แย้มแนวคิดนวัตกรรมแซ่บๆ จาก 5 Startup team ใน PTT Tech Savvy Agent | Techsauce

แย้มแนวคิดนวัตกรรมแซ่บๆ จาก 5 Startup team ใน PTT Tech Savvy Agent

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทใหญ่ในประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะการบ่มเพาะจากความสามารถและทรัพยากรภายในองค์กรในรูปแบบ Internal Startup ที่เกิดขึ้นมากมาย แต่หากต้องเลือกโครงการ Internal Startup ที่โดดเด่นสักแห่งหนึ่ง ชื่อของ PTT Tech Savvy Agent จาก ปตท. บริษัทพลังงานชั้นนำของไทยคงเป็นชื่อแรกที่เรานึกถึงกันแน่นอน ทั้งในแง่ความน่าสนใจของแนวคิดและ Impact ที่ก่อในเศรษฐกิจของประเทศ

ล่าสุด PTT ExpresSo หน่วยงานด้านการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรของ ปตท. ได้เชิญ Techsauce ไปร่วมพูดคุยกับ 5 Startup team ตัวแทนของผู้เข้าร่วมโครงการ PTT Tech Savvy Agent ถึงที่ ณ ห้อง Co-working space อาคาร Harmony ปตท สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดี แน่นอนว่าเราไม่พลาดโอกาสนี้และขอนำบทสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกัน

สำหรับ 5 Startup จาก PTT Tech Savvy Agent ที่ร่วมพูดคุยกับเราประกอบด้วย CarbonBit, igloo, GoNa, Upcycling Hero และ หมอโรงงาน

CarbonBit ผู้ตั้งเป้ายกระดับการซื้อขาย Carbon Credit ด้วย Blockchain

PTT เป็นบริษัทพลังงานอันดับต้นๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซโลกร้อน CO2 (Carbon dioxide) เป็นปริมาณมาก ซึ่งกลไกควบคุมที่ต้องพูดถึงคือ Carbon Credit โดยเป็นกลไกให้บริษัทใหญ่ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ลงทุนสนับสนุนกระบวนการที่ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีประสิทธิภาพสมาชิกทีม CarbonBit ประกอบด้วย คุณพฤกษ์ พงศ์พฤกษา, คุณสิริพร เทียมเมฆา และคุณปัญญมี สัจจกมล

แน่นอนว่า PTT เป็นองค์กรที่ใช้กลไก Carbon Credit ภายในอยู่แล้ว แต่ยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับโอกาสที่อยู่ภายนอกองค์กร โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประเทศไทยยังไม่มี Platform กลางสำหรับซื้อขาย Carbon Credit ในระดับประเทศที่จะช่วยเชื่อมโยงศักยภาพการผลิต Carbon Credit กับความต้องการซื้อจำนวนมหาศาลของลูกค้า PTT Pain Point ดังกล่าวคือที่มาให้เกิดการรวมตัวของ CarbonBit กลุ่มนักกลยุทธ์ที่มองเห็นทั้งปัญหาและโอกาสในเวลาเดียวกัน ด้วยความเข้าใจในธุรกิจพลังงานของ ปตท. ทำให้แนวคิดของทีม CarbonBit ได้รับความสนใจจากทั้งผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรเป็นจำนวนมาก

CarbonBit ได้เข้าร่วมโครงการ PTT Tech Savvy Agent โดยเสนอแนวคิดการสร้าง Platform จับคู่ระหว่างผู้ต้องการซื้อกับผู้ต้องการขาย Carbon Credit โดยมองไปที่การเชื่อมโยงกับความต้องการซื้อขายภายนอกองค์กร ซึ่งนอกจากการเข้าร่วม PTT Tech Savvy Agent แล้วทีม CarbonBit ยังได้รับรางวัล PTT Innovation Award ปี 2019 สาขา Innovative Idea ในระดับ Silver ด้วย

ทีม CarbonBit กล่าวว่า PTT เป็นบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ที่สุดและมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อย CO2 หากภาครัฐออกกฎหมายควบคุม CO2 ก็อาจส่งผลกระทบทางการเงินขององค์กรได้ ดังนั้น สิ่งที่ PTT ต้องการในระยะสั้นคือการใช้กลไก Carbon Credit จากภายนอกให้คุ้มค่าที่สุด จึงเป็นที่มาของการพัฒนา Platform เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนให้ดำเนินการอย่างแข็งขัน

แม้จะมีแนวคิดและเป้าหมาย แต่หากขาดการบ่มเพาะที่เหมาะสมก็อาจไม่สามารถผลักดันภารกิจไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่ง CarbonBit สะท้อนว่า PTT Tech Savvy Agent เป็นโครงการที่เสริม Mindset ด้าน Entreprenuership เป็นอย่างดี ซึ่งเดิมทีแม้จะเห็นปัญหาแต่ด้วยความเป็นพนักงานประจำก็อาจจะขาดบางแง่มุมในการผลักดันนวัตกรรมให้ยืนได้ด้วยตัวเองได้

สำหรับแผนในอนาคต CarbonBit ต้องการผลักดัน Platform อย่างจริงจังทั้งในแง่ความร่วมมือที่มองไปยังกลุ่มผู้ปลูกป่า และเครือข่ายด้าน Carbon Credit รายอื่นๆ ในระดับประเทศ และหมายตาไปยังเทคโนโลยี Blockchain อันเป็นตัวช่วยให้การทำธุรกรรมดำเนินไปอย่างเป็นอัตโนมัติ แม่นยำ และน่าเชื่อถือ

Gona นักออกแบบระบบ Public Transit ที่มองไกลถึงยุค Smart City

สมาชิกทีม GoNa ประกอบด้วย คุณชยุตม์ จัตุนวรัตน์, คุณคมกฤช สีวะรา, คุณยลดา ลาภานิกร, คุณธิปก เตชะสมิต (ที่ปรึกษา) และนายชานน เจษฎาพาณิชย์  (ที่ปรึกษา)

GoNa เป็นทีมที่เริ่มต้นไอเดียจากงาน Bangkok Foresight 2030 ที่ว่าด้วยการพากรุงเทพสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City โดยปัญหาที่ทีมเลือกคือเรื่องการคมนาคมสาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวกรุงเทพประสบมานานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ทีม GoNa ชี้ว่า การคมนาคมขนส่งในกรุงเทพปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบราง รถโดยสารประจำทาง รถตู้ที่เชื่อมโยงรอบนอก ไปจนถึงรถรับจ้างสาธารณะรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น รถประจำทางมีราคาเข้าถึงได้ แต่ใช้เวลาเดินทางนาน และบางครั้งต้องเดินทางในหลายระบบเพื่อไปถึงจุดหมายเดียว ในขณะเดียวกัน รถรับจ้างสาธารณะแม้จะรวดเร็วกว่า สะดวกกว่า แต่ก็มีราคาสูงกว่ามาก ประกอบกับแนวโน้มที่คนรุ่นใหม่ลดการซื้อรถยนต์ลง ทำให้ระบบคมนาคมสาธารณะต้องรองรับคนกลุ่มนี้มากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวคิดต้องการเพิ่มทางเลือกเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกกว่า รวดเร็วกว่า และมีราคาเหมาะสมเข้าถึงได้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งทีมมองไปที่รูปแบบ Car Sharing ระหว่างผู้โดยสาร โดยใช้ระบบการประมวลผลขั้นสูง หรือที่เรียกว่ามี Algorithm ออกแบบเส้นทางเดินรถเป็นรายครั้งจากปลายทางของผู้โดยสารแต่ละคน เน้นให้เดินทางได้รวดเร็วที่สุดและรับผู้โดยสารที่ร่วมในเส้นทางให้มากที่สุด เกิดเป็นการเดินทางสาธารณะที่ Customise ให้รวดเร็ว พร้อมรับผู้โดยสารมากขึ้น และมีราคาที่ถูกลง

แม้ว่าจะเป็นเพียงแนวคิดอยู่ แต่การได้เข้าร่วม PTT Tech Savvy Agent ก็มีส่วนช่วยให้ความคิดของ GoNa แข็งแรงขึ้น จากการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานของ Startup ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ Validate Idea, Business Model Canvas, การ Pitch และการทำ Presentation ด้วยความรู้ทั้งหมดนี้ทำให้ทีมมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีหากจะผลักดันแนวคิดของตัวเองด้วยวิธีการแบบ Startup

เมื่อถามถึงแผนในอนาคต ทีม GoNa มองถึงการสร้าง Algorithm ให้เกิดขึ้นจริงและการผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง Algorithm ดังกล่าวอาจเป็นพื้นฐานของการสร้าง Autonomous Public Transit ที่จะ Connect the Dot ของ Smart City ให้สมบูรณ์ต่อไป

Igloo ทีมที่มองเห็นโอกาสด้าน Healthcare จากความเย็น -150 องศา

สมาชิกทีม igloo ประกอบด้วย คุณสรสิชา ตั้งวงไชย์, คุณชวลิต ตระการประไพ และคุณคณิน ปฏิการสกุล

แม้ ปตท. จะเป็นบริษัทที่มีองค์ความรู้ด้านการใช้เคมีเพื่อธุรกิจพลังงาน แต่อันที่จริงแล้วสารเคมีกลับมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของ ปตท. ในปัจจุบันด้วย ซึ่ง Igloo (อิ๊กกลู) มองว่าสารบางอย่างใน value chain ของธุรกิจพลังงาน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าวิถีการทำธุรกิจแบบเดิม และ สามารถให้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพโดยคุณสมบัติที่ดีกว่าและมีราคาถูกกว่าเครื่องมือที่ใช้ในปัจจุบัน

ทีม Igloo นำเสนอแนวคิดการใช้คุณสมบัติด้านความเย็นของ Nitrogen ที่ลดอุณหภูมิลงได้ต่ำถึง -150 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะสมสำหรับการรักษากล้ามเนื้อ เพียงนำความเย็นดังกล่าวสัมผัสร่างกายในสภาพควบคุมเป็นเวลา 1-3 นาที จะช่วยรักษาอาการเมื่อยล้า การบาดเจ็บ ไปจนถึงการเสริมความงามด้วยการช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล

การรักษาด้วยความเย็นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยมีการนำเข้าเครื่องผลิตไอเย็นด้วยไฟฟ้าสำหรับวัตถุประสงค์นี้แล้ว แต่ตัวเครื่องมีราคาสูงมากและทำความเย็นได้เพียง -110 องศาซึ่งไม่ใช่จุดที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาด้วยความเย็น

ทีม Igloo กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการ PTT Tech Savvy Agent ช่วยให้พวกเขาได้รับการบ่มเพาะ Mindset ของ Startup อาจหากไม่ได้เข้าร่วม คงอาจไม่ได้ผลักดันแนวคิดมาจนจุดนี้ และการที่ได้เริ่มต้นจากใน ปตท. ก็เป็นข้อได้เปรียบทั้งในแง่ความรู้ ทรัพยากร และการผสานความร่วมมือต่างๆ ที่ช่วยให้แนวคิดมีโอกาสเป็นจริงมากขึ้น

ในขั้นต่อไป ทีม Igloo ต้องการผลักดันให้ก้าวไปสู่ขั้น Commercial ทั้งในด้านการแพทย์และการเสริมความงาม โดยขณะนี้กำลังทำการทดลองเพิ่มเติมกับสถาบันการแพทย์ชั้นนำเพื่อรับรองคุณภาพและหาวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับคนไทยและคนในภูมิภาคอาเซียน

Upcycling Hero นักเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ด้วยเครือข่ายและความคิดสร้างสรรค์

ในแต่ละปี เรามีการใช้งานวัสดุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งอันที่จริง วัสดุเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบใหม่ที่เพิ่มมูลค่าได้ด้วยความร่วมมือเป็นเครือข่ายและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ Upcycling Hero อยากจะสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ทีม Upcycling Hero ประกอบด้วย คุณวรางคณา งาคู่ปฏิพัทธ์ , คุณเกวลี วุฒิอุดม, คุณบัญชา ชาวแพรกน้อย และนส. อาวีมาศ สิริแสงทักษิณ (ที่ปรึกษา)

ทีม Upcycling Hero อธิบายว่า แนวคิดการสร้างสินค้าจากวัสดุเหลือใช้แบบเพิ่มมูลค่าเป็นเรื่องที่ทำกันมาแล้วทั่วโลก โดยมีส่วนช่วยลดการนำวัสดุที่ยังใช้ได้ มีคุณภาพดี ออกจากระบบกำจัด และยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี เพียงแค่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งประเทศหนึ่งที่มี Upcycle Community ที่แข็งแรงมากคือเกาหลีใต้ 

สำหรับวิธีการที่ทีม Upcycling Hero ใช้เพื่อส่งเสริมการทำ Upcycle เป็นการสร้าง Community ทั้งบน Online และ Offline โดยส่วนของ Online จะเป็นในรูปแบบของ Marketplace เปิดพื้นที่ให้นักออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี Upcycle จำหน่าย ส่วน Offline จะเป็นการจัด Workshop ให้ความรู้แก่ผู้สนใจ รวมถึงตัวผู้ซื้อสินค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบ มีแนวคิดที่จะประสานความร่วมมือไปยัง หลายหน่วยงาน เช่น บริษัทในกลุ่ม ปตท. อย่าง GC IRPC หรือศูนย์รวมการออกแบบอย่าง TCDC RISC และสถาบันการศึกษา ในการนำงานวิจัยและงานออกแบบวัสดุที่เข้าข่าย Upcycle มาพัฒนา ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายจริงด้วย

สำหรับการเข้าร่วมโครงการ PTT Tech Savvy นั้น ทีม Upcycling Hero กล่าวว่า การได้เข้าร่วมโครงการทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำงานแบบ Startup ตั้งแต่เริ่มต้น ประกอบกับเวลาที่จำกัด ทำให้ต้องเค้นประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งผลงานที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งเรื่องของการทำ Upcycle คงไม่มีบริษัทไหนที่เหมาะจะผลักดันเรื่องนี้เท่ากลุ่ม ปตท. 

จากจุดเริ่มต้นของการเข้าโครงการ ในอนาคต ทีม Upcycling Hero มุ่งมั่นต่อยอดและผลักดันแนวคิด “หิ้งสู่ห้าง” ที่ส่งเสริมนวัตกรรมด้าน Upcycling ให้ขายได้จริง เช่น ทางสถาบันนวัตกรรม ปตท. ได้คิดค้นพัฒนาสูตรการผลิตวัสดุในกลุ่ม Biocoff กล่าวคือ วัสดุที่นำเศษเปลือกกาแฟ (Coffee chaff) ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนผลิต นำมาผสมผสานกับ Bioplastic เพื่อเป็นวัตถุดิบให้ภาคอุตสาหกรรมต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้หลากหลาย โดยทีมร่วมกันสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้อง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง Platform ในลักษณะธุรกิจแบบ B2B2C อันจะก่อผลลัพธ์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นับได้ว่าเป็นการสร้างUpcycle ให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นวงกว้าง สอดคล้องกับทิศทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

หมอโรงงาน ทีมที่ฝันเห็นภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวไปข้างหน้าด้วย Smart Factory

หากพูดถึงภาคธุรกิจที่เป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทย ต้องมีการพูดถึง “ภาคอุตสาหกรรม” ซึ่งทุกวันนี้ กำลังประสบปัญหาทั้งพิษเศรษฐกิจชะลอตัวและการเข้ามา Disrupt ของเทคโนโลยีใหม่ๆ อันทำให้คู่แข่งต่างชาติก้าวทิ้งห่างเราออกไปเรื่อยๆ ประเด็นนี้คือปัญหาที่ หมอโรงงาน ทีม Startup ที่บ่มเพาะใน ปตท. ได้มีโอกาสสัมผัสโดยตรง

สมาชิกทีมหมอโรงงาน ประกอบด้วย คุณธเนศ อิงสกุลรุ่งเรือง, คุณยศินทร์ ยางทอง และกุลภัทร์ ธีรธรรังสฤษดิ

ทีมหมอโรงงาน เริ่มต้นเห็นปัญหาจากการทำหน้าที่ขายก๊าซและให้บริการทางเทคนิคแก่ลูกค้าอุตสาหกรรมและผลิตไฟฟ้าใช้เอง จึงได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทีมหมอโรงงานจึงเริ่มคิดหาวิธีช่วยให้ลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และปลอดภัย จนออกมาเป็น Solution สำหรับการซ่อมบำรุงและจัดการพลังงานที่มีลูกค้าสนใจใช้งานจริง ซึ่ง Solution ดังกล่าวสามารถช่วยลดต้นทุนดำเนินการของลูกค้าได้อย่างน่าพอใจ

แต่หลังจากให้บริการแก่ลูกค้าไปสักระยะหนึ่ง เริ่มมีความต้องการจากลูกค้าที่หลากหลายขึ้น และประกอบกับเห็นโอกาสในการพัฒนา Product ที่สามารถตอบรับกับความต้องการของลูกค้าดังกล่าว ทีมหมอโรงงานจึงพัฒนา Application สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเน้นที่การ Optimize การปฏิบัติงานในด้านการจัดการพลังงานแบบครบวงจรและการจัดการระบบซ่อมบำรุง ตั้งแต่การเก็บ Data, นำ Data มาแสดงผลเป็น Dashboard รวมถึงเอา Data มาทำ Suggestion เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงสามารถดัดแปลง Interface และ Function ให้เหมาะกับผู้มีหน้าที่ในแต่ละฝ่ายได้

ทีมหมอโรงงาน ระบุว่า ปัจจุบันมีโรงงานในไทยใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ และเป็น Smart Factory เพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งที่เหลือกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Factoryได้ ด้วยเหตุนี้โรงงานเกือบทั้งหมดในประเทศไทยจึงสามารถเป็นยกระดับด้วยบริการของหมอโรงงานได้ ซึ่งทางทีมมองว่า พวกเขาจะต้องเสนอบริการให้กับโรงงานที่เป็นธุรกิจในประเทศไทยก่อน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจไทยไม่ให้ล้มในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวในตอนนี้ โดยนำเสนอรูปแบบการจำหน่ายแบบ Software as a Service ที่ลูกค้าสามารถซื้อเพียง Application ที่ใช้ อีกทั้งยังพร้อมเสนอบริการแบบ Freemium ด้วย

สำหรับการเข้าร่วม PTT Tech Savvy Agent ของทีมหมอโรงงาน มาจากการแนะนำของผู้บริหารในสายงานของทีม เพื่อต้องการให้ทีมเปลี่ยน Mindset การทำงาน ซึ่งทีมได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างออกไปจากงานที่ทำอยู่ พร้อมกับได้เห็นความสามารถของเพื่อนร่วมองค์กรอันหลากหลาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก

ทีมหมอโรงงานกล่าวถึงการสานต่อแนวคิดว่า ทางทีมยังคงดำเนินการพัฒนา Product ของทีมต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยคนไทย อุตสาหกรรมไทย และ Statup ไทยให้ก้าวไปข้างหน้าต่อไป

เราต้องการช่วยคนไทย อุตสาหกรรมไทย และ Startup ไทย

ทั้ง 5 ทีมที่เป็นตัวแทนของ PTT Tech Savvy Agent ทำให้เห็นถึงผลลัพธ์ของโครงการ Internal Startup ที่เป็นแหล่งของการเกิดนวัตกรรมใหม่ได้ไม่แพ้การบ่มเพาะจากภายนอก ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จากการเกิดนวัตกรรมในลักษณะนี้ไม่ได้มีแต่ภาคธุรกิจที่เป็นเจ้าของโครงการเท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางก้าวไปข้างหน้าของประเทศไทยในอนาคตด้วย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ONNEX by SCG Smart Living รุก 'ตลาดโซลาร์' รับโลกเดือด ดันโมเดลธุรกิจ EPC+ 5 รูปแบบ

ONNEX by SCG Smart Living เปิดแผน EPC+ Business Model 5 รูปแบบ ทั้งโมเดลสำหรับผู้ประกอบการ, เจ้าของโครงการ, นักลงทุน, บริษัทในเครือข่าย และตัวแทนอิสระ...

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

ส่องกฎหมายและนโยบายที่ดึง Silicon Valley มาลงทุนในอินโดนีเซีย

บทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกกับ 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในช่วงเวลานี้...