ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการที่ชีวิตประจำวันแวดล้อมไปด้วยกลไกของ Digital Economy ตั้งแต่การชำระเงิน การซื้อสินค้า ไปจนถึงการเสพความบันเทิงต่างๆ ซึ่งแม้รูปแบบการบริโภคของเราจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม บริการทางการเงินยังคงเป็นแกนหลักที่ช่วยให้บริการต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จึงไม่แปลกใจนัก หากวันนี้ ธนาคารชั้นนำอย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB จะตั้งท่ารับมือความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ Digital Economy ด้วยการเป็นพันธมิตรกับ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ Digital Platform ชั้นนำ ทั้งด้านดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Garena) อีคอมเมิร์ซ (Shopee) และบริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (AirPay)
จากความร่วมมือของทั้งสององค์กรที่กำลังจะทำให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ Techsauce จึงถือโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารของทั้ง 2 องค์กร ถึงวิสัยทัศน์และแผนการต่อยอดระหว่างกัน โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารทั้ง 2 ท่าน ประกอบด้วย คุณปิติพร พนาภัทร์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานบริหารพันธมิตรและพัฒนาธุรกิจ, ธนาคารไทยพาณิชย์และ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) มาให้ข้อมูลถึงความร่วมมือดังกล่าว
คุณปิติพรเล่าว่า จากความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าในยุคดิจิทัล SCB จึงมีหนึ่งในวิสัยทัศน์ที่ต้องการทำให้ธนาคารกลายเป็นแพลตฟอร์ม หรือ Bank as a Platform โดยเน้นขยายรูปแบบและช่องทางบริการของธนาคารไปยังธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อให้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งวิธีที่ SCB เลือกใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายคือการประสานความร่วมมือกับธุรกิจในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งทาง SCB ทาง Partner และผู้ใช้
คุณมณีรัตน์กล่าวในมุมของ Sea ว่าเป็น Digital Platform ที่ทำธุรกิจ 3 ส่วน ได้แก่ Garena ผู้ให้บริการ Digital Entertainment อย่างเกมออนไลน์ชั้นนำ อาทิ RoV และ Free Fire, AirPay ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ และ Shopee ซึ่งเป็น e-Commerce Platform ระดับภูมิภาค โดยในปี 2019 Sea มาพร้อมกับหลักในการบริหารธุรกิจในเครือที่ชื่อว่า “3Es” เพื่อขับเคลื่อนบริการอย่างครบวงจร ได้แก่ Enlarge การขยายฐานผู้ใช้งานให้เข้าถึงบริการของ Sea, Enable ทำให้เกิดการใช้งานจริงที่แพร่หลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้จากหลายภูมิภาค และ Empower สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมและสังคมโดยมี Platform ของ Sea เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อน Ecosystem
คุณมณีรัตน์มองว่าการ Empower ให้เกิด Ecosystem ที่สมบูรณ์แก่ผู้ใช้บริการ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกับพันธมิตรที่แข็งแรงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ Sea ตัดสินใจร่วมมือกับ SCB ซึ่งเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งในด้านการเงิน เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการชำระเงินแบบไร้รอยต่อ (Seamless Payment Experience) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ด้วยโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
จุดร่วมของ SCB และ Sea (Thailand) คือความต้องการยกระดับบริการต่างๆ แก่คนรุ่นใหม่อายุตั้งแต่ 20-30 ปี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กลุ่มนี้เข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกสบายและเป็นไปตามมาตรฐานที่ชัดเจนของธนาคาร ทั้งนี้ ทั้ง SCB และ Sea ล้วนมีจุดเด่น ความรู้ และความเชี่ยวชาญในแต่ละมุม ซึ่งช่วยพาความร่วมมือครั้งนี้ไปสู่เป้าหมาย
คุณปิติพรมองว่า Sea เป็น Tech Startup ที่โตอย่างแข็งแกร่งมากในระดับภูมิภาค ทั้งจากขนาดของธุรกิจเอง ด้วยฐานลูกค้าจำนวนหลายสิบล้านที่ใช้บริการ Gaming และ e-Commerce ของ Sea ไปจนถึงการเปิด IPO และจดทะเบียนใน New York Stock Exchange จากความแข็งแกร่งดังกล่าว ทำให้ SCB มั่นใจในการร่วมมือกับ Sea เพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ๆ สำหรับบริการทางการเงินบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อ Digital Lifestyle Ecosystem ในอนาคต
นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าปัจจุบันของ Sea ยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อันเนื่องมาจากการดำเนินธุรกิจ Gaming และ e-Commerce ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้เป็นกลุ่มที่ SCB ต้องการเข้าถึงเพื่อให้บริการ ซึ่งทางธนาคารก็พร้อมจะเชื่อมโยงพันธมิตรรายอื่นๆ ที่มีเป้าหมายดำเนินการไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่เหมือนกัน เพื่อเสริมความแกร่งให้กับ Ecosystem ของ Sea ด้วย
ด้านจุดแข็งของ SCB ที่ทำให้ Sea สนใจร่วมเป็นพันธมิตรในระยะยาว คุณมณีรัตน์กล่าวว่าแม้โลกจะขับเคลื่อนด้วยกลไกทางดิจิทัลแต่ Banking ก็ยังเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่ง SCB คือธนาคารที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานและมีความน่าเชื่อถือในระดับภูมิภาค ทั้งยังมีฐานผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในบริการทางการเงินอย่างครบวงจร ทั้งโซลูชันการชำระเงินรูปแบบต่างๆ การประเมินเครดิต และธุรกิจสินเชื่อ ทั้งนี้คุณมณีรัตน์มองว่า Banking ยังเป็น Core ของการใช้ชีวิตประจำวัน
คุณปิติพรเสริมว่า Sea มีความเชี่ยวชาญด้าน Gaming และ e-Commerce ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตสูง หาก SCB ลงไปให้บริการด้วยตัวเองก็อาจจะทำได้ไม่เต็มที่ การจับมือเป็นพันธมิตรกับ Sea จะช่วยให้ SCB เข้าถึงอุตสาหกรรมข้างต้นพร้อมกับนำเสนอบริการทางการเงินที่เหมาะสมโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของ Sea
คุณมณีรัตน์กล่าวว่าความร่วมมือกับ SCB ช่วยให้ Sea นำเสนอบริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem ได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการชำระเงินแบบไร้รอยต่อ (Seamless Payment Experience) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ด้วยโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
คุณปิติพร ระบุชัดเจนว่าต้องการผลักดันบริการชำระเงิน (Payment) เป็นบริการกลุ่มแรกที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือครั้งนี้ โดยกำลังมีการทดสอบบริการใหม่บนแพลตฟอร์มของทั้ง 2 องค์กร และคาดกว่าจะได้เห็น Solution ทางการเงินตัวแรกจากการร่วมมือครั้งนี้ ภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ ทั้ง 2 องค์กรยังมองถึงความเป็นไปได้ในการสนับสนุนลูกค้ากลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่ม SSMEs ซึ่งใช้บริการธนาคารและค้าขายผ่าน Shopee เป็นต้น
คำตอบของผู้บริหารจากทั้ง 2 องค์กรแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพาผู้ใช้สู่ Ecosystem ของ Digital Economy ที่ครบวงจร ยิ่งในอนาคต การบริโภคมีแนวโน้มผสมผสานทั้งบนออนไลน์และออฟไลน์ บริการทางการเงินซึ่งยังเป็นแกนหลักในชีวิตประจำวัน จึงต้องช่วยให้การบริโภคเหล่านี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เพื่อความสะดวกและประสบการณ์ใช้งานที่ดีอันจะนำผู้ใช้สู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะแวดล้อมพวกเราทุกคนในอนาคต
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด