สรุปงาน Start it Up Conference ครั้งที่ 8 [Part I] | Techsauce

สรุปงาน Start it Up Conference ครั้งที่ 8 [Part I]

Screen Shot 2558-07-20 at 9.43.26 PM

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทีมงาน Techsauce ได้จัดงาน Start it Up Conference ครั้งที่ 8 งานสัมมนาสำหรับชาว Startup ไทยรายแรก  ที่จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 4 ปีเต็ม โดยครั้งนี้เราได้เชิญวิทยากรทั้งไทยและเทศมากมาย มาแบ่งปันประสบการณ์ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีการแข่งขัน Startup Pitching และการออกบูธกิจกรรมของนักลงทุนและบริษัท Startup อีกด้วย

Session 1: Open Ceremony + สรุปเทรนด์ครึ่งปีแรก

Techsauce1

ในช่วงเปิดงาน อรนุช เลิศสุวรรณกิจ (Mimee) และ อมฤต เจริญพันธ์ (Aim) ผู้ร่วมก่อตั้ง Techsauce ได้มาร่วมสรุปเทรนด์ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

Ecosystem ปัจจุบันใน Startup ไทย   ทั้ง VC, กลุ่ม Angel, Incubator/Accelerator, Coworking Space ด้าน Tech และกลุ่ม Supporter ต่างๆ

Screen Shot 2558-07-21 at 1.48.23 PM

ยอดการลงทุนในช่วงครึ่งปี 2015 มีใครบ้าง?

Screen Shot 2558-07-19 at 10.11.00 PM

 

Screen Shot 2558-07-20 at 12.53.02 PM

หมายเหตุ : สำหรับท่านใดที่สนใจนำภาพดังกล่าวไปใช้งาน รบกวนให้เครดิตกับทีมงานผู้รวบรวม เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานในการพัฒนา Report ที่มีประโยชน์กันต่อไปด้วยนะคะ ^_^

7 เทรนด์และอัตราการเติบโตของ Startup ไทยในช่วงครึ่งปีแรก สามารถหาอ่านบทความเต็มได้ที่ลิงค์นี้

ซึ่งรายงานสถิติต่างๆ จะนำมาเผยแพร่แบบเต็มๆ เร็วๆ นี้

หลังจากนั้น ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ Managing Director C asean ได้ขึ้นมากล่าวถึง Startup Index Startitup2

ซึ่งเกิดจากผลสำรวจผู้ประกอบการรายย่อยของไทยโดย C asean ร่วมมือกับ Techsauce โดย Digital Platform ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันคือ Cloud storage system รองลงมาคือ E-document/Paperless System และ Online Conference
Screen Shot 2558-07-21 at 2.02.21 PM
อะไรเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลในการใช้ Digital Platform
Screen Shot 2558-07-21 at 2.02.29 PM
เหตุผลที่องค์กรเลือกใช้ Digital Platform
Screen Shot 2558-07-21 at 2.02.47 PM

Session 2: Opportunities and Challenges of Startup’s scaling in SEA

startitup3

ในช่วงนี้แขกรับเชิญประกอบด้วย  ดร.การดี เลี่ยวไพโรจน์ (Managing Director C asean) , ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา (CEO Priceza) และ Harprem Doowa (CEO Whatsnew) ดำเนินรายการโดย รุ่งโรจน์ ศิริพรมงคล (Tui) ผู้ร่วมก่อตั้ง Techsauce

  • เมื่อคิดจะสร้าง Product ให้คิดระดับภูมิภาคเลยตั้งแต่แรก
  • ต้องยอมรับว่าภาครัฐฯ ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่าง SPRING และ MAGIC ให้การสนับสนุนที่ชัดเจน มีกฏระเบียบที่ชัดเจนสำหรับ Startup ในขณะที่บ้านเรายังไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบชัดเจนโดยตรง
  • เวียดนาม และอินโดนีเซียยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจ มีการเติบโตสูงโดยเฉพาะธุรกิจสายอีคอมเมิร์ซ
  • การขยายธุรกิจไปต่างประเทศแนะนำว่าคุณต้องมีคนพื้นที่ช่วยในการดำเนินธุรกิจ เพราะเข้าใจตลาดท้องถิ่นได้ดีกว่า
  • ในบางสถานการณ์เราสามารถเรียนรู้ทั้งข้อดีและความผิดพลาดจากคู่แข่งที่เข้าไปก่อนได้ และเค้าช่วยในการ Educate ตลาดให้เราก่อนด้วย
  • ยอมรับว่าการจดบริษัทในฮ่องกง และสิงคโปร์ช่วยทำให้การดำเนินธุรกิจกับต่างชาติง่ายกว่า และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะเข้าใจกฎหมายของ 2 ประเทศนี้มากกว่าบ้านเรา
  • นักลงทุนปกติจะมี Checklist ว่าต้องคำนึงเรื่องอะไรบ้างในการลงทุน และการโอนเงินข้ามประเทศ (ความยากลำบาก) ภาษีก็เป็นหนึ่งในหัวข้อนั้น
  • เอกสารต่างๆ ของบริษัทต้องเป็นมาตรฐานเตรียมไว้ให้ดีแต่แรก วันนึงที่คุณต้องขยายธุรกิจต้องมีข้อมูลพร้อม ทำให้การขยายไปต่างประเทศรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • Product/Market fit ครองตลาดในประเทศตัวเองให้ได้ ก่อนขยายไปสู่ประเทศอื่น อย่าขยายออกไปตั้งแต่วันแรก (Keep in mind that we have to go one day but not day one)

 Session 3: How to scale startup's business: The story of 2C2P

startitup4

Aung Kyaw Moe :Group CEo 2C2P

  • แรงกระตุ้นสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเขาคือ มีความต้องการอยากทำมากๆ แม้ตัวเขาเองยังไม่ได้รู้เรื่องนั้นมากนัก
  • ในช่วงเริ่มต้น เงินทุนที่ได้มาจะมาจาก 3Fs Family, Friends, Fools  ซึ่งต้องสื่อสารถึงความตั้งใจของคุณ , แผนงาน รวมถึงความเสี่ยงด้วย โดยเพื่อนควรเป็นเพื่อนที่มีสัมพันธ์ที่ดีและมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเสริมกัน
  • Family ส่วนหนึ่งเพราะเค้ารักในตัวคุณ ก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน เพราะไอเดียของคุณอาจไม่ได้ดีพอ แต่เค้าก็สนับสนุน
  • Friend เมื่อคุณได้รับการสนับสนุนเรื่องเงินจากเพื่อนของคุณ เขาจะคิดว่าเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของคุณ ถ้ามีปัญหากันก็เป็นความเสี่ยงคืออาจเสียเพื่อนได้ด้วยเช่นกัน
  • กับ Friend และ Fools ไม่ควรขอในสิ่งที่เกินความสามารถที่เขาจะให้ได้
  • สิ่งที่ควรให้คือหุ้นส่วน ไม่ควรเป็นเงินกู้ Angel
  • ในช่วงที่เรายังเป็นบริษัทเล็กๆ แน่นอนการไปคุยกับบริษัทใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย โชคดีที่เวลานั้นเขามีนักลงทุน Angel ที่ช่วยแนะนำและเชื่อมโยงเข้าไปให้ได้, ช่วยเป็นที่ปรึกษา และจัดหาคน ดังนั้นการเลือก Angel Investor ก็สำคัญเช่นกัน ต้องเลือกให้ดี ดูว่าเขาเชี่ยวชาญด้านไหน และความเสี่ยงคือการขอหุ้นจำนวนมาก และเข้ามาควบคุม
  • สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง -  Advisor ที่เข้ามาแล้วบอกว่าจะขอหุ้นจากคุณ, Guaranteed Return Seeker, Term Sheet Guy,Idea Thief, Financial Controller, The Broker VC
  • สิ่งที่คุณควรทำความเข้าใจ - เข้าใจ financial models และการ projection, Pitching Skills, ทำความรู้จักกับคำต่างๆ ที่ VC ใช้กัน, โอกาสที่จะได้ฝึก Pitch กับ Investor, รับได้กับสิ่งที่คนวิจารณ์ และนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, เข้าใจเรื่อง Term Sheets
  • การฝึก Pitch บ่อยๆ ทบทวนหลายๆ ครั้ง จะทำให้คุณเก่งขึ้น, การ Pitch ที่ดีอาจยังไม่ได้รับการลงทุน แต่จะเป็นการพูดคุยกันต่อในครั้งถัดไป, การ Pitching กับนักลงทุนที่หลากหลาย จะทำให้คุณเก่งขึ้น และรู้ว่าอะไรเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง
  • ในการ Pitch จริงๆ กับ VC สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีก นอกจากการนำเสนอคือ Pre-Money Valuation, Term Sheet และธุรกิจของเราสอดคล้องหรือสนับสนุนธุรกิจอื่นๆ ใน Portfolio ด้วยหรือเปล่า เป็นต้น
  • สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง  - VC ที่ไม่มีประสบการณ์ด้าน Startup ในทีมมาก่อน, กลุ่มที่เอาแต่พูดแต่ไม่ทำ, ไม่บอกที่มาของเงินทุน
  • VC ที่มาจากสายธุรกิจเดียวกันนั้นก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ข้อดีคือ เขาเข้าใจธุรกิจคุณมากกว่า VC จากสายธุรกิจอื่น แต่ก็ต้องระวังอาจจะโดนหลอก เพราะเล็งเห็นว่าธุรกิจจะโต แต่อาจบอกว่าไปได้ยาก เพื่อต้องการซื้อหุ้นในราคาต่ำๆ กว่าศักยภาพจริงของคุณ
Credit: บทสรุปนี้เกิดจากการรวบรวมโดยทีมงาน TechSauce และ Guest Post : Parin Songpracha Former Head of eCommerce, Cp All  และ Former eCommerce Director, DHL

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...