พรบ.นี้มีผลกับทุกองค์กรทั่วโลกที่เก็บข้อมูลของคนไทย จึงไม่มีองค์กรไหนสามารถทำเพิกเฉยกับมันได้ กับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรียกกันว่า PDPA ( Personal Data Protection Act ) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบวันที่ 27 พ.ค.2563 นี้แล้ว คือ อีก 3 เดือนเท่านั้น เริ่มตอนนี้ก็ยังทันนะคะ
โดยบทความนี้จะช่วยท่านผู้บริหารและ CEO ให้เข้าใจผลของการมีพรบ.นี้มากขึ้น และเราได้เตรียม Roadmap การเตรียมพร้อมขององค์กรท่านมาไว้ให้ด้วย หากท่านยังไม่แน่ใจว่าการมีกฎหมายนี้อาจสร้างความเสี่ยงให้บริษัทได้มากแค่ไหน ลองดูกรณีศึกษาจากต่างประเทศที่มีการใช้กฎหมายนี้มาก่อนเราที่มีการปรับมาแล้วหลากหลายรูปแบบ
Facebook ทำรายได้ มากถึง 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 แต่โดนปรับจาก FTC กรณีละเมิดสิทธิ์ไปประมาณ 5 พันกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นประมาณ 10% ของรายได้ทั้งหมด จากกรณีแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านคนให้บริษัท Cambridge Analytica วิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนด้านการเมือง โดยที่ไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ใช้งาน ว่ากันว่าคดีนี้เป็นคดีละเมิดสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีค่าปรับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกเลยทีเดียว
Google ทำรายได้ 1แสนสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 แต่ก็โดนปรับไปประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 1.5% ของรายได้ โดย Google มีโดนหลายเคสมาก แต่ที่โด่งดังคือการประมวลผลข้อมูลของผู้เยาว์เพื่อทำการขายโฆษณาแบบเจาะจง ( Re-targeting Ad ) โดยไม่ได้ขอคำยินยอมจากผู้ปกครอง และอีกเคสที่ดังมาก เพราะยอดค่าปรับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของ GDPR เลย คือ กรณีทำ Consent แบบแอบซ่อน ไม่ชัดเจนตอนที่รับสมัครสมาชิก Google account ต้องให้ผู้ใช้งานกดหลายขั้นตอน และมีการนำข้อมูลไปทำ Personalized Advertisement
British Airways ทำรายได้ 1 หมื่นสามพันล้านปอนด์ ในปี 2018 แต่ก็โดนปรับจากไป 204 ล้านปอนด์ หรือ คิดเป็นประมาณ 1% ของรายได้จากกรณีถูกเจาะระบบข้อมูลทำให้ข้อมูลลูกค้ากว่า 500,000 คนถูกขโมยไปจากการแฮกเวบไซต์ คล้ายๆ Phishing ข้อมูลที่ถูกขโมยได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ อีเมล และข้อมูลการชำระเงิน คดีนี้เป็นคดีละเมิดสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีค่าปรับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ICO เลยทีเดียว
Marriott International เครือโรงแรม W, Westin, Le Meridien และ Sheraton ถูกปรับจาก GDPR 99.2 ล้านปอนด์ เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงรายละเอียดบัตรเครดิต หมายเลขพาสปอร์ต และวันเดือนปีเกิดของลูกค้ากว่า 339 ล้านคนถูกแฮ๊คไป
ส่วนประเทศในเอเชียอย่างสิงคโปร์ที่ถึงแม้จะมีการบังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ก็มีการเพิ่มความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ระบบ IT ของ SingHealth ถูกแฮ็ค ส่งผลให้ข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและคลีนิคในเครือ 1,500,000 คนถูกขโมยออกไป ข้อมูลได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เพศ สัญชาติ วันเกิด และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน นอกจากนี้ ข้อมูลการจ่ายยาผู้ป่วยนอกอีกประมาณ 160,000 รายก็ได้ถูกขโมยออกไปด้วย หนึ่งในนั้นคือข้อมูลของ Lee Hsien Loong นายกรัฐมันตรีคนปัจจุบันของสิงคโปร์ ค่าปรับจากคดีนี้สูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทำให้ในปี 2019 มียอดการปรับรวมสูงถึง 1.54 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ สูงสุดในประวัติกาลของสิงคโปร์และก็สูงกว่า 3 ปีก่อน (2016-2018) รวมกันถึงเกือบ 5 เท่า โดยในกว่า 100 องค์กรที่โดนปรับมาจากทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะค้าปลีก, การเงิน, วิชาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ส่วนใหญ่มาจากการมีระบบปกป้องข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน และ ที่น่าแปลกใจคือ องค์กรการกุศลมีถึง 10 แห่งที่มีความผิดและโดนปรับรวมกันมากถึง
ถือว่ารุนแรงกว่า GDPR ของยุโรป คือ มีโทษจำคุกด้วยซึ่งกรรมการบริษัทคือผู้รับโทษนี้ ขณะที่ GDPR มีเฉพาะโทษทางเแพ่งอย่างเดียว
GDPR ใช้เวลาเพียง 2 ปีก็สามารถแผลงฤทธิ์ใส่องค์กรใหญ่ๆไปได้หนักหน่วงทีเดียว และ PDPA ในประเทศที่มีใช้มานานแล้วก็มีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของเทรนด์การเก็บข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนำมาวิเคราะห์ เห็นความเสี่ยงใกล้ๆตัวหรือยังคะ ? หากเราดูจากเคสตัวอย่าง เทียบค่าปรับจากเปอร์เซ็นต์ของยอดขายอาจดูไม่เยอะ เพียงแค่ 1-10% ถ้าเทียบจากรายได้มหาศาลของบริษัทเหล่านั้น กลับกันหากเป็นบริษัทเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 50 ล้านบาท แล้วโดนปรับ 5 ล้านบาท อาจเป็น 10% ที่แสนสาหัสมากเลยทีเดียว สำหรับในบ้านเรานี้ คงไม่มีใครอยากเจิม PDPA เป็นคดีแรกหรอกใช่มั้ยคะ
1 ) องค์กรคุณถูกบังคับใช้พรบ.นี้ด้วยหรือไม่ ? ถ้าเข้าข่าย 3 แบบข้างล่าง ถือว่าใช่ค่ะ
2 ) แล้วมีเก็บข้อมูลใดของผู้บริโภคอยู่บ้างที่เข้าข่าย ?
ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคลตามพรบ.นี้ คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่ถูกเก็บทั้งแบบ Online และ Offline ซึ่งหมายความกว้างมาก คีย์อยู่ที่การทำให้การระบุตัวตนได้ เช่น
ชื่อ นามสกุล
ใจความของตัวพรบ. คือการให้สิทธิเหล่านี้แก่ของเจ้าของข้อมูล
โดยพรบ.กำหนดระยะในการทำตามคำร้องขอให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
3 ) ซึ่งหมายถึงการที่องค์กรจะมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
1. การเก็บข้อมูล ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ห้ามเก็บจากแหล่งอื่น ต้องแจ้งสิทธิ รายละเอียด และวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบเสมอ และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ
เก็บเท่าที่จำเป็น ชอบด้วยกฎหมาย และต้องลบเมื่อพ้นระยยะเวลาที่จำเป็นหรือที่ได้แจ้งไว้
การขอความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ
การถอนความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ
2. การใช้และเปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ และจะต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้เท่านั้น
3. การเข้าถึงและแก้ไข ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง และแก้ไขได้ เช่น เวบ CRM หรือ Call Center
4. การโอนข้อมูลไปต่างประเทศ ปลายทางจะต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองที่เพียงพอ ( เช่น การนำข้อมูลขึ้น Cloud หรือ Server อยู่ที่ต่างประเทศ )
5. มีมาตรการการรักษาความปลอดภัย ต้องจัดให้มีระบบป้องกันข้อมูลที่ได้มาตรฐาน และหากพบว่ามีการรั่วของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลภายใน 72 ชม.จากที่ทราบเหตุ
มีข้อยกเว้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ทำให้การเก็บข้อมูลไม่ต้องได้รับความยินยอม
ถ้าองค์กรเราไม่มีเข้าข้อยกเว้นเลย ก็เริ่มงานได้แล้วค่ะ
4) เริ่มจากส่วนกลางก่อนเลยค่ะ
กำหนดบทบาท
5) และขอบอกเลยว่า เกี่ยวทุกแผนกนะคะ แยกงานเป็นแต่ละแผนกมาให้คร่าวๆแล้ว
ใครเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย ต้อง assess และ prioritize กันให้ดีค่ะ
ตัวกฎหมายเองยังลงรายละเอียดไม่สุด และอีกภายใน 1 ปี จะต้องมีกฎหมายลูกที่ระบุแน่ชัดออกมารองรับ เคลียร์ความเทาในหลายๆกรณี แต่ไม่เป็นการเสียหายหากองค์กรจะเริ่มทำแบบ Best Practice ไว้ก่อน เพราะกฎมีแต่แนวโน้มว่าจะเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าอ่อนลงค่ะ
ผู้เขียน : Analytist Team
เตรียมตัวให้พร้อม! มาร่วม Shaping the New Future ให้กับธุรกิจของคุณใน Techsauce Virtual Summit 2020
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด