รู้จัก อูกูร์ ซาฮิน ผู้อยู่เบื้องหลังวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ไม่ขายหุ้นบริษัทในยามเฟื่องฟูแม้แต่ตัวเดียว | Techsauce

รู้จัก อูกูร์ ซาฮิน ผู้อยู่เบื้องหลังวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ไม่ขายหุ้นบริษัทในยามเฟื่องฟูแม้แต่ตัวเดียว

ในปี 2020 ที่ผ่านมา นอกจากเราจะได้สังเกตเห็นถึงความปั่นป่วนและวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไวรัส COVID-19 แล้ว ที่ได้สร้างผลกระทบเชิงลบในแทบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้นอุตสาหกรรม biopharma ที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการอย่างล้มหลามจากทั่วโลกของยารักษาโรคและวัคซีน และ Pfizer-BioNTech ก็เป็น 1 ในนั้น

Pfizer-BioNTech

แน่นอน มุมมองในแง่ของตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งนักลงทุนและเจ้าของบริษัทต่างก็มองไปที่ราคาหุ้นของบริษัทยาที่จะรับกำไรกันอย่างมหาศาล หากมีบริษัทนั้นสามารถที่จะทดสอบวัคซีน COVID-19 ได้สำเร็จ และนี่ก็คงเป็นเหตุผลให้กับ CEO ของ Moderna และ Pfizer ตัดสินใจขายหุ้นจำนวนมหาศาลเพื่อเอากำไรหลังจากที่ผลทดสอบวัคซีนออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ ซึ่งตรงกันข้ามกับ Uğur Şahin (อูกูร์ ซาฮิน) CEO ของ BioNTech ผู้ผลิตยาและวัคซีนสัญชาติเยอรมันที่ร่วมมือกับ Pfizer ในการผลิตวัคซีน ที่เขากลับไม่ตัดสินใจเทขายหุ้นบริษัทผลิตวัคซีนของตนสักตัวเดียว แม้ว่าหุ้นของเขาจะอยู่ในช่วงตลาดขาขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม  มาดูกันว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้เขายังเก็บหุ้นไว้ เขามองเห็นอะไรในตลาด biopharma ในระยะหลังจากนี้ ที่โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง   

mRNA: เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวิต Uğur Şahin และ BioNTech

ย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาด Uğur Şahin เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาด้านมะเร็งวิทยาและโรคติดเชื้อ เขาได้จัดตั้งบริษัทด้าน Biotechnology ที่ชื่อว่า BioNTech เมื่อปี 2008 ซึ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคมะเร็ง หนึ่งในนั้นก็ได้มีเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA อยู่ในการพัฒนา แต่เดิมบริษัท BioNTech ไม่ได้มีชื่อเสียงหรือหวือหวาเท่าใดนักเมื่อเทียบกับบริษัทเวชภัณฑ์รายอื่น อีกทั้งในปี 2019 บริษัทรายงานตัวเลขขาดทุนมากกว่ากำไรอีกด้วย 

แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เกิดขึ้นในช่วงต้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 เดือนมกราคม ปี 2020 Uğur Şahin ได้สังเกตการณ์การแพร่ระบาด และจุดประกายไอเดียขึ้นมาว่า mRNA อาจใช้รักษา COVID-19 ได้ และอาจช่วยชีวิตคนได้นับล้านคนจากวิกฤติครั้งนี้ บริษัท BioNTech จึงผันตัวจากการผลิตยาเพื่อต้านมะเร็ง มาเน้นการผลิตวัคซีนเพื่อต้านCOVID-19 โดยเฉพาะ นอกจากนี้ Uğur Şahin ก็ตัดสินใจร่วมพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่เวชภัณฑ์สหรัฐอย่าง Pfizer เพื่อร่วมพัฒนาวิจัยผลิตวัคซีนกว่า 3,000 ล้าน Doseให้เสร็จสิ้นก่อนจบปี 2020 

การตัดสินใจครั้งนี้ของ Uğur Şahin ทำให้ดึงดูดและเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจำนวนมหาศาล มูลค่าบริษัทตลอดทั้งปี 2020 เพิ่มขึ้น 900% อยู่ที่ 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่างจากในช่วงแรก ปี 2019 ที่นักลงทุนให้มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 3,400 ล้านดอลลาร์ นับว่าความนิยมบริษัท BioNTech ได้พลิกจากหลังมือเป็นหน้ามือเลยทีเดียว 

อะไรซ่อนอยู่ใน mRNA เทคโนโลยีปฏิวัติวงการเภสัชภัณฑ์

จะเห็นได้ว่าบริษัท BioNTech ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามด้วยผลงานวัคซีน COVID-19 อันโดดเด่นในเวลาไม่ถึงปี และ Uğur Şahin ที่ถือหุ้นในบริษัท BioNTech 17% ขณะนี้ก็มีความมั่งคั่งราว 6,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม Uğur Şahin ยังคงตัดสินใจเก็บหุ้นของบริษัทตนต่อไป ไม่ได้ขายหุ้นโดยทันทีเหมือน CEO รายอื่น เพราะแท้จริงแล้ว Uğur Şahin ยังคงเชื่อมั่นว่า BioNTech จะเติบโตและราคาไปได้ไกลมากกว่านี้ โดย Uğur Şahin ได้กล่าวกับทางนักลงทุนในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมาว่า

“แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของเราไม่ได้มาจากความต้องการที่จะผลิตวัคซีน COVID-19 แล้วเสร็จสิ้นภารกิจเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว เป้าหมายของเราตั้งแต่แรกก็คือการผลิตเทคโนโลยีรูปแบบใหม่สำหรับวงการเภสัชภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ และสามารถใช้รักษาโรคอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำ” 

ดังนั้นความสำเร็จในการผลิตวัคซีน COVID-19 สำหรับ Uğur นั้นไม่ใช่ที่สุดของ BioNTech แต่อย่างใด แต่กลับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่จะยกระดับเพิ่มความสามารถพัฒนา mRNA ให้มีประสิทธิภาพทางการแพทย์ ใช้รักษาโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม หรืออาจอุบัติขึ้นมาได้อีกในอนาคต

อ้างอิง: Forbes 






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...