คุณเคยได้ยินวลี ‘ถูกที่แต่ผิดเวลา’ บ้างหรือไม่? ทำไมการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของบางบริษัท ถึงได้เข้ามาครองตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันเทคโนโลยีบางตัวกลับใช้เวลาในการเข้ามาครองพื้นที่ในตลาดค่อนข้างนาน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ ขึ้นอยู่กับแต่ละฟังก์ชั่นของแต่ละเทคโนโลยี รวมไปถึง ระบบ ecosystem โดยรอบ ตัวอย่างเช่น Tesla จำเป็นที่จะต้องมีโครงข่ายสถานีเครื่องชาร์จไฟ เป็นต้น การเข้าใจระบบนิเวศของภาคธุรกิจของตัวเองจะทำให้สามารถคาดคะเนได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นจะเกิดขึ้นรวดเร็วแค่ไหน
บทความนี้แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก Right Tech, Wrong Time ของ Harvard Business Review
ประเด็นก็คือ การหาคำตอบในช่วงเวลาของแต่ละเทคโนโลยีว่าเมื่อไรจะถึงจุดเปลี่ยนนี้นี่แหละที่กำลังเป็นปริศนา ข้อที่ควรระวังคือการปรับที่ตัวช้าเกินไปทำให้ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (เช่น Blockbuster ที่ล้มเหลวเนื่องจากเพิกเฉยต่ออุตสาหกรรมหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการเช่าวิดีโอไปสู่ระบบสตรีมมิ่ง) นอกจากนี้หากมีการเตรียมตัวเร็วเกินไป และเร่งใช้ทรัพยากรจนหมดไปก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะเริ่ม ก็จะทำให้พลาดโอกาสในการเติบโตได้อีกเช่นกัน เพื่อที่จะการทำความเข้าใจในเรื่องที่ว่าทำไมเทคโนโลยีบางตัวถึงเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดได้อย่างรวดเร็ว แต่บางตัวกลับต้องใช้เวลา เราควรจะทำการพิจารณาสองปัจจัยดังต่อไปนี้
การทำความเข้าใจในปัจจัยของทั้งสองแบบจะทำให้เหล่าผู้บริหาร สามารถทำการคาดคะเนเวลาที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น นำไปสู่การช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ในการลำดับความสำคัญ ทั้งในเรื่องของอุปสรรคและโอกาสในการเติบโต อีกทั้งยังช่วยในการประกอบการตัดสินใจในด้านการใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างชาญฉลาดมากขึ้น
การที่จะดูว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน สิ่งสำคัญที่จะต้องดูคือในเรื่องของปัจจัยในด้านที่ว่า มันทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นหรือไม่ และการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า อาจจะคิดว่าหากเทคโนโลยีนั้นสามารถตอบโจทย์ในข้างต้นได้ มันก็สามารถที่จะครองตลาดได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องทำการพิจารณาด้วยก็คือเทคโนโลยีนั้นจำเป็นที่จะต้องทำการพึ่งเทคโนโลยีตัวอื่นมากแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม มีเทคโนโลยีจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นแค่เฉพาะเทคโนโลยีที่แค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้ทันที หากแต่ความสามารถในการใช้งานของมันนั้นต้องอาศัยตัวเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเป็นตัวช่วยส่งเสริมด้วย ตัวอย่างเช่น HDTV ที่จะไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดหากไม่ได้ใช้งานกลับกล้องที่มีความละเอียดสูง
กล่าวก็คือเทคโนโลยีจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่ามันสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับ ecosystem ได้ดีแค่ไหน
เมื่อเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ต้องอาศัยเฉพาะการเชื่อมต่อกับระบบเพื่อการใช้งานได้เลยทันที แต่ต้องอาศัยการพัฒนาในตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้นี่เอง การแข่งขันระหว่าง ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่กับเทคโนโลยีเก่าจึงเกิดขึ้น
แล้วอะไรเป็นตัวตัดสินว่าใครคือผู้ชนะ? สำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้รับคุณค่าสูงสุดนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญก็คือความสามารถในการพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องในสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นและหน่วยความจำบนคลาวด์ ที่ไม่เพียงแต่ต้องทำการบริหารจัดการแค่ในส่วนข้อมูลที่อยู่ในเซอร์เฟอร์ของตนเองเท่านั้น แต่องค์กรต้องทำการพิจารณาในเรื่องของปัจจัยโดยรอบอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้บริโภคด้วย เช่น การดูแลการจัดการในเรื่องบรอดแบรนด์ และความปลอดภัยของระบบออนไลน์ เป็นต้น
การเข้าใจระบบนิเวศของภาคธุรกิจของตัวเองจะทำให้สามารถคาดคะเนได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยนี้นั้นจะรวดเร็วแค่ไหน สำหรับเทคโนโลยีเก่า สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตัวเองกับ ecosystem ที่มีอยู่แล้ว เช่น เรื่องหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่ามันจะถูกเทคโนโลยีคลาวน์เข้ามาแทนที่ โอกาสที่มันจะสามารถพัฒนาและต่อยอดได้คือ การพัฒนาระบบ interface ที่เร็วขึ้นและส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพมากขึ้น การทำความเข้าใจระบบนิเวศโดยรอบของภาคธุรกิจตัวเอง อีกทั้งการมีความสามารถในการรับมือกับได้ จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นการที่จะสามารถคาดคะเนในเรื่องการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ว่ามันจะเข้ามาแทนที่รวดเร็วแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเอาชนะเทคโนโลยีที่อยู่ใน ecosystem ของเทคโนโลยีนั้นๆ และเพื่อเป็นการช่วยในการทำความเข้าใจในเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ทำการพัฒนา framework ขึ้นเพื่อช่วยกลุ่มผู้บริหารในการประเมินถึงความเปลี่ยนแปลงว่ามันจะเกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมของพวกเขารวดเร็วแค่ไหน ซึ่งมี 4 ส่วน ที่มีความน่าจะเป็นไปได้ก็คือ นวัตกรรมที่เป็นการทำลายเชิงสร้างสรรค์ (Creative Destruction), ความสามารถในการปรับตัวสูง (Robust Resilience), การอยู่ร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง (Robust coexistence), และภาพลวงตาของความยืดหยุ่น (The Illusion of Resilience)
ตลาดส่วนใหญ่จะละทิ้งเทคโนโลยีเก่าอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเก่านั้นยังต่ำด้วย เป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีใหม่ก็จะถูกคาดหวังว่าจะสามารถครองพื้นที่ในตลาดได้แค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ความสามารถในการในการสร้างคุณค่าของเทคโนโลยีใหม่จะไม่ถูกฉุดรั้งโดยระบบ ecosystem ไหนอีกต่อไป อีกทั้งเทคโนโลยีเก่ายังมีข้อจำกัดในการพัฒนาต่อยอด ในกรณีนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการทำลายเชิงสร้างสรรค์ ที่ว่านวัตกรรมที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดสามารถฆ่าคู่แข่งให้ตายได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่เทคโนโลยีเก่ายังคงสามารถให้บริการลูกค้าเฉพาะกลุ่มของพวกเขาไปได้อีกนาน สรุปอีกครั้งก็คือ ตลาดส่วนใหญ่มักจะทำการทิ้งมันอย่างรวดเร็วเพื่ออ้าแขนรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การเครื่องปริ้นท์แบบ dot matrix ถูกเครื่องปรินท์แบบ inkjet เข้ามาแทนที่
หากกรณีที่ความสมดุลระหว่างตัวเทคโนโลยีกับระบบ ecosystem นั้นไม่สัมพันธ์กัน เมื่อระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่ต้องเจอกับความท้าทายอย่างกระทันหัน อีกทั้งถ้าระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีเก่ายังมีโอกาสสูงในการพัฒนา โอกาสในการที่เทคโนโลยีใหม่จะเข้ามาแทนที่นั้นจะเกิดขึ้นได้ช้ามาก เนื่องจากเทคโนโลยีเก่ายังสามารถเติบโตต่อไปได้อีก
ตัวอย่างกรณีบาร์โค้ดและแผ่นชิปอัจฉริยะ หรือ RFID (Radio Frequency Identification) เป็นที่น่าศึกษา จะเห็นได้ว่าแผ่นชิปนั้นมีความสามารถในการเก็บข้อมูลมากกว่าบาร์โค้ด แต่การนำเข้ามาใช้นั้นยังช้าเกินไป เนื่องจากการพัฒนาทางด้านไอทีอีกทั้งความไม่ได้มาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นยังเติบโตได้ไม่เร็วพอ อย่างไรก็ตามหากด้านไอทีได้มีการพัฒนาการบาร์โค้ดให้มีประสิทธิภาพในการใช้มากขึ้น ความมีประสิทธิภาพของเทคโนโลยี RFID ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ว่าความคาดหวังในประสิทธิภาพนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยีตัวนั้นถูกฉุดรั้งโดยระบบนิเวศโดยรอบที่ยังไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ก็ตาม
แต่ในขณะที่การพัฒนาด้านไอทีได้ขยายไปสู่การใช้งานข้อมูลในบาร์โค้ด การไม่ได้นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ร่วมกับแอพลิเคชั่นเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ อีกทั้งมันไม่ได้รับการพัฒนาอะไรเลยในช่วงสองทศวรรษกว่าที่ผ่านมา มันก็คงจะดีถ้า RFID สามารถเอาชนะความท้าทายในครั้งนี้ และใช้โอกาสนั้นในแข่งขันกับการพัฒนาบาร์โค้ด ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้นและการเข้ามาแทนที่ก็จะเกิดเร็วขึ้น แต่นั่นก็เป็นการปลอบใจเล็ก ๆ แก่ผู้ที่ผลิต RFID ขึ้นมาหลายทศวรรษก่อน ราคาค่าเสียโอกาสในการรอคอยเพื่อจะให้ระบบสมบูรณ์นั้นยังหมายถึงการอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมเร็วไป ซึ่งระยะเวลา 10 ปีนั้น มีราคาแพงกว่าการไม่ได้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเสียอีก
เมื่อการเข้ามาแทนที่เกิดขึ้นช้า ย่อมส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องการเพิ่มระดับประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ได้มีการพัฒนาให้ระบบบาร์โค้ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประสิทธิภาพของระบบนิเวศโดยรอบของตัวเทคโนโลยี RFID ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ความคาดหวังในประสิทธิภาพของเทคโนโลยีก็จะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะถูกระบบ ecosystem โดยรอบที่ไม่ได้พัฒนาฉุดรั้งก็ตาม
เมื่อความท้าทายใน ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่อยู่ในระดับต่ำ และโอกาสในการพัฒนาต่อยอดในระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีเก่าอยู่ในระดับสูง การแข่งขันก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่จะเริ่มเข้าสู่ตลาด การพัฒนาระบบแวดล้อมของเทคโนโลยีเก่าจะเป็นการเปิดทางให้ผู้ที่ครองตลาดเจ้าเก่าสามารถรักษาส่วนแบ่งทางตลาดได้ และจะสามารถอยู่ร่วมกันได้ในระยะเวลาที่ยาวนานพอกัน แม้ว่าโอกาสในการขยายตัวนั้นจะไม่สอดคล้องกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ พวกเขาก็จะยังคงสามารถชะลอการรเข้ามาของผู้ที่จะเข้ามาครองตลาดได้
ตัวอย่างจะที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนคือ กรณีการแข่งขันร่วมกันระหว่างเครื่องยนตร์ระบบไฮบริด (ที่ใช้เชื้อเพลิงและไฟฟ้า) และเครื่องยนตร์เผาไหม้ด้วยเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม จะเห็นได้ว่าเครื่องยนตร์ไฮบริดนั้นไม่ใช่เครื่องยนตร์ไฟฟ้าเต็มตัวที่ยังคงต้องการสถานีชาร์จไฟฟ้าอยู่ ในตอนนั้นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่จึงไม่ได้เป็นผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันนั้นเครื่องยนตร์เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งระบบ ecosystem ของมันยังได้ถูกพัฒนาขึ้นไปพร้อมๆ กัน เครื่องยนตร์ก๊าซมีความสามารถในการผสานรวมกันกับส่วนประกอบในรถยนตร์ได้ดียิ่งขึ้น เช่นกันกับระบบทำความร้อนและระบบทำความเย็น
เมื่อเกิดความท้าทายในระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่ และโอกาสในการพัฒนาของระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีเก่าไม่ได้สูงมากนัก ในกรณีนี้จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงจนกว่าความท้าทายจะได้รับการแก้ไข ตัวอย่างที่จะเห็นได้ชัดก็คือการเกิดขึ้นของ HDTV กับทีวีรุ่นเก่า และอีบุ๊คกับหนังสือเล่ม การที่มีการเข้ามาแทนที่ของเทคโยโลยีใหม่ในกรณีนี้ที่เกิดขึ้นช้าไม่ใช่เพราะว่าระบบ ecosystem ของเทคโนโลยีเก่าได้ถูกพัฒนาแต่เป็นเพราะการเกิดความท้าทายใหม่ใน ecosystem ของเทคโนโลยีใหม่นั่นเอง
ในสถานการณ์นี้ ผลวิเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีเก่ายังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงอยู่ แต่การเติบโตหยุดลง เนื่องจากการผันกลับของส่วนแบ่งการตลาดแบบรวดเร็วจะเกิดขึ้นเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถตอบสนองต่อศักยภาพในการสร้างมูลค่าได้ การครอบงำของเทคโนโลยีเก่าเปราะบาง มันยังคงอยู่ได้ไม่ใช่เพราะความพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีเก่าแต่เป็นความล้มเหลวของผู้แข่งขันรายใหม่
เมื่อคุณได้ทำความเข้าใจเรื่องของการแข่งขันเพื่อครอบครอง ecosystem ว่ามันมีความสำคัญพอๆ กับตัวเทคโนโลยีได้แล้ว มันก็จะเป็นการง่ายต่อตัวคุณเองที่จะสามารถทำการคาดคะเนได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยนี้นั้นจะเกิดขึ้นรวดเร็วแค่ไหน เพื่อที่จะทำการวางแผนเตรียมรับมือได้ดียิ่งขึ้น แล้วจะรู้ได้อย่างไร? เราจะมาหาคำตอบกันในไม่ช้า ก่อนอื่นเรามาดูปัจจัยที่เกิดขึ้นในมุมมองจากด้านนี้ก่อน
หากไม่มีผลประโยชน์ในการเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว คำตอบเกี่ยวกับคำถามนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจอย่างเห็นได้ชัด บางคนอาจจะมองไปยังยานพาหนะไฟฟ้าในปี 2016 โดยปัจจัยแวดล้อมได้ชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของการชาร์จไฟและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ยังไม่เพียงพอในการเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะมองว่า โอกาสในการยอมรับยังสามารถมีได้ เช่นการที่แบตเตอรี่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้รถสามารถขับไปได้ไกลมากกว่าเดิม นอกจากนี้บางคนยังมองว่าการที่ Tesla ประสบความสำเร็จในการขายรถยนตร์อีกทั้งยังมี Wait List ยาวเป็นหางว่าวนั้นเป็นสัญญาณที่ดีที่ว่า การพัฒนาศักยภาพในเชิงพาณิชน์นั้นไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป
ข้อความที่ว่า “เทคโนโลยีใหม่เป็นภัยคุกคามแค่ไหน?” คือประเด็นที่เราควรคำนึงเมื่อต้องการหาจุดยืนของตัวเอง ไม่ว่าคำถามจะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่หรือเก่า คุณก็ต้องนำมันมาพิจารณาทั้งหมด อีกทั้งอย่าคาดหวังว่าคนในทีมของคุณจะเห็นด้วยกับคุณทุกประการ มันจะเป็นการดีเสียกว่าถ้าแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทีมได้มีข้อมูลที่เป็นเชิงลึกมากขึ้น
การพิจารณาปัจจัยโดยรอบนั้นมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากร เนื่องจากตลาดไม่ได้เปลี่ยนแปลงภายในครั้งเดียวทันที การรู้ว่ามีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะส่งผลกระทบจะทำให้คุณสามารถหาแนวทางรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้
ในส่วนที่ 1 (การทำลายเชิงสร้างสรรค์) เนื่องจากการตัวเทคโนโลยีเก่าที่หยุดนิ่งอีกทั้งได้มีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่มีขีดจำกัด แน่นอนว่านักลงทุนก็จะเลือกลงทุนในตัวเทคโนโลยีใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย คำแนะนำก็คือ เพื่อเป็นการต่อต้านการเข้ามาทำลายเชิงสร้างสรรค์ ผู้ทำธุรกิจเก่าควรทำตามแนวทางที่คุ้นเคยเพื่อเป็นการยอมรับความแปลงแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งก็คือต้องมองหาจุดยืนที่จะสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว เช่น เพจเจอร์ถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถืออย่างกว้างขวาง แต่มันก็ยังถูกใช้อยู่ในแวดวงของผู้ที่ทำการให้บริการในกรณีฉุกเฉิน
ในส่วนที่ 2 (การอยู่ร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง) ผู้ทำธุรกิจเก่าสามารถลงทุนในตัวเทคโนโลยีเก่าๆ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอด ecosystem ของตัวเองได้เช่นกัน หากเป็นการพิจารณาในแง่ที่ว่าต้องการจะให้เทคโนโลยีเก่าและใหม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ การหาจุดยืนให้เทคโนโลยีเก่าเพื่อให้สามารถอยู่รอดต่อไปได้ในระยะยาวก็ได้ แต่มันอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องเร่วด่วนที่จะทำ ผู้สร้างเทคโนโลยีควรจะก้าวไปข้างหน้าในการลงมือพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างเต็มที่ ในกรณีนี้ยังรวมไปถึงการทำการทดสอบโดยการใช้ข้อมูลเสนอแนะจากกลุ่มผู้ใช้ระยะแรกรวมไปถึงกลุ่มผู้ที่มีโอกาสในการปรับใช้เทคโนโลยี
ในส่วนที่ 3 (ภาพลวงตาของความยืดหยุ่น) ผู้ที่ประสบความสำเร็ขในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาควรที่จะรู้จักการใช้ทรัพยาการเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในระบบ ecosystem ของตนอีกทั้งการพัฒนาระบบต่างๆ มากกว่าที่จะใช้เวลาไปกับการพัฒนาศักยภาพของตัวเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อปัญหาหลักคือระบบ ecosystem โดยรอบไม่ใช่ตัวเทคโนโลยี การพยายามแก้ไขปัญหาตัวเทคโนโลยีก็จะเป็นการเสียเวลาเปล่า องค์กรต้องตอบคำถามให้ได้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นการพยายามรักษาจุดยืนในตลาดเพียงเพื่อต้องการรักษาเทคโนโลยีของตนเอง เพราะนี่เป็นช่วงที่ต้องการพัฒนาเก็บเกี่ยวสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาไม่ใช่การพยายามยื้อเทคโนโลยีเก่าให้คงอยู่
สุดท้ายคือส่วนที่ 4 (ความยืดหยุ่นสูง) ผู้ที่มีเทคโนโลยีเก่าควรทำการลงทุนอย่างจริงจังเพื่อเป็นการยกระดับตนเองและเป็นการลดคู่แข่งที่จะเกิดขึ้นในภาคเทคโนโลยีใหม่ แน่นอนว่าผู้ที่ดูแลเทคโนโลยีใหม่ควรที่จะมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระบบ ecosystem ของตน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำการยอมรับว่ามาตารฐานของเทคโนโลยีตนนั้นกำลังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลงทุนด้านทรัพยากรและมีความอดทนในผลตอบแทนระยะยาว เพราะผู้เล่นรายใหม่นั้นไม่น่าจะทำการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจของตนในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้นเพื่อที่จะประสบความสำเร็จก็ควรที่จะทำการคำนึงในด้านเศรษฐศาสตร์ด้วยว่าจะมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าของเขาได้อย่างไร
เกือบจะไม่มีองค์กรไหนเลยที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เมื่อมันมาถึงการกำหนดกลยุทธ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ คำถามที่ว่า “ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่” มักจะไม่สำคัญเท่าคำถามที่ว่า “มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่” เป็นที่น่าเสียดายเพราะแม้ว่าจะสามารถตอบคำถามแรกได้ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบของคำถามที่สองที่ว่ามันจะมาเมื่อไร เมื่อนั้นเทคโนโลยีของคุณอาจจะถูกทำลายล้างไปเลยก็ได้ “เทคโนโลยีที่อยู่ถูกที่ แต่มาผิดเวลา” ประโยคนี้เป็นฝันร้ายของบริษัทผู้สร้างนวัตกรรมทั้งสิ้น พร้อมหรือยังที่จะทำการวิเคราะห์บริบท ecosystems ของเทคโนโลยีคู่แข่งให้มากยิ่งขึ้น? อีกทั้ง ecosystems ในระบบเก่านี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อีกหรือไม่? คงต้องมุ่งไปที่การหาคำตอบในเรื่องของเวลา เพราะว่าการเลือกเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความอยู่รอดและโอกาสในการประสบความสำเร็จ
แปลและเรียบเรียงจาก: Harvard Business Review
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด