เจาะกระบวนการใช้ OKR ตั้งโจทย์ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง กับ ‘อาร์ท อภิรัตน์’ แห่ง SCG | Techsauce

เจาะกระบวนการใช้ OKR ตั้งโจทย์ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง กับ ‘อาร์ท อภิรัตน์’ แห่ง SCG

เครื่องมืออย่าง OKR อยู่ในความสนใจของคนจำนวนมากในช่วงหลายปีมานี้จนคงจะไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป ในโอกาสนี้ที่ทาง Techsauce จะนำเสนอเรื่องราวของ OKR อีกครั้ง จะขอชวนทุกท่านไปพูดคุยกับ คุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ซึ่งนอกจากจะมีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานของ OKR เป็นอย่างดีและสามารถอธิบายได้อย่างเข้าใจง่าย ยังมีประสบการณ์ในการนำเครื่องมือไปใช้กับการนำทีมจริง ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การพาไปเจาะลึกรายละเอียดว่าการใช้ OKR ให้ตอบโจทย์นั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่ถูกต้อง ตัววัดผลที่ถูกต้อง ในช่วงเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้ทีมสามารถขับเคลื่อนไปได้ในทิศทางที่ชัดเจน

ตั้งต้นจากการตั้งโจทย์ OKR ให้ถูกต้อง จะออกแบบมาเพื่ออะไร? จะวัดผลอะไร?

OKR เป็นวิธีที่ดีมากในการเป็นตัวกระตุ้น monitor และวัดผล อย่างถ้าเราพูดถึง Lean Startup เรื่อง learning loop ก็ต้องมี OKR เป็นตัววัดผล ก่อนอื่นเราต้องละเอียดว่า OKR นี้ถูกออกแบบมาเพื่ออะไร เพื่อจะกระตุ้นพฤติกรรมแบบไหนในทางธุรกิจ และจะวัดผลอะไร

สมมตินำมาใช้กับเรื่องการทำนวัตกรรม นวัตกรรมก็อาจแบ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้ต่อยอด หรืออีกอย่างคือนวัตกรรมที่เป็น New S-Curve ถ้าเป็นนวัตกรรมต่อยอดส่วนใหญ่ก็สามารถปรับใช้ OKR ที่มีอยู่เดิมได้

แต่ที่ท้าทายกว่าคือการหา New S-Curve หากเราเอา OKR เดิมไปปรับใช้ก็จะเกิดผลกระทบที่เราไม่ต้องการขึ้นมาได้ และทำให้เราไม่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้

ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของ revenue ธุรกิจแต่เดิมมักตั้ง OKR ในเรื่องของการสร้างยอดขาย หรือการลดต้นทุน แต่ถ้าพูดถึงการหานวัตกรรมใหม่ ปกติเฟสแรกคือการหาไอเดียทางธุรกิจใหม่ให้เจอ สิ่งที่ลูกค้าอยากได้ หรือที่ภาษา Startup เรียกว่า Problem Solution Fit ต้องหาไอเดียมาให้ได้เยอะที่สุด

สมมติเราตั้งทีมขึ้นมาเพื่อทำเรื่อง Problem Solution Fit สถิติจาก Silicon Valley บอกว่าความสำเร็จในการทำ Problem Solution Fit จะอยู่ที่ประมาณ 7 เปอร์เซนต์ หมายความว่าใน 100 ไอเดียที่หามาได้ จะใช้ได้ 7 ไอเดีย ดังนั้นเพื่อจะเจอ 7 ไอเดียนั้นก็ต้องหาไอเดียให้เยอะที่สุด แต่ถ้าตั้ง revenue เป็น OKR สิ่งที่เราค้นพบในอดีตคือทีมจะทำงานแบบปลอดภัยไว้ก่อน เพราะ OKR จะไปวัดผลในส่วนของโบนัสและเงินเดือน ดังนั้นหากอยากจะตอบโจทย์เรื่อง revenue ในเฟสนี้ ทีมก็จะเลือกไอเดียที่คุ้นเคย หรือไอเดียที่ลูกค้ายอมรับอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็คือไอเดียจากธุรกิจเดิมที่ทำกันมาอยู่แล้ว การหา New S-Curve ก็จะล้มเหลว เพราะทีมไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าล้มเหลว เพราะถึงแม้ว่าจะหาไอเดียที่ดีได้ แต่ก็อาจไม่ตอบโจทย์เรื่อง revenue ได้ในเฟสนี้ จุดประสงค์ในการตั้งทีมนี้ขึ้นมาจึงล้มเหลวด้วยการตั้ง OKR ที่ผิด

ในเฟสที่สอง สมมติว่าได้ไอเดียที่ดีมาแล้ว ต้องการจะทำ Product Market Fit ต้องการที่จะให้เกิดการเติบโต ตัวอย่างในธุรกิจใหม่ๆ เช่นพวก Platform ซึ่งต้องการ Momentum ก่อนที่จะทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเราเน้นเรื่อง reveneu ตั้งแต่ต้น ทีมก็จะใช้งบเพื่อเพิ่มยอดขาย แทนที่จะขยายตลาด เพราะการสร้างฐานลูกค้าไม่ได้หมายถึง reveneu ตั้งแต่ต้น สิ่งที่เราได้คือฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น ถ้าไปวัดผลด้วย revenue เมื่อไหร่ ทีมก็จะไปจัดลำดับความสำคัญที่ยอดขายมาเป็นอันดับแรกแทน ดังนั้นธุรกิจที่อยากจะโตไปให้ถึง critical mass เพื่อทำในรูปแบบใหม่ๆ เช่น subscription economy ก็อาจจะไปไม่ถึงเป้าหมาย

ยกตัวอย่าง Netflix ถ้าวันแรกโฟกัสเงินที่ได้จากการ subscribe เขาจะไม่มีวันมาถึงจุดนี้ได้ จะไม่ได้เรื่องของ scale นี่คือผลกระทบข้างเคียงของการใช้ OKR ใน life cycle ที่ไม่เหมาะสม

สถิติจาก Silicon Valley บอกว่าความสำเร็จในการทำ Problem Solution Fit จะอยู่ที่ประมาณ 7 เปอร์เซนต์..ดังนั้นเพื่อจะเจอ 7 ไอเดียนั้นก็ต้องหาไอเดียให้เยอะที่สุด แต่ถ้าตั้ง revenue เป็น OKR สิ่งที่เราค้นพบในอดีตคือทีมจะทำงานแบบปลอดภัยไว้ก่อน

แบบอย่างการตั้ง OKR ให้ถูกโจทย์ ถูกเวลา

ก่อนที่จะพูดถึง OKR ต้องเข้าใจก่อนว่า innovation มีมากกว่าหนึ่งแบบ เรากำลังทำ innovation อยู่ในธุรกิจเดิม หรือธุรกิจใหม่ สมมติว่ากำลังทำอยู่ในธุรกิจใหม่ แล้ว project นี้กำลังอยู่ใน zone ไหน เป็น problem solution fit หรือเป็น product market fit แล้ว หรือต้องการจะทำให้เกิดรายได้แล้ว พอเราเข้าใจว่ากำลังอยู่ใน zone ไหน ค่อยมาดีไซน์ OKR

การที่จะดูว่า OKR นี้เหมาะสมไหมก็ต้องดูจากผลที่เกิดขึ้น เช่นถ้าใช้แล้วทีมไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าล้มเหลว ไม่ตอบโจทย์ใน zone หนึ่งก็ปรับ OKR ใหม่ 

ตัวอย่างที่ทำอยู่คือใน zone หนึ่ง ก็จะกระตุ้นทีมในเรื่องไอเดีย เช่นบอกว่าใน 1 quarter ต้องทดสอบไอเดียให้ได้ 50 ไอเดีย ก็ทดสอบและหาตัวที่ไม่ fail ให้ได้อย่างน้อย 5 เปอร์เซนต์ ทีมก็จะกลายเป็นเก่งมากในหลักการที่เราพูดกันว่า fail fast ก็จะมีวิธีในการทำ prototype ในแบบที่ถูกที่สุด เร็วที่สุด เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าไอเดียนี้ใช่หรือไม่ใช่ และไปสู่ไอเดียถัดไป ถ้าเรา apply ถูกและเห็นพฤติกรรมอย่างนี้ และตอบโจทย์ problem solution fit นั่นก็แสดงว่ามันใช่แล้ว จริงๆ แล้วเราสามารถดูได้จากพฤติกรรมของทีมหลังจากที่เราตั้ง OKR ให้เขาแล้ว ถ้าเราตั้งถูก ทีมควรจะ fail ไอเดีย 40 กว่าไอเดียได้เร็วมาก และหา 5 ไอเดียนั้นเพื่อที่จะไปในเฟสต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...