หาคนทำงานอย่างไรให้เจอคนที่ใช่ กับ Recruit Hacking 4.0 Workshop | Techsauce

หาคนทำงานอย่างไรให้เจอคนที่ใช่ กับ Recruit Hacking 4.0 Workshop

ปัญหาของคนทำธุรกิจ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่หนีไม่พ้นคือการหาพนักงานที่ใช่ สารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์เสาะหาคนมาทำงาน ทั้งวิธีการสัมภาษณ์ให้รู้ว่าคนนี้คือคนที่เหมาะสม เข้ากับองค์กรได้ ไปจนถึงพอได้คนมาแล้วก็ไม่เป็นตามที่พูด ไม่เก่ง ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออยู่ได้ไม่นานก็ลาออก ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ทุกองค์กรต้องพบเจอและปวดหัวกันเป็นประจำ

Techsauce ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาในหลักสูตร Recruit Hacking 4.0 Workshop for SME, Startup, MNC รุ่นที่ 3: สูตรสำเร็จ เทคนิคการหาพนักงานที่ใช่สำหรับธุรกิจ SME, Startup, MNC โดยมีวิทยากรคือ คุณมาร์ค เหล่าถาวรวงศ์ (ลุงหมีรีครูท) จาก remarkableacademy เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 โดยเนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วนหลักคือ

วิธีการหาคนที่เราต้องการ

มีวิธีอย่างไรในการเข้าถึงคนที่เราสนใจผ่านทาง Linkedin? เมื่อติดต่อไปแล้ว ทำยังไงให้คนที่เราสนใจตอบกลับมา รวมถึงการสร้าง Employer Branding

ปัญหาหลักที่ทีมหาคนมาทำงานล้วนหนีไม่พ้นคงเป็น

  • จำนวนผู้สมัครเข้ามาน้อยโดยเฉพาะวิชาชีพเฉพาะทาง มีการแข่งขันสูง เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์
  • หาคนที่ใช่ไม่เจอ ไม่รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
  • คนไม่สมัครเข้ามา หรือพอสมัครมาประสบการณ์ก็ไม่ตรงกับสายงาน
  • ฝ่ายบุคคลหรือหัวหน้างานที่เปิดรับไม่ชัดเจนในส่วนคุณสมบัติที่อยากได้
  • สถานที่ทำงานไม่ดึงดูดผู้สมัคร เดินทางไม่สะดวก
  • ช่องทางที่ใช้เสาะหาผู้สมัครไม่เพียงพอ ใช้เวลานานในการคัดเลือก
  • พอได้สัมภาษณ์ผู้สมัครก็ไม่รู้จะถามอะไรเพื่อให้รู้ว่าคนแบบไหนคือคนที่ใช่ ฯลฯ

ทางคุณมาร์คแนะนำให้เรารู้จักกับเครื่องมือหนึ่งที่ทรงพลัง เรียกว่า Boolean Strings Search ผ่านทาง  Linkedin เป็นวิธีการที่เรียกว่า Proactive sourcing แทนที่จะเป็นการโพสต์ตามบอร์ดประกาศหางาน ที่เราเรียกวิธีการหลังนี้ว่า  Reactive sourcing

เมื่อหาคนที่เป็นเป้าหมายเจอ ก็ให้เราติดต่อไปหาเขาผ่านการแนะนำตัวให้ประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ส่งคำขอไป แน่นอนว่ามีหลายคนที่ไม่ตอบกลับ ให้เรายึดคำว่า “ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก” คอยกระทุ้งไปเรื่อยๆ ส่วนมากแล้วจะเกิดการตอบกลับมาอย่างแน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้คนที่เราสนใจ เขาสนใจเรากลับมาด้วย?

Employer Branding

สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์กว่า 75% ทั่วโลกมองหาก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงานในองค์กรนั้นๆ คือ Employer Branding ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญที่องค์กรเรามอบให้กับพนักงาน คุณค่าในองค์กรของเราคืออะไรที่จะดึงดูดผู้คนให้มาสนใจ สิ่งที่เรามีนั้นเข้มแข็ง ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ หากเพียงพอแล้ววิธีการนำเสนอให้คนรับรู้คืออะไร

มีวิธีการมากมายที่จะสร้าง Employer Branding ให้ชัดเจนและน่าดึงดูดใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจตรงกันถึงสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเป็น เริ่มตั้งแต่ระดับผู้บริหารลงมาถึงระดับพนักงาน ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเราสามารถสังเกตเห็นได้ว่า หลายองค์กรพยายามปรับตัวให้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ด้วยการสร้าง Happy Workplace สถานที่ที่น่าทำงาน เป็นกันเอง ไม่มีการตอกบัตร ขอแค่มีผลลัพธ์การทำงานที่พิสูจน์ได้ ก็เพียงพอ มี Work-Life Balance ในการทำงาน รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่น่าสนใจและตอบโจทย์ให้กับพนักงาน จากนั้นก็ทำการสื่อสารออกไปให้คนนอกองค์กรได้รับรู้ผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น Social Media ด้วยการให้ข้อมูลที่สามารถดึงดูดความสนใจให้กับคนที่รับชมได้ ความรู้สึกความคิดเห็นของพนักงานที่ทำงานอยู่ในองค์กรหรือคนที่ทำงานร่วมกับองค์กรของเราเป็นสารที่สื่อออกไปแล้วสามารถพุ่งตรงไปยังความรู้สึกของผู้รับสารได้เป็นอย่างดี

ระลึกไว้เสมอก่อนที่จะสื่อสารอะไรออกไป ถ้าข้อมูลที่เราส่งออกไปนั้นมีความเป็น H.U.G. มักได้รับความนิยมกลับมา

  • H = Human ใส่ความเป็นมนุษย์ลงไป คนรับสารย่อมเข้าถึงได้ง่ายกว่า
  • U = Useful มีประโยชน์กับคนรับสาร
  • G = Genuine แสดงความเป็นตัวตนของเราอย่างจริงใจ ไม่เสแสร้ง ไม่ต้องทำให้ดูดีเกินจริง

แต่ถ้าเวลาประกาศหางาน จะมีอีกเทคนิคหนึ่งที่สร้างความสนใจให้คนมาดูได้เพิ่มเติมคือ K.I.S.S

  • K = Key Responsibilities ใส่หน้าที่หลักๆ ลงไป เพื่อให้หาคนที่ใช่เจอ
  • I = Inspiring Story เล่าเรื่องให้คนเกิดแรงบันดาลใจ
  • S = Simple ใช้ภาษาให้ง่าย ถ้าต้องการตำแหน่งที่ใช้แค่ภาษาไทย ก็เขียนด้วยภาษาไทยได้เลย
  • S = Share Employer value proposition เล่าวัฒนธรรม คุณค่าองค์กรออกมา

การสัมภาษณ์คน ทำอย่างไรให้ได้คนที่ใช่

การสัมภาษณ์ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือทักษะและทัศนคติ พร้อมเคล็ดลับคำถามสัมภาษณ์ที่ไว้เจาะลึกว่าผู้สมัครนั้นมีคุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการจริงหรือไม่ แล้วเราจะประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างไร

สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนเมื่อทำการสัมภาษณ์คนส่วนมาก มักเป็นส่วนของ “ทักษะ” แต่ทุกคนคงรู้กันดีว่าปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร พนักงานที่ไม่ได้คุณภาพส่วนมากมักมีคุณลักษณะดังเช่น คนที่พลังงานลบเยอะ ชอบบ่น ไม่ค่อยช่วยเหลืออะไร ขี้เกียจ ไม่ตรงเวลา ไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง มีอคติ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง พูดเก่งกว่าลงมือทำ ปกปิดกลบเกลื่อนปัญหา ยุให้แตกความสามัคคี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า “ทัศนคติ” แล้วจะทำอย่างไรให้เราสามารถเห็นทัศนคติเหล่านี้ได้ตั้งแต่การสัมภาษณ์งาน ทางคุณมาร์คได้แนะนำ 7 วิธีสัมภาษณ์เพื่อช่วยหาธาตุแท้ คือ

  1. Behavioral Question ให้ผู้สมัครแชร์เรื่องราว เพื่อหา Competencies & Value ถามถึงสิ่งที่เป็นปัญหาในการทำงาน และวิธีการแก้ไขของเรา เช่น Customer Focus, Result Orientation, Communication, Problem solving เป็นต้น
  2. เปรียบเทียบผู้สมัครกับ Hiring Bar อย่าเอาผู้สมัครมาเปรียบเทียบกันเองแล้วเลือกคนที่ดีที่สุดที่มาสัมภาษณ์
  3. ประสบการณ์ของผู้สมัคร ในฐานะผู้สัมภาษณ์ก็ควรวางตัวให้ดี ให้เหมือนที่เราปฏิบัติตัวกับลูกค้า พนักงานทุกคนล้วนมีชื่อบริษัทประทับตราอยู่ ถ้าผู้สมัครได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีก็จะเกิดการบอกต่อที่ไม่ดีได้
  4. รู้จุดประสงค์ ตัดสินด้วยความเป็นจริง ไม่ใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
  5. ทดสอบด้วย Preference Question เช่น Career Goal ของคุณคืออะไร มองตัวเองเป็นอย่างไรใน 5-10 ปีข้างหน้า ทำไมถึงลาออกจากที่เก่า ไม่ชอบอะไร
  6. Reframing Question สอบถามเกี่ยวกับหัวหน้าเก่า คิดว่าหัวหน้าเก่าจะพูดถึงผู้สมัครว่าอย่างไรบ้าง
  7. นำ Company’s Value มาสร้างคำถาม เช่น ถ้าเราต้องการคนที่ตอบกลับอย่างรวดเร็ว เราสามารถสร้างคำถามว่า “ปกติใช้เวลาเท่าไหร่ในการตอบกลับทีมหรือหัวหน้าในช่วงเวลาที่ตัวเองลาหยุดอยู่” หรือแม้กระทั่งถามว่า “ถ้าไม่ทำงานแล้ว ทำอะไร ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย” “มีเรื่องไหนที่ Failed สุดๆ แล้วผ่านมาได้อย่างไร”

การหาคนที่เหมาะสมมาทำงานให้องค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายขั้นตอนที่ต้องผ่านไปให้ได้ จากเนื้อหาที่ได้เรียนรู้มานั้น สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะได้รับกลับมาจากผู้สมัครอย่างแน่นอนคงเป็นการหาคนที่เราสนใจ ตรงกับที่ต้องการได้มากขึ้น ติดต่อมาให้สัมภาษณ์ได้มากขึ้น และเมื่อได้สัมภาษณ์ก็สามารถพบความจริงได้ผ่านการถามตอบ ได้รู้ถึงทักษะที่เขามี รวมถึงทัศนคติที่มีความสำคัญมากในการทำงาน เมื่อเราเลือกถูกคน องค์กรก็ย่อมพัฒนาต่อไปได้อย่างแน่นอน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...