ผู้บริโภคว่าอย่างไรกับการมาถึงของ PDPA ? | Techsauce

ผู้บริโภคว่าอย่างไรกับการมาถึงของ PDPA ?

ผู้บริโภคตื่นตัวแค่ไหน คิดอย่างไรกับพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพ.ค.63 นี้ ผู้บริโภคคาดหวังอะไรและจะอ่านเงื่อนไขยาวๆเหล่านั้นหรือไม่ เขาไม่ชอบอ่านกันจริงๆ หรือ นักการตลาดคิดไปเอง ? มาดูผลสำรวจกันค่ะ 

ข้อมูลจากผลสำรวจ kNOW ของบริษัท Analytist ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดาต้าและการวิจัยทางดิจิตัล ที่ได้สำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 500 คนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจช่วงวันที่ 11-22 ก.พ. 2563 คือ ช่วงเวลาก่อนที่พรบ.จะบังคับใช้จริง 3 เดือน โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหา Awareness และ Acceptance ของการมีพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึง Attitude และ Understanding  เพื่อเป็นการช่วยองค์กรต่างๆในการเตรียมความพร้อมต่อความคาดหวังที่กำลังจะเกิดในอีก 3 เดือนข้างหน้า  

ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า

 เสียงจากผู้บริโภคค่ะ

Awareness

  • 61% ของผู้บริโภครู้เกี่ยวกับพรบ. และในกลุ่มนี้มี 
  • 12 % ที่ศึกษาข้อมูลแล้ว  
  • 49% ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลเลย
  • 39% ยังไม่ทราบเกี่ยวกับพรบ.นี้เลย  

Acceptance

  • ผู้บริโภคเห็นด้วยมาก ( ในอัตรา 9 .1 จาก 10 ) ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสำคัญและเป็นของส่วนตัว ไม่ควรมีการนำไปขาย หรือ ใช้เพื่อการค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 
  • เห็นด้วยมากกับพรบ.นี้ ( ในอัตรา 9 จาก 10) เท่าๆกันในทุกกลุ่มอาชีพ
  • อายุที่มากขึ้นทำให้เห็นด้วยมากขึ้น ตามเทรนด์คือผู้ที่เห็นด้วยน้อยสุดคืออายุต่ำกว่า 20 ปี (นักศึกษา) และผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
  • 68% คิดว่าพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลนี้ให้ประโยชน์มากกว่าโทษ, 
  • 30% ไม่แน่ใจ และมีเพียง 2% ที่เห็นว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์
  • 78% ยังไม่ทราบว่าบทลงโทษทางอาญา คือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาทและ/หรือ จำคุกสูงสุด 1 ปี
  • 57% เข้าใจถูกต้องว่าพรบ.บังคับให้บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง
  • 45% ตอบว่า สิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อมีพรบ.นี้  คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย

ถ้าเลือกได้ 

  • 49% บอกว่าจะไม่ยินยอมแน่นอนที่จะให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของเค้า (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง)
  • 48% บอกจะอ่านรายละเอียดก่อนการยินยอม ถ้าเป็นประโยชน์ก็โอเค  
  • มีเพียง 2% ที่จะยินยอมแน่นอน

แล้วถ้าทำเงื่อนไขยาวๆนี่จะอ่านกันจริงหรือไม่ ? 

  • ที่ผ่านมาส่วนใหญ่อ่านเงื่อนไขกันคร่าวๆประมาณ 50%  และอีกส่วนอ่านแค่ 20% 
  • ที่อ่านโดยละเอียดครบถ้วน มี 18%  
  • และมีอยู่ 13% ไม่เคยอ่านเลย 

ข้อมูลใดบ้างที่ผู้บริโภคไม่ชอบกรอก 

  • รู้ไว้ เพื่อนักการตลาดจะได้เลือกถามเฉพาะที่จำเป็นและผู้บริโภคไม่รังเกียจ
  • ส่วนข้อมูลที่พอกรอกได้ (แต่ก็ไม่ได้ชอบกรอก) คือ ชื่อ นามสกุล, อีเมล, การศึกษา, อาชีพ และวันเดือนปีเกิดค่ะ 
  • ข้อมูลที่ไม่ชอบกรอกมากที่สุด คือ รายได้ ( โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง )
  • รองลงมาคือเบอร์โทรศัพท์ และ ที่อยู่ ( น่าจะเกิดจากการขอบ่อยและซ้ำซ้อนมากเกินไป)
  • เลขบัตรประชาชนก็มาแรงมาก

มี Segment หนึ่งที่มีคำตอบเด่นชัดกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ ผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่ไม่ชอบกรอกข้อมูลรายได้ ไม่อ่านเงื่อนไขยาวๆ  และ มักเลือกที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล ถึงแม้จะยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพรบ.นี้เลยจึงไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับบทลงโทษ แต่ก็เห็นประโยชน์มากกว่าโทษ มีโอกาส 80% ที่จะใช้สิทธิ์ในการคัดค้านการเก็บข้อมูล 

และหากสินค้าหรือบริการของเรามีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ถ้าไม่จำเป็นก็ควรเลิกถามเรื่องรายได้ โดยเฉพาะการขายออนไลน์ เพราะจากการสำรวจนี้ ผู้บริหารระดับสูงกว่า 40% ซื้อของออนไลน์สูงที่สุดสูงกว่าทุกกลุ่ม และมากกว่า 20 ครั้งต่อปี

สรุป  

ผู้บริโภคส่วนมากรู้เกี่ยวกับพรบ.นี้แต่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูล แต่ก็สนับสนุนการมีพรบ. และเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ เกือบครึ่งตอบว่าสิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อพรบ.มีผล คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย  คาดว่าเกิดจากประสบการ์ณที่ไม่ดีที่โดนติดต่อจากองค์กรที่ตนไม่ได้ให้ข้อมูล โดยเฉพาะในกลุ่มที่โดนบ่อยจะยิ่งมีการต่อต้าน

แต่ส่วนใหญ่อ่านเนื้อหาเงื่อนไขกันคร่าวๆ ประมาณ 50%  ไม่ได้อ่านทั้งหมด

ข่าวร้ายคือ มีครึ่งนึงที่อาจตัดสินไม่ให้ Consent โดยไม่สนใจเงื่อนไข ซึ่งหากแบรนด์ทำให้กลุ่มนี้ผิดหวังอาจเสียล๔กค้าไปได้ง่ายๆเลย 

ข่าวดี ก็คือ มีอีกครึ่งนึงที่สนใจอ่านเงื่อนไข หากเราทำให้ดูโปร่งใส น่าเชื่อถือ หรือ มีสิ่งจูงใจให้เพิ่มเติมก็น่าจะขอ Consent มาได้ไม่ยาก 

ในยุคที่การแข่งขันสูงขนาดนี้ หากองค์กรอยากพลิกวิกฤตเป็นโอกาส  สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้มากกว่าคู่แข่ง พรบ.นี้ก็ถือว่าเข้ามาช่วยทำคะแนนได้อีก !

ข้อมูลกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม

อายุ :  

  • กว่า 80% เป็นเจน X และ Y ที่อายุ 30-49 ปี 
  • 10% อายุ 20-29 ปี และ 7% อายุ 50-59 ปี 
  • อีก 1% ต่ำกว่า 20 ปี และ 1% 60 ปีขึ้นไป

อาชีพ : 

  • 50% เป็นพนักงานบริษัทเอกชน, 24% อาชีพอิสระ, 
  • 10% เป็นเจ้าของกิจการ, 10% รับราชการ, 
  • 2% เป็นผู้บริหารระดับสูง และ 1% นักศึกษา

ที่อยู่ : 

  • 58% เป็นชาวกทม.
  • และที่เหลือมาจากอีกหลายจังหวัดทั่วไทย อาทิ เช่น เชียงใหม่, นครสวรรค์, ระยอง, สงขลา, นครปฐม, เชียงราย เป็นต้น 

พฤติกรรมการบริโภค : 

  • กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 64% ช็อปออนไลน์มากกว่า 10 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา 
  • และ 64% มีการสมัครบัตรสมาชิก/บัตรต่างๆที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว 1-10 ครั้ง

หากสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PDPA สามารถเข้าเวบไซต์ PDPA Thailand : https://sites.google.com/view/pdpa-2019/pdpa-home  หรือ  แนวทางปฎิบัติ Thailand Data Protection Guidelines 1.0 จากทางศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  : https://www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/06/tdpg.pdf

ผู้เขียน : Analytist Team

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...