกระตุ้นความคิดและความเข้าใจในโอกาสที่คุณคิดว่าคุณสามารถทำได้
ในปีพิเศษนี้ทาง TMA ได้ร่วมมือกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมมอบ “รางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 2019” เพื่อเป็นเเรงสนับสนุนให้นักเทคโนโลยีของไทย ที่สร้างผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ผู้ชนะ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช บุญแสงและคณะที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 2019 ด้วยหัวข้องานวิจัยเเพลตฟอร์มเทคโนโลยีฐานด้าน การบูรณาการระบบ (System Integration) เพื่องานหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ สำหรับใช้งานในระบบอุตสาหกรรม 4.0 (CIRACORE) ซึ่งเป็นเเพลตฟอร์มด้านฮาร์ดเเวร์และซอฟท์เเวร์เพื่อหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ที่มีความหลากหลายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกลดเวลาปฏิบัติรวมถึงลดข้อจำกัดในการเชื่อมโยงและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบเเบบเดิมด้วยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นจุดเด่นที่สามารถเพิ่มศักยภาพให้วงการอุตสาหกรรมไทยสู่การเเข่งขันทางธุรกิจระดับนานาชาติในอนาคต
ทั้งหมดนี้เป็นจุดประสงค์หลักที่ทางสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องการถ่ายทอดความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กรใน Ecosystem ของประเทศไทย สร้างโอกาสการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และภาคธุรกิจ ผ่านการเสวนาโดยคุณ Tamara ที่ได้นำความรู้จากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับโลกมาเป็นกรณีศึกษาโดยเเต่ละองค์กรนั้นต่างเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นธุรกิจชั้นนำของโลก เเต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจระดับโลกประสบความสำเร็จจนถึงปัจจุบันไม่ได้มีเพียงรากฐานที่มั่นคง เเต่ต้องรู้จักมองโอกาสและวางกลยุทธ์ พร้อมตอกย้ำแนวคิดของงานในครั้งนี้ด้วยการมอบรางวัลพระราชทานเพื่อขวัญกำลังใจให้นักวิจัยไทยสร้างสรรค์ผลงานดีๆ และนำมาต่อยอดสู่ภาคธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคธุรกิจไทยเติบโตในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด