อัพเดทเส้นทาง Digital Transformation ที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาของ ดร.จาชชัว แพส แห่ง SCG | Techsauce

อัพเดทเส้นทาง Digital Transformation ที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาของ ดร.จาชชัว แพส แห่ง SCG

ทุกวันนี้ หากเราพูดถึงความเคลื่อนไหวของ Corporate เรื่องหนึ่งที่จะถูกยกมาเสมอคือ Digital Transformation แน่นอนว่าไม่ใช่งานง่ายขององค์กรขนาดใหญ่อันมีบุคลากรนับหมื่นคน โดยมีองค์กรไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถดำเนินกระบวนการได้อย่างน่าสนใจ ซึ่ง SCG คือหนึ่งในองค์กรเหล่านั้น ล่าสุด หน่วยงานด้าน Digital Transformation ได้ออกมาจัดงานแลถงข่าวประกาศกลยุทธด้านการเฟ้นหานวัตกรรมซึ่งมีเรื่องอัพเดทที่น่าสนใจมากมาย Techsauce จึงถือโอกาสเชิญ ดร. จาชชัว แพส, SCG Corporate Innovation Director และ Managing Director ของ Addventures by SCG มาร่วมพูดคุยถึงรายละเอียด สิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่างทาง และอนาคตของ Digital Transformation ใน SCG

จุดเริ่มต้นและการเดินทางใน Digital Transformation ของ SCG

แน่นอนว่าแต่ละองค์กรมีจุดเริ่มต้นกระบวนการ Digital Transformation ที่แตกต่างกัน โดยสำหรับ SCG นั้น เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงจึงทำให้เกิดการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั่วทั้งองค์กรในเงื่อนไขที่เหมาะสม

ดร.จาชชัว เล่าว่า Digital Transformation ของ SCG เริ่มต้นมาจากความคิดของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส CEO ของ SCG โดยเริ่มจากการศึกษารูปแบบและความเป็นไปได้ต่างๆ เมื่อราวไตรมาสที่ 3 ของปี 2016 จนกระทั่งผ่านไปครึ่งปี ดร.จาชชัว ก็เริ่มต้นสร้างทีมขึ้นมาในปี 2017 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อด้วยกัน ได้แก่

  1. นำ Digital Technology มาเป็น Enabler เพื่อให้ธุรกิจของ SCG เร็วขึ้น ดีขึ้น
  2. ค้นหา New Business ของ SCG ในระดับที่เป็น Growth Engine ขององค์กรได้

โจทย์ดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของบนเส้นทาง Digital Transformation ที่ต้องผ่านการทดลองและเรียนรู้ระหว่างทางมากมาย ไม่ว่าจะเป็น New Business และฝั่งการ Digital Technology Enabler

เริ่มจากในฝั่ง New Business ซึ่งรวมถึง Internal Startup ดร.จาชชัว ตั้งต้นจากการศึกษาขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ที่คิดว่าเหมาะสม ในระยะแรกก็ทำงานกับบริษัทที่ปรึกษาซึ่งมี Founder เป็นระดับอาจารย์ของ Harvard Business School ทำให้การ Setup ระยะแรกมีพื้นฐานที่แข็งแรง ในระยะต่อมา ทีมก็เริ่มขยับขยายไปยังองค์ความรู้อื่นๆ เช่น Business Model Canvas

แต่สุดท้าย ไม่ใช่ความรู้ทุกอย่างที่ได้มาจะเหมาะกับบริบทของ SCG ดังนั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์ความรู้กันตลอดเวลา ดร.จาชชัว ยกตัวอย่างถึง Playbook ของ ZERO TO ONE ก็ยังมีการ Test and Learn ตลอดเวลา

จุดประสงค์ของเราคือ อะไรที่ทีมแรกเรียนรู้แล้วใช้เป็นมาตรฐานได้ เราก็จะให้ทีมที่สองใช้เลย โดยไม่จำเป็นต้อง Fail แบบทีมแรก

ในฝั่งของการลงทุนค้นหานวัตกรรมเองอย่าง Addventures ก็มีการเรียนรู้ระหว่างทางเช่นกัน โดยทีมงานของ Addventures ได้เดินทางไปสำรวจ Ecosystem ของ Startup ทั่วโลก เพื่อมองหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับ SCG โดยในระยะเวลาที่ผ่านมา 2 ปี แม้จะยังมีแกนหลักที่มั่นคงเหมือนเดิม แต่ก็ปรับเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่นตลอดเวลา สะท้อนจากการไปยังพื้นที่ใหม่ๆ อย่างอินเดียและการพูดคุยกับ Startup จากจีนนับ 10 ราย

“จะเห็นได้ว่า ระหว่างทางมีการ Tweak ข้างใน แต่ Strategy หลักยังคงเหมือนเดิมตลอด อีกตัวอย่างที่เห็นชัด คือ ZERO TO ONE เดิมมี HATCH WALK FLY เพื่อปั้น New Business แต่เราก็เห็นว่าจริงๆ แล้ว หลายรายกลับทำแล้วเสริม Business เดิมของเราได้ เราก็เลยมีเรื่องใหม่ชื่อ Innovation Catalyst บางทีลูกค้าก็สนใจเรื่องที่เราทำก็ขอให้มาแชร์ พอแชร์แล้วพบว่ามีเรื่องที่สนใจร่วมกัน ก็จะผลักดันไปพร้อมกันในรูปแบบ Joint Venture ซึ่งด้วยรูปแบบดังกล่าว ทำให้เราต้องทำงานหนักตลอด” ดร. จาชชัว กล่าว

ประเด็นที่ได้เรียนรู้บนเส้นทางของ Digital Transformation

หลังจากเราได้เห็นถึงที่มาและการปรับเปลี่ยนบนเส้นทาง Digital Transformation แล้ว แน่นอนว่าต้องมีหลายประเด็นทีเดียวที่ SCG ได้เรียนรู้จากกระบวนการดังกล่าว โดย ดร. จาชชัว ได้สรุปเป็น 4 ข้อที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับทุกองค์กรแน่นอน

  • เริ่มจากวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ดร. จาชชัว มองว่า Digital Transformation เริ่มต้นได้ยาก หากไม่ได้มาจาก Top Down โดยคุณรุ่งโรจน์ซึ่งเป็น CEO ในปัจจุบัน เป็นคนคิดจะทำตรงนี้และมอบหมายงาน รวมถึงการสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่นดร. จาชชัว ยกตัวอย่าง ZERO TO ONE ซึ่งเป็น Startup Studio ที่เปิดโอกาสให้พนักงานในแผนกและบริษัทย่อยต่างๆ ของ SCG เข้ามาลองพัฒนา Startup ตั้งแต่ทำแบบ Part-Time จนต้องเข้ามาดูแลในส่วนนี้อย่างเต็มตัว แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบกับทีมและบริษัทเดิมที่พนักงานสังกัดอยู่ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเพื่อ Set เป้าหมายและการดำเนินงานให้ไปในทิศทางเดียวกันอย่างเหมาะสมลงตัวกับทุกฝ่าย ZERO TO ONE ก็คงก่อ Impact ได้ยาก
  • อย่าทำอะไรใหญ่เกินตัว ดร.จาชชัว มองว่า โครงการต่างๆ ของทีม Digital Transformation มักเริ่มต้นด้วยขนาดที่เล็กและจบงานเร็วหรือ Quick Win ทั้งยังเชื่อว่าต้องทำสิ่งเล็กๆ ตรงนี้ให้เข้มแข็งก่อนที่จะเดินไปสู่เป้าถัดไปที่ใหญ่กว่าเดิม นอกจากนี้ ระหว่างที่ทำ ยังมีโอกาสได้เห็นคนมากมายในตำแหน่งและเวลาที่เหมาะสม ก็เป็นการเปิดโอกาสในการได้ Partner ใหม่ๆ ที่จะสานประโยชน์และ Momentum ไปด้วยกัน

ในตอนแรก ทุกอย่างที่ผมทำจะเป็น Small Project และก็หา Quick Win พอคนเริ่มเห็นว่ามันได้เรื่องหนึ่งก็ค่อยๆ เพิ่มเรื่องที่สอง เรื่องที่สามที่ใหญ่ขึ้น แต่เราต้องทำเรื่องที่ทำอยู่ให้แน่นก่อนถึงจะไปเรื่องถัดไป

  • การสื่อสารคือเรื่องสำคัญ การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งกับคนในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยใน SCG มีบุคลากรมากถึงราว 55,000 คน จึงไม่ใช่งานง่ายที่จะสื่อสารกับคนในองค์กรจำนวนมากขนาดนี้ ทีมจึงมีการปรับในส่วนนี้อยู่เรื่อยๆ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมให้มากที่สุดส่วนกับภายนอก โดยเฉพาะ Startup ใน Portfolio ก็ต้องมีทีมคอยติดต่อช่วยเหลือตลอดเวลา ซึ่งเป็นความตั้งใจของทีม Addventures ที่ต้องการ Active และช่วยเหลือ Startup อยู่ตลอดเวลา
  • สนใจ Process มากกว่า Outcome อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือการให้ความสนใจที่กระบวนการทำงานมากกว่าผลลัพธ์ เพราะกระบวนการทำงานสามารถ่ายทอดได้ ทำซ้ำได้ แต่ผลลัพธ์มันมีปัจจัยมากกว่านั้น โดยเฉพาะ Startup ซึ่งมีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวให้เห็นอยู่เรื่อยๆ

ผมจะคิดตรงๆ ว่าเราจะกระจายสิ่งที่เราทำได้อย่างไร เช่น การกระจาย Startup Studio ให้ทั่ว SCG ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมีคน Success มีคนที่ Fail แค่เราต้องมั่นใจว่า Process ที่ Success จะสามารถทำซ้ำได้ เท่านั้นเอง

สำรวจ Digital Technology เพื่อหากุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ SCG

เมื่อคุยถึงเรื่อง Digital Transformation จะไม่คุยถึงเทคโนโลยีคงไม่ได้ แน่นอนว่า SCG ได้ตั้งทีม Digital Transformation เพื่อมองหาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ตอบโจทย์ 2 ข้อข้างต้น ซึ่ง ดร. จาชชัว ก็ได้เล่าถึงแกนเทคโนโลยีที่กำลังจับตามอง โดยมีทั้งหมด 3 แกนด้วยกัน ได้แก่

  • Artificial Intelligence และ Machine Learning AI เป็นเทคโนโลยีที่ SCG ใช้งานมากที่สุด โดยใช้ในกระบวนการ Factory Phasing หรือการจัดการขั้นตอนในกระบวนการผลิตของโรงงาน มีทั้งที่พัฒนาเอง พัฒนาร่วมกับ Startup และ Partner ในต่างประเทศ ส่วน ML เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกันกับ AI จึงมีการนำมาใช้มากพอสมควร
  • Blockchain เป็นอีกเรื่องที่ SCG สนใจ เพราะมีบริษัทในเครือจำนวนมาก โดยมองว่า Blockchain ไม่ได้ช่วยแค่เรื่อง Payment แต่ยังช่วยเรื่อง Legal รวมถึง Process ต่างๆ ที่ Blockchain จะช่วยให้ Lean ขึ้น
  • Augmented Reality และ Virtual Reality เป็นอีกแกนที่เซอร์ไพรส์พอสมควรสำหรับเทคโนโลยีที่เน้นการแสดงผล โดย SCG มองว่า AR จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการแสดงผลของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน ส่วน VR จะช่วยทั้งเรื่องงานออกแบบ งานขาย รวมถึงการแสดงสินค้าที่เห็นภาพชัดเจนขึ้น

Digital Transformation คือการเดินทางระยะยาว

หลายคนอาจคิดว่า Digital Transformation คือการกระทำที่สิ้นสุดในระยะเวลาไม่นาน แต่ในมุมมองของ ดร.จาชชัว ในฐานะผู้รับผิดชอบด้าน Digital Transformation ของ SCG นั้นมองว่านี่เป็นกระบวนการระยะยาวที่ต้องใช้เวลาต่อเนื่องเป็นสิบปี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน SCG เป็น Data Driven Company รวมถึงการลงทุนใน Addventures และ ZERO TO ONE โดย ดร.จาชชัว มองว่า ZERO TO ONE มีโอกาสจะถูกบิดและเปลี่ยนแปลงเยอะที่สุด

นอกจากเวลาที่ยาวนานแล้ว ดร.จาชชัว ยังมองถึงกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ และการลงมือทำล่วงหน้า โดยเฉพาะ Digital Technology อย่าง AI หรือ Blockchain หากไม่สามารถเข้าใจและใช้งานได้เก่งกาจตั้งแต่ตอนนี้ ก็อาจจะไม่ทันเมื่อถึงเวลาต้องใช้งานจริง

และสุดท้าย ความร่วมมือยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากจะอาศัย Startup Ecosystem ในการสนับสนุน Digital Transformation

“อะไรที่ SCG ทำเองไม่ได้ ก็ต้องเชื่อมโยงกับคนข้างนอก และถ้าเขาต้องการ Scale หากขาดความร่วมมือก็ไม่เวิร์ค หน่วยงาน Digital Transformation จึงเป็น Gateway ที่เชื่อมโยงทุกคนนั่นเอง” ดร. จาชชัว กล่าวถึงเป้าหมายของหน่วยงาน Digital Transformation

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...