บทความนี้เรียบเรียงจากเว็บไซต์ Business Insider และ Pitchbook เพื่อนำเสนอภาพรวมของ Private Company ด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโมเดลที่ Startup สามารถนำมาศึกษาเป็นตัวอย่างการเติบโตได้
การขยายตัวของตลาดสินค้าเทคโนโลยี ทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลายมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่บริษัทไอทีแบบ Public Company ที่ระดมทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น แต่บริษัทจำกัดหรือ Private Company ที่มีผู้ถือหุ้นจำกัดจำนวนก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ยิ่งเมื่อ Startup เป็น Trend ของการทำธุรกิจ การลงทุนของรายใหญ่จึงเริ่มหันมาหาบรรดา Startup ที่นับว่าเป็น Private Company มากขึ้นตามไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้หยิบเอาอันดับมูลค่าของ Private Tech Company ที่อัพเดทล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2018 มาให้ทุกท่านได้ทราบกัน โดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ซึ่งมีมูลค่าเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปจนถึงเกือบ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับ 28 Private Tech Company ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในปี 2018 มีดังนี้
บริษัทผลิตหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิงและการศึกษาจากประเทศจีน เพิ่งรับเงินลงทุนจาก Tencent Holding เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผู้ผลิตเกมมือถือแบบเล่นหลายคนหรือ Multi-Player จากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ มีเกมเด่นคือ Mobile Strike และ Final Fantasy XV: A New Empire
Marketplace ในประเทศเกาหลีใต้ เน้นขายผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ได้รับเงินลงทุนราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2015 ที่นำโดย Softbank Capital
บริการ Ride-Hailing สัญชาติอินโดนีเซีย ที่กำลังมีแผนจะขยายตลาดมายังประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเพิ่งรับเงินลงทุนมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Astra International และ Tencent Holding
Platform สำหรับการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจากเมืองซาน ฟรานซิสโก สหรัฐฯ ได้รับเงินลงทุนครั้งล่าสุดเมื่อปี 2017 นำโดย Softbank Group
แอปพลิเคชั่นให้บริการทางการแพทย์ในประเทศจีน เพิ่งได้รับเงินลงทุนจาก AIA และ NWS Holding เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นบริการซื้อขายแลกเปลี่ยน Cryptocurrency จากซาน ฟรานซิสโก สหรัฐฯ Startup รายนี้ได้รับการลงทุนจาก DST Global เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2018
Ride-Hailing สัญชาติมาเลเซียที่คนไทยรู้จักกันดี เพิ่งควบรวมกิจการของ Uber ในแถบเอเชียตะตัวออกเฉียงใต้เมื่อช่วงเดือนมีนาคม และมี Ride-Hailing จากจีนอย่าง Didi Chuxing เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนด้วย
บริษัทจีนที่พัฒนา Platform ซื้อขายและเช่าอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ ได้รับเงินลงทุนจาก Sunac บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศจีน
Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยี Augmented Reality และ Mixed Reality จากรัฐฟลอริด้า สหรัฐฯ เพิ่งประกาศการรับเงินลงทุนรอบล่าสุดเป็นมูลค่าเกือบพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจาก Temasek และกลุ่มทุนในประเทศซาอุดิอารเบีย
บริษัทไอทีของจีนที่พัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับภาค Logistic อย่างการเชื่อมต่อผู้ขับรถบรรทุกกับ Distributor ได้รับการสนับสนุนจาก Softbank และ China Reform Fund Management เป็นมูลค่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
บริษัทด้าน Biotechnology ที่พัฒนายาและนวัตกรรมจาก mRNA หนึ่งในสารประกอบโปรตีนใน DNA ปัจจุบันได้รับสนับสนุนการลงทุนจาก Merck บริษัทยาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับบริการกู้ยืมเงินแบบ P2P จากประเทศจีน ก่อตั้งเมื่อปี 2015 เน้นให้บริการในประเทศจีนเป็นหลัก
ผู้ผลิตโดรนบินได้ชื่อดังจากประเทศจีน ปัจจุบันเป็นบริษัทผลิตโดรนที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดในโลกและได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนเบอร์ต้นของโลกอย่าง Accel และ KPCB
Startup ที่พัฒนา Internet Payment Platform จากสหรัฐฯ มีลูกค้าเป็นองค์กรธุรกิจมากมาย รวมถึง Grab และยังมีบริการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ด้วย
Platform ด้าน Mobile Payment และ e-commerce จากประเทศอินเดีย มีอนาคที่สดใสจากตลาดขนาดใหญ่ในประเทศ และยังพร้อม Scale ออกไปต่างประเทศด้วย Softbank Group เป็นผู้นำการเข้าลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2017
Ride-Hailing จากสหรัฐฯ ที่หลายคนจดจำได้จากรูปหนวดสีชมพูสดใส โดยล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2018 ได้รับเงินลงทุนจาก CapitalG เป็นมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อีกบริษัทด้าน Biotechnology ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการฟื้นฟูอวัยวะและเน้นการรักษาโรคถึงจุดที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐบาลสหรัฐฯ และบริษัทเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่อย่าง IKEA Group
Platform สำหรับเก็บบันทึก Content ทุกรูปแบบบน World Wide Web หรือที่เรียกว่า Online Pinboard จากสหรัฐฯ เปิดตัวตั้งแต่ปี 2010 และมียอดผู้ใช้เดือนละกว่า 200 ล้านราย
Platform ซื้อขายสินค้าและบริการราคาพิเศษบนออนไลน์หรือ Discount Deal Platform จากประเทศจีน ได้รับเงินลงทุนเป็นมูลค่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Tencent Holding
สำนักข่าวออนไลน์ของประเทศจีนจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีจุดเด่นที่ใช้อัลกอริทึ่มวิเคราะห์ผู้ใช้เป็นรายคนเพื่อนำเสนอเนื้อหาได้แม่นยำ โดยรับการลงทุนรอบล่าสุดสูงถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก General Atlantic
บริษัทด้าน Big Data สำหรับหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนแบบครบวงจร จัดตั้งเมื่อปี 2013 โดยมีผู้ก่อตั้ง Paypal ร่วมก่อตั้งด้วย
Co-Working Space จากเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐฯ โดยได้รับเงินลงทุนสูงสุดเมื่อปี 2017 เป็นมูลค่าราว 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากนักลงทุนที่นำโดย Softbank
บริษัทเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศของ Elon Musk ได้รับเงินลงทุนรอบล่าสุดเมื่อเมษายนปี 2018 จาก Fidelity Investments บริษัทด้านบริหารทรัพย์สิน Top 5 ของโลก
บริษัท E-commerce ให้บริการด้านจองร้านอาหารกับบริการต่างๆ และซื้อขายบัตร Event กับ Concert ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ได้รับเงินลงทุนรอบล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2017 นำโดย Tencent เป็นมูลค่ารวม 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Startup ที่ให้บริการจองที่พักแบบ Online Peer-to-peer ที่หลายคนรู้จักกันดี เคยได้รับเงินลงทุนสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2015
ผู้พัฒนาระบบ Ride-Hailing ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ได้รับเงินลงทุนมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Softbank และ Mubadala Development
สำหรับ Private Tech Company ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกปี 2018 เป็นของ Uber ผู้ริเริ่ม Ride-Hailing จากสหรัฐฯ โดยรอบรับการลงทุนที่น่าสนใจที่สุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2017 นำโดย Softbank, Tencent กับ Didi Chuxing ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จาก 26 บริษัท มี 14 บริษัทมาจากสหรัฐฯ และ 10 บริษัทที่มาจากประเทศจีน ซึ่งจีนมีความน่าสนใจที่ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศอย่าง Tencent อีกทั้งยังมีมูลค่าสูงมากแม้จะไม่ได้เน้นให้บริการในต่างประเทศ แสดงถึงตลาดในประเทศที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ทั้งบริษัทที่ติดอันก็มีบริการที่หลากหลายและส่วนใหญ่เป็นด้าน E-commerce
ส่วน VC ที่ลงทุนกับบริษัทในนี้มากที่สุดคือ Softbank ซึ่งนำการลงทุนมากถึง 8 ราย และรูปแบบบริการที่ติดลิสต์นี้อย่างเด่นชัดที่สุดเป็นของบริการ Ride Hailing โดยมี 5 ราย ได้แก่ Uber, Didi Chuxing, Lyft, Grab และ Gojek
แน่นอนว่าใน 28 อันดับยังไม่มี Statup ไทยติด ส่วนในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีเพียง Grab กับ Go-Jek เท่านั้น ซึ่งถึงแม้ว่ามูลค่าบริษัทไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของภูมิภาค แต่ก็เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของภูมิภาคที่ดี เพราะการมีบริษัทในภูมิภาคติดอันดับได้ถึง 2 บริษัทย่อมแสดงถึงศักยภาพการแข่งขันที่รอวันเติบโตในอนาคตอยู่
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือการติดอันดับของบริษัทที่พัฒนาด้าน Biotechnology ซึ่งเป็น Deep Tech ที่การทำกำไรยังไม่น่าเกิดขึ้นในเวลานี้ แต่ก็ทำให้เห็นว่ามีนักลงทุนที่พร้อมจะสนับสนุนเทคโนโลยีขั้นสูงด้วยตัวเลขเม็ดเงินที่ไม่น้อยทีเดียว
แปลและเรียบเรียงจาก businessinsider.com และ pitchbook.com