แนะนำ Satangdee Fintech รายใหม่วงการไทยด้วยโซลูชั่นการกู้ยืมเงินออนไลน์ | Techsauce

แนะนำ Satangdee Fintech รายใหม่วงการไทยด้วยโซลูชั่นการกู้ยืมเงินออนไลน์

Screen Shot 2558-10-31 at 1.12.13 AM

ปีนี้ถ้าใครถามว่า Startup สายไหนร้อนแรงและได้รับการจับตา เห็นจะหนีไม่พ้นสาย Fintech ตอนนี้เราคงได้เห็น Fintech สายวิเคราะห์หุ้น, สาย Crowdfunding (Reward based และ Equity based) ไปบ้างแล้วในไทย แต่สำหรับสายกู้ยืม ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ เราก็กำลังจะมี Startup กลุ่มนี้แล้ว เราไปทำความรู้จักพวกเขากันกับ Satangdee

อะไรคือ SatangDee เหตุใดถึงกระโดดเข้ามาในธุรกิจ Fintech?

SatangDee แพลตฟอร์มการกู้ยืมเงินออนไลน์แบบบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-Peer) มีทีมงานเข้าร่วมทั้งหมด 8 คน แบ่งเป็นต่างชาติ 5 คน และคนไทยอีก 3 คน

เราทุกคนมีประสบการณ์ความรู้ในการพัฒนาเว็บ การบริหารจัดการและการตลาดออนไลน์ ซึ่งแต่ละคนจะมีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 3-15 ปี ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย รัสเซีย สหรัฐ และยุโรป พวกเรา (ไทยและต่างชาติ) ทำงานร่วมกันมานานกว่า 3 ปี ในวงการอุตสาหกรรมไทยออนไลน์

ปกติแล้ว นวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาจากเทคโนโลยีสองหรือสามตัวหรือมากกว่านั้นมารวมตัวกัน เมื่อผลรวมที่ได้ออกมา มันจะสร้างอำนาจใหม่ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงวงการอุตสาหกรรมทั้งหมดไปเลยก็ได้

อย่างในกรณีของเรา มีประสบการณ์ความรู้ทางด้านเทคนิค (Technical Experience) ซึ่งตรงกับผู้ร่วมก่อตั้งของเราที่มีประสบการณ์ในเรื่องของการเงินและธนาคาร และเขาคนนี้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเงินของธนาคารแห่งหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป  อีกทั้งที่ปรึกษาของเราก็เป็นบุคคลสำคัญที่มาจากอุตสาหกรรมการธนาคารของไทย

ในปัจจุบัน Fintech กำลังเป็นที่นิยมมากในตอนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย แต่เพราะยังมีช่องโหว่งอยู่มาก ทางบริษัทของเราจึงอยากจะนำเสนอทางเลือกใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในไทยเพื่อปฏิรูปวงการอุตสาหกรรมการเงิน

การปล่อยสินเชื่อ/ การกู้ยืมเงินแบบบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-Peer) เป็นกระบวนการของการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล   โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงินแบบแต่ก่อน อาทิเช่น กลุ่มธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ อีกต่อไป การตอบโจทย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ “ตลาดออนไลน์” ที่สามารถเชื่อมโยงทั้งสองฝ่าย - ผู้ให้กู้ / กลุ่มนักลงทุน กับ ผู้กู้ยืม เข้าด้วยกัน โดยมีบริการเป็นตัวกลางที่เป็นอุปกรณ์ในการให้คะแนนความน่าจะเป็นของบุคคลนั้น ให้ความสะดวกสบาย ด้วยโครงสร้างถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายสำหรับการทำงานร่วมกันจากที่ไกลๆ ให้เป็นเรื่องง่าย (ด้วยลายเซ็นและสัญญาการกู้แบบอิเล็กทรอนิกส์)

การให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย ควบคุมโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย (ป.พ.พ. มาตรา 650-656) และถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ามันไปตาม ป.พ.พ. กำหนด แพลตฟอร์ม SatangDee จะทำงานโดยอัตโนมัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อให้เงินที่เข้า-ออกนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และช่วยให้การกู้ยืมเงินเป็นได้ โดยที่คุณไม่ต้องมีความรู้กฎหมาย

Screen Shot 2558-11-16 at 11.50.19 PM

Fintech สายกู้ยืม แบบ Peer-to-Peer ได้รับความนิยมในประเทศใดบ้าง อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ?

บริษัทที่ใหญ่ที่สุดที่ให้บริการกู้เงินแบบ P2P คือ www.lendingclub.com ที่มีการเสนอขายหุ้นเทคโนโลยีของ 2014 รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา - บริษัทนี้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชายคนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเงินเลย เป็นเพียงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับที่จีน ตลาดสินเชื่อ P2P สิ้นปีนี้อาจขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3,000+ แพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีตลาดที่สำคัญอย่าง ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และยุโรป ที่มีตลาดโลกรวมกันของปี 2015 มากกว่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,796,125 ล้านบาท) และในปี 2020 คาดว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นอีกเป็น 490 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (17,602,025 ล้านบาท) และมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2,025 (35,922,500 ล้านบาท)

ในกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามได้มีการทำงานแบบแพลตฟอร์ม P2P เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีเพียงแค่พม่า กัมพูชา และลาวที่ยังไม่มีการริเริ่มหรือทำบริการในรูปแบบนี้ ในขณะที่ประเทศไทย เราเป็นบริษัทแรกที่จะเปิดธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินใหม่นี้

เราเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะมำให้เราประสบความสำเร็จในตลาดนี้ คือการดำเนินการทุกอย่างบนแพลตฟอร์มอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเชื่อมต่อและลดความยุ่งยากของทั้งฝ่าย โดยให้ผู้ให้กู้และผู้กู้ยืมได้มีปฏิสัมพันธ์กัน และที่สำคัญที่สุดคือ การคำนวนผลลัพธ์ในการให้คะแนนเครดิตที่เชื่อถือได้ เพื่อลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้วางใจ  เช่นเดียวกับความร่วมมือของหน่วยงานเร่งรัดติดตามหนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความไว้วางใจจากผู้ใช้งานที่มาจากประสบการณ์การใช้งานที่ดี

บริการในแบบกู้ยืม Peer-to-Peer แบบนี้ต่างประเทศเห็นได้รับความนิยมเหมือนกัน แต่สำหรับบ้านเรา เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ต้องขออนุญาตหน่วยงานใดบ้าง 

เพราะในต่างประเทศดูเหมือนเป็นที่นิยมมากๆ ในกลุ่มประชากร แต่ในประเทศไทย – เราคิดว่าไม่เคยมีหน่วยงาน หรือบริษัทไหนทำมาก่อน เนื่องจากข้อมูลของเราในขณะนี้ปัจจุบันได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้มีการปรับและพัฒนากฎระเบียบของการกู้ยืมเงินแบบ P2P และ Crowdfunding โดยจะเปิดเผยให้ทราบในเดือนธันวาคมหรือต้นปีหน้าที่จะถึงนี้

บริษัทของเราได้รับใบอนุญาตที่ออกโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย และตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการติดต่อและดำเนินการบางส่วนกับ หน่วยงานและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อบังคับและกฎหมายควบคุมที่ต้องรู้ และติดตามเร่งรัดการขอใบรับรองหรือใบอนุญาตต่างๆไว้รองรับเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

อันที่จริงแล้ว แพลตฟอร์ม P2P ไม่ใช่สถาบันการเงินธรรมดาทั่วไป อาทิเช่น SatangDee ไม่ได้ให้บริการรับฝากเงิน และออกเงินสินเชื่อ (ปล่อยกู้) เพียงแต่เราเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อนักลงทุนหรือผู้ให้กู้ กับ กลุ่มผู้กู้ ไว้ในที่เดียวกัน และให้การสนับสนุนรองรับในทุกขั้นตอน แต่เนื่องจากรัฐบาลไทยควบคุมการทำงานของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้อย่างเคร่งครัดและรัดกุม นั่นจึงเป็นเหตุว่า ทำไมเราจะต้องผ่านกระบวนการและมาตราการต่างๆนที่จำเป็นสำหรับในตอนนี้

นอกจากนี้ เรายังเร่งเห็นว่า...ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มการปล่อยกู้แบบ P2P มากที่สุด เพราะว่า;

  • เร็วๆ นี้จะมีการออกกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการให้บริการปล่อยกู้แบบ P2P แบบบุคคลต่อบุคคล
  • ในปี 2558 รัฐบาลไทยมีแผนที่จะออกกฏหมายสำหรับ Micro- finance และ สินเชื่อ Nano-finance เพื่อแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ
  • ครั้งแรกกับการปฏิรูปกฏหมายสำหรับการเร่งรัดทวงหนี้ ที่บังคับใช้ตั้งแต่กันยายน 2558 เป็นต้นมา
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 3 จะแล้วเสร็จ และมีผลบังคับใช้ในเร็วๆนี้
  • ใหม่ (โลก) วิกฤตการณ์ทางการเงิน ที่มีแนวโน้มจะมาเร็ว ๆ นี้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคารต่างๆ และการให้ความช่วยเหลือสินเชื่อใหม่
  • ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ที่ยังไม่ได้มีตลาดปล่อยสินเชื่อ P2P

คู่แข่งในตลาดไทยปัจจุบันเป็นใคร? และความแตกต่างที่มีในท้องตลาด

คู่แข่งหลักของเราในประเทศไทย ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน กลุ่มเงินกู้นอกระบบ (Loan Sharks) ที่มีกระบวนปล่อยเงินกู้แบบผิดกฎหมาย ในปัจจุบันมีพวกเขาแพร่อำนาจ ขยายธุกิจไปมากจนมีเงินหมุนเวียนถึง 2.5+ ล้านล้านบาทต่อปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ต่อเดือน ซึ่งพวกเราเร่งเห็นแล้วว่า การปล่อยสินเชื่อออนไลน์ P2P เท่านั้น ที่สามารถตอบโจทย์เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด ในการนำเสนอข้อมูลที่ง่ายและสามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้กู้ยืมที่เชื่อถือ และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นกำจัดอุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมาย หรือหนี้นอกระบบไปด้วย

นอกจากนี้เรามีการกำหนดเป้าหมายในตลาดผู้บริโภคที่มีขนาดสินเชื่ออยู่ที่ 3.6 ล้านบาท เช่นเดียวกับ ตลาดสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และ ตลาดที่ให้เครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารที่มีขนาดกว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารในไทย เราพิจารณาเป็นคู่ค้าที่มีศักยภาพมาก จากการที่เราจะได้รับลูกค้าใหม่ที่เป็นผู้กู้ที่ต้องการสร้างบัตรเครดิตเงินกู้ใหม่แทนเงินกู้เดิมและการรวบรวมหนี้ เช่นเดียวกับ เราสามารถขายต่อใบขอกู้เงินของผู้กู้ให้กับทางธนาคารเช่นกัน

แต่ที่แน่ๆคือ กลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับธนาคารและสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือได้ เราสามารถนำเสนออัตราที่ดีกว่า (Rate) พร้อมกับขั้นตอนที่เรียบง่าย สะดวก และรวดเร็วให้กับกลุ่มลูกค้าได้ตัดสินใจ

สำหรับตอนนี้ทางเรายังไม่มีบริษัทคู่แข็งใดๆ ในไทย และน่าเสียดายที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาใด ๆ ในขณะนี้เลย และแน่นอนว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีอย่างน้อย 5 บริษัทที่ทำสินเชื่อออนไลน์ P2P ขึ้นมา เพราะตลาดมีการขยายตัวที่ใหญ่ขึ้น เกิดการรวมตัวของธุรกิจต่างๆ ซึ่งเราสามารถที่จะเปลี่ยนสถานการณ์การเงินที่เอารัดเอาเปรียบนี้และนำเสนอแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้กับพี่น้องชาวไทยแทน

ความคิดเห็นหลักที่แตกต่างของเรา คือ  แพลตฟอร์มออนไลน์สามารถแทนที่สถาบันการเงินแบบเดิมๆ ได้จริงเพราะ ;

  1. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการของตัวกลางที่ถูกกว่าหรือน้อยกว่าเดิมมากขึ้น เมื่อเราใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของระบบอัตโนมัติและแยกแยะวิธีการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการมีปฏิสัมพันธ์ที่เชื่อถือได้ของผู้ให้กู้และผู้กู้
  2. ในการออนไลน์ เราจะได้รู้เกี่ยวกับศักยภาพของผู้กู้มากขึ้น โดยมาจากตัวชี้วัดกว่าพันตัวแปรที่เราใช้ในการคำนวนและประเมินผู้กู้  (Social Profile, ตัวชี้วัดพฤติกรรม, ข้อมูลขนาดใหญ่ และอื่น ๆ ) และฐานข้อมูลทั่วไปสัก 20-30 เช่น อายุ เงินเดือน เป็นต้น ขณะที่สถาบันการเงินแบบเดิมๆ จะใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ซึ่งอาจเสี่ยงที่ผู้กู้จะหนีหนี้ได้ โดยเราคาดการณ์ว่าการประเมินศักยภาพของผู้กู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะเป็นตัวการันตีให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะเราใช้การวัดประเมินจากข้อมูลความจริงที่สามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่จะให้กู้เงิน ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวางใจและมั่นใจมากขึ้นว่าบุคคลนั้นจะไม่ผิดหนี้
  3. ปกติแล้วสถาบันการเงินทั่วไปจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยรายปี (APR) ขึ้นมาใหม่ ซึ่งการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อของคนกลุ่มจะมีเพียงคำว่า “ได้” หรือ “ไม่ เท่านั้น ในขณะที่การกู้ยืมแบบ P2P จะคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้กู้แต่ละคน นั่นหมายความว่าผู้กู้มีโอกาสที่สูงมากขึ้นในการหาผู้ปล่อยกู้นั่นเอง เพราะความเสี่ยงมากที่อาจเกิดขึ้นจากการกู้เงิน ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาจมีเรทที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประวัติพื้นหลังของบุคคลนั้นๆ เพื่อให้ผู้ปล่อยกู้วางใจว่าเงินของพวกเขาจะไปสูญเปล่า อัตราดอกเบี้ยจึงตัวเสริมที่จะพลักดันให้คนกลุ่มนี้กล้าเสี่ยงมากขึ้น

ประโยชน์หลักๆ ก็คือ ผู้กู้จะได้รับข้อเสนอที่ต่ำที่สุดผ่านตลาดกลางสำหรับการกู้ยืมเงิน เช่นเดียวกับผู้ปล่อยกู้ ในฐานะนักลงทุนพวกเขาจะได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุดเช่นกัน และสิ่งเดียวที่ต้องการ คือ การเข้าถึงออนไลน์

ถ้าจะใช้บริการ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บริการของ SatangDee อย่างไร

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการของเราอยู่ที่ 5 % จากการชำระหนี้ของผู้กู้ ซึ่งระบบจะทำการคำนวนยอดชำระหนี้บวกกับค่าธรรมเนียมให้อัตโนมัติ

เมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินทั่วไป อาทิเช่น ธนาคาร และบริษัทปล่อยสินเชื่อต่างๆ จะมีการกระจายค่าเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารและสินเชื่อส่วนบุคคล/ สินเชื่อเงินสด อยู่ที่ 20-30 % จากค่าธรรมเนียมทั้งหมด เราหมายถึงว่า 1.5% ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะเฉลี่ยอยู่ที่การฝากเงินประจำ12 เดือน เปรียบเทียบกับ 28% ของอัตราดอกเบี้ยรายปีบัตรเครดิต ซึ่งจริงๆแล้วค่าธรรมเนียมทั้งหมดจะอยู่ 30% ขึ้นไป นั่นเอง

เราเชื่อว่า SatangDee และคู่แข่งตลาดสินเชื่อออนไลน์ P2P ในอนาคตที่คิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำ และง่ายต่อการเข้าถึงในการออนไลน์จะช่วยลดหย่อนอัตราดอกเบี้ยรายปีของสินเชื่อเพื่อการบริโภคอุปโภค ที่สำคัญคือเป็นการช่วยกวาดล้างตลาดเงินกู้นอกระบบอีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดของ SatangDee ได้ที่เว็บไซต์ satangdee.com

รายชื่อผู้ร่วมก่อตั้ง SatangDee ได้แก่

  • อเล็ก ลิเนนโค (Alex Linenko) ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าบริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท (CEO & Founder SatangDee.Com)
  • อเล็กซานเดอร์ เลียร์ (Aleksandr Lyah) ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท (CEO & Co-Founder SatangDee.Com)
  • พงศกร สุขเพ็ชร์ (Pongsakorn Sukpet) ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท(Operational Manager & co-founder SatangDee.Com)
  • พลอยณุภา ใจภูมิ (Ploynupa Jaipoom) ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท (Marketing Manager & co-founder SatangDee.Com)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...