คุยสบายๆ กับนพ.รัฐแห่ง iamdr คุณหมอสาย Code ที่สนใจ Startup อย่างจริงจัง

คุยสบายๆ กับนพ.รัฐแห่ง iamdr คุณหมอสาย Code ที่สนใจ Startup อย่างจริงจัง

rath-iamdr

หากใครได้ติดตาม Techsauce ก็คงจะได้อ่านบทสัมภาษณ์หลายๆ Startup หรือนักลงทุน ที่น่าสนใจ คราวนี้ขอฉีกแนวบ้างด้วยการมาคุยกับคุณหมอท่านหนึ่งที่มีความสนใจได้การ Code ซึ่งตอนนี้ตัวเองก็ทำ Startup, เขียนเว็บของตัวเองในนาม Rath.asia และก็ยังคงเป็นแพทย์อยู่ด้วย วันนี้เราจะได้คุยกับหมอ นพ.รัฐ ปัญโญวัฒน์ (รัฐ) Co-founder แห่ง iamdr

เกริ่นก่อนคุย

สาเหตุที่เราอยากคุยกับหมอรัฐก็เพราะว่า ก่อนหน้านี้เราได้เคยคุยกันตอนที่ทำ drjob ไปแล้ว หลังๆ มาได้ติดตามความเคลื่อนไหวก็พบว่า หมอรัฐ ชักจะเริ่ม Geek สาย Coding มากขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก ด้วยผลงานเว็บไซต์ทั้งงานของบริษัทและงานส่วนตัวที่ทำบล็อกเป็นของตัวเอง จึงเป็นเหตุผลให้ Techsauce ขอเวลากับทางหมอรัฐมานั่งคุยกันแบบสบายๆ

หมอรัฐสนใจเกี่ยวกับการ Code ตั้งแต่เมื่อไหร่

iamdr

จริงๆ ผมเองสนใจเรื่อง IT มาตั้งแต่เรียนหมอแล้วครับ แต่ตอนนั้นยังเป็นแค่ power user อยู่ ด้วยความสนในด้านนี้ จบมาผมเลยไปทำงานอยู่ฝ่าย IT โรงพยาบาลรามาธิบดีปีนึง แล้วหลังจากออกมา พี่ตั้ม (หมอตั้ม นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ Co-Founder iamdr) ต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศพอดี ช่วงที่ผมว่างๆ ก็เลยนั่งทำแพล็ตฟอร์มสำหรับการหาช่างภาพทำร่วมกับเพื่อนที่เป็น Developer คือตอนนั้นคิดเอาไว้ว่าจะทำเป็น Startup ของตัวเอง แล้วพอทำไปสักพักเพื่อนก็เฟดเพราะต้องทำงานประจำเลยไม่ได้ทำต่อ เลยมองหาว่าใครจะทำต่อดี จะไปจ้าง Developer ก็ไม่มีเงิน จังหวะนี้ก็เลยคิดว่า หัด Code ไปเองเลยแล้วกัน ส่วนเรื่อง design จริงๆ ผมทำเป็นงานอดิเรกมานานแล้ว ออกแบบโปสเตอร์ให้คณะ พวกนี้คือทำตั้งแต่เรียนหมอแล้ว จุดที่มาสนใจเรื่อง Code จริงจัง คือตอนปีกลางๆ 2013 นี่แหละครับ

แล้วเอาเวลาช่วงไหนในการศึกษาเรื่อง Code

ช่วงที่ผมออกจากรามาฯ ผมก็เริ่มรับจ็อบเป็นหมอ ทำหมอเป็นงาน Part-Time เลิกงานมาก็มานั่งหัดเรียนหัดเขียน Code แบบนับ 1 ใหม่เลย

วันนึงใช้เวลาในการเรียนด้วยตัวเองเท่าไหร่

ช่วงแรกๆ ที่รับจ็อบหมอ ก็ใช้วันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะผมเองก็เฟดเรื่องการรับงานหมอไปด้วย

มีวิธีการเรียน Code อย่างไรบ้าง

ก่อนหน้านี้ผมผ่านจุดที่เรียนด้วยตัวเอง อ่านหนังสือ อ่านบล็อก ลองอะไรด้วยตัวเองทุกอย่างมาระยะนึงแล้ว ข้อเสียของมันก็คือมันไม่มีคนไกด์ เราไม่รู้เราจะเริ่มอย่างไร เสียเวลาไปเยอะเหมือนกัน ตอนนี้ก็มาค้นพบว่าการเรียนบนออนไลน์นี่แหละเวิร์คที่สุดแล้วสำหรับสไตล์ผม

เว็บที่เรียนหลักๆ มี 3 เว็บครับ คือ Tutsplus, Pluralsight และ Udemy เคยเรียน Treehouse กับ Codeschool ด้วยนะ แต่ชอบ 3 อันแรกมากกว่า

ตอนเลือกเรียน เราเลือกหัวข้ออะไร

โดยส่วนใหญ่เราจะเลือกหัวข้อที่เราสนใจเป็นหลัก ลองดู Preview ว่าคนสอนพูดรู้เรื่องไหม อันนี้สำคัญมาก เพราะแต่ก่อนไม่ค่อยได้สนใจเรื่องนี้ สุดท้ายซื้อไปแล้วเขาทำวิดีโอแล้วไม่ดี พูดไม่รู้เรื่อง อีกอย่างก็คือดูจำนวนชั่วโมงว่ามันเหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนไหม สมมติว่าจะสอนเรื่องเดียว แต่ว่าสอนแค่ 2-3 ชั่วโมง อย่างนี้เราสามารถไปดูบน YouTube ได้เองไม่ต้องเสียเงิน แต่อย่างของพี่เนย (nuuneoi สิทธิพล พรรณวิลัย) ที่เขาสอน 24 ชั่วโมงในหัวข้อเรื่อง Android ซึ่งผมมองว่ามัน Make Sense ซึ่งผมก็อุดหนุนของพี่เนยไปเหมือนกัน เพราะเราเองก็อยากรู้เรื่องแอนดรอยด์เหมือนกัน

คิดว่าการจบหมอมา เป็นข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบในเรื่องการ Coding เมื่อเทียบกับ Programmer มากน้อยขนาดไหน

ผมเริ่มข้อเสียก่อนแล้วกันนะครับ เพราะมันชัดเจนมาก คือผมไม่มี Basic, Fundamental พื้นฐานด้านการ Code เลย มันเลยต่อยอดลำบาก คือสิ่งที่เราเรียนมามันเป็นการเรียนนั่นนิด เรียนอันนี้อีกหน่อย ปะไปปะมา ไม่ได้เรียนแบบเป็น Track หรือตามหลักการที่ควรจะเป็น ช่วงเริ่มต้นมันเลยค่อนข้างช้า จนถึงตอนนี้ความรู้พื้นฐานของผมบางอย่างก็ยังไม่แน่น ซึ่งผมเองก็พยายามศึกษาอยู่ ส่วนข้อดีก็คือการเข้าใจ Context เกี่ยวกับ Healthcare มากกว่า Programmer อื่น อย่างตอนนี้รายได้ครึ่งนึงของผมก็คือการรับงานข้างนอก รับ Dev ให้คนอื่น ซึ่งหลายคนที่เขาเป็นหมอเขาก็ไม่มี Connection กับคนในวงการ IT เขาไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร บางทีเขาก็ชวนโปรแกรมเมอร์มาคุย สุดท้าย เขาก็คุยไม่รู้เรื่อง เขารู้สึกสบายใจกับการคุยกับผมมากกว่า เลยเป็นข้อได้เปรียบ อันไหนที่เราทำได้ก็ทำเอง อะไรที่ทำไม่ได้ก็ outsource ออกไป

http://rath.asia

เคยคิดจะมา Code เต็มตัวไหม

ตอนนี้คิดแล้ว (หัวเราะ)

อะไรที่ทำให้เราคิดจะมา Code เต็มตัว

ผมรู้สึกสนุกกับมัน ไม่ว่าจะเป็นการ Design และการ Code ผมสนุกทั้งคู่หล่ะ แต่พอทำไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งผมก็พบว่าทำอย่างเดียวไม่ได้ มันเบื่อไปคนละแบบ เป็นพวกต้องสลับไปสลับมาระหว่างสมองสองซีก

ว่าแต่ตอนนี้เป็นหมอประจำอยู่กี่ที่ครับ

ที่เดียวครับ เป็นคลินิคเอกซ์เรย์อยู่แห่งนึง ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

งั้นเวลาที่เหลือก็ Code หมด?

ใช่ครับ ต้องบอกว่ารายได้หลักของผมตอนนี้มาจากการ Code แทบทั้งสิ้นครับ แต่ช่วงนี้ก็จะพยายามลดๆ ลง เอาแบบพออยู่ได้ เพื่อที่จะได้เอาเวลามาเรียนรู้ แล้วก็ทุ่มเทให้กับ Product ของบริษัทเต็มที่

สมมติว่าคนอยากจะเริ่มต้น Code หรือเอาแบบหมอรัฐเลย จะมีคำแนะนำอะไรบ้าง

ก่อนอื่นจะต้องรู้ตัวเองก่อนว่าอยากทำอะไร อยากทำโมบายล์, อยากทำเว็บ แต่ละอย่างมันมีการเริ่มต้นที่แตกต่างกัน ที่สำคัญที่สุดไม่ว่าเราจะเลือกทำอะไรก็ตาม ทักษะมันจะเกิดก็ต่อเมื่อเราเริ่ม Code จริง ลองดูบทความชื่อ Why Learning to Code is So Damn Hard ประกอบนะครับ ช่วงแรกๆ ทุกอย่างมันจะสวยงาม เพราะว่าเราทำตามสิ่งที่เขาสอนทุกขั้น แต่พอคุณทำ Project ที่ต้องทำเองทุกอย่าง มันคือความสิ้นหวัง หลังจากลงมือ Code ลงมือทำจริงๆ นั่นแหละครับ ถึงจะเริ่มมี skill ขึ้นมาทีละนิด แต่ถ้ามี Mentor ดีๆ ก็น่าจะช่วยได้เยอะครับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...