แน่นอนว่าตอนนี้ในประเทศไทยของเรา กำลังประสบกับปัญหาฝุ่นละออง (PM 2.5) ในช่วงที่ผ่านมาหากมองไปทั่วรอบกรุงเทพ เราจะเห็นหมอกควันลอยไปทั่วทั้งเมือง ซึ่งทำให้เราได้เห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศอยู่ใกล้กับเรามากแค่ไหน และเริ่มตั้งคำถามกับการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ เราจึงจะพาทุกท่านไปติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหาจากสองประเทศที่เคยเกิดเหตุมลพิษทางอากาศเช่นเดียวกันกับประเทศไทยของเรา
โดรนหลายตัวกำลังบินว่อนบริเวณย่านชานเมืองในกรุงโซล ทำการบันทึกภาพกลุ่มมลพิษในย่านอุตสาหกรรม เหล่าประชาชนต่างสวมใส่หน้ากากสีขาวดำปกคุลมใบหน้าเพื่อป้องกันการสูดอากาศที่เป็นมลพิษ กลุ่มหมอกควันสีเทาปกคุลมไปทั่วตามตึกที่พักอาศัยต่างๆ ภาพเหล่ากลายเป็นภาพที่เห็นจนกันจนคุ้นตา ไม่ต่างจากกรณีไทย
UAV ถือเป็นหนึ่งในโครงการโดรนที่รัฐบาลเกาหลีได้ทำการเปิดตัวเพื่อจัดการกับปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองในช่วงต้นปีที่ผ่านมา สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบการปล่อยควันพิษของเหล่าโรงงานขนาดใหญ่ต่างๆ ถือเป็นเทคโนโลยีตัวล่าสุดของรัฐบาลที่มุ่งหวังแก้ปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศที่กำลังร้ายแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ทางรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็ได้ทำการประกาศภาวะฉุกเฉินจากสถานการณ์ในครั้งนี้
Shin Geon-il หัวหน้าแผนกหน่วยงานในการจัดการคุณภาพอากาศกล่าวว่า "เราหวังว่าการทำงานครั้งนี้จะนำพาโซลไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหม่ แต่ถึงอย่างไร พื้นที่เมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มีรายได้สูงก็จัดเป็นพื้นที่หลักที่ได้มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ"
“หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อากาศของเรานั้นอยู่ในเกณฑ์แย่” Park Rok-jin อาจารย์ประจำคณะวิชาวิทยาศาสตร์โลกและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล กล่าว
ความกงวลเรื่องวิกฤตฝุ่นพิษ กลายเป็นความกังวลในชีวิตอันดับหนึ่งของประชาชนในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจซบเซาเสียอีก
Jeon So-yun ครูอายุ 36 ปี เกิดและโตในกรุงโซล กล่าวถึงปัญหามลพิษทางอากาศที่เธอคิดว่าเลวร้ายที่สุดในชีวิตว่า “ฉันมีความกังวลว่าเหล่าฝุ่นละอองขนาดจิ๋วนี้จะทำลายสุขภาพ มีบางอย่างเกิดขึ้นกับร่างกายของฉัน ทั้งไอ มีเสมหะ และปัญหาผิว ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ฉันพยายามเดินทางไปอยู่สหรัฐอเมริกา”
“พอคิดถึงอนาคตของลูกหลาน ฉันก็อดคิดไม่ได้ว่าอยากจะย้ายออกจากประเทศนี้” Lee Eun-ji วัย 28 ปีกล่าว
รายงานผลกระทบสถานการณ์มลพิษทางอากาศทั่วโลก พบผู้เสียชีวิตจากวิกฤตินี้ 4.2 ล้านคนต่อปี โดย 91 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นเกินกว่าแนวทางขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ซึ่งแนะนำให้มีการสัมผัสกับฝุ่นละเอียดหรือ PM10 ไม่เกินค่าเฉลี่ยรายวัน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และฝุ่นละอองขนาดเล็กพิเศษหรือ PM2.5 ไม่เกินค่า 25 โดยในปี 2017 กรุงโซลมี PM10 แตะ 179 ต่อมาเป็น 25.6 เดือนมีนาคมปี 2018 ถือว่าต่ำสุดในรอบห้าปี ส่วน PM2.5 ขึ้นสูงแตะถึง 100
ค่าฝุ่นละออง PM2.5 หรืออนุภาคฝุ่นที่วัดความกว้างน้อยกว่า 2.5 ไมครอนเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง มันมีขนาดเล็กมากจนสามารถเข้าไปในปอดและเจาะเข้าสู่เยื่อบุสู่กระแสเลือด ประกอบด้วยคาร์บอนแบล็คไนเตรตแอมโมเนียและสารประกอบอันตรายอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับโรคระบบทางเดินหายใจและมะเร็ง นอกจากนี้ในปี 2013 ทาง WHO ได้จำแนกฝุ่นละเอียดเป็นสารก่อมะเร็ง
โดรนพัฒนาโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบไปด้วยกล้องวิดีโอและเซ็นเซอร์ที่สามารถจับ และทำการวัดปริมาณฝุ่นและก๊าซที่ผลิตจากโรงงานที่ผลิตเกินมาตรฐาน โดยทางเกาหลีมุ่งหวังใช้ในทั่วประเทศอย่างรวดเร็วที่สุดในช่วงต้นปีหน้า
เมืองที่ได้มีการทดลองใช้โดรนเพื่อตรวจจับฝุ่นละเอียด ได้แก่ ตงกวนในประเทศจีน แฟร์แบงค์ อะแลสกาและเมมฟิสในรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้รัฐบาลเมืองโซลก็ได้มีการใช้แผนที่มลพิษทางอากาศ แอพพลิเคชันบนมือถือ ในการส่งแจ้งเตือนข้อความแบบเรียลไทม์ต่อสาธารณะ ในวันที่ระดับฝุ่นละอองมีความหนาแน่นถถึง PM2.5 และ PM10 สูงถึงระดับอันตราย ระบบจะแจ้งเตือนประชาชนและโรงเรียนห้ามไม่ให้มีการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
KT ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของประเทศของเกาหลีใต้ เจ้าของโครงการ Air Map Korea กำลังพัฒนานวัตกรรมเช่นกัน โดยเป้าหมายคือต้องการใช้ AI, IoT ในการรวบโครงการกับระบบอื่น ๆ เช่นเครื่องฟอกอากาศและโรงฟอกอากาศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถปรับได้โดยอัตโนมัติเมื่อระดับมลพิษสูงขึ้นหรือลดลง
การแก้ไขปัญหาจากภาคเอกชนอื่นๆ รวมถึงยานพาหนะทางอากาศที่ไม่ใช้คนขับซึ่งผลิตฝนเทียมด้วยน้ำหรือสารเคมีเพื่อล้าง PM2.5 และ PM10 ที่เป็นอันตราย ซึ่งประเทศจีนกำลังพัฒนามันอยู่ในปัจจุบัน
แม้การพัฒนาเทคโนโลยีส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ กรีนพีซ สำนักงานกรุงโซล ได้เน้นย้ำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการกับต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเลิกใช้ถ่านหินในปี 2030 กับประเทศในกลุ่ม OECD ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ไม่เฉพาะช่วยลดปัญหามลพิษทางการอากาศเท่านั้น แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงนี้ด้วยเช่นกัน "ถึงแม้ว่าจะได้มีการลงนามไปแล้ว ในตอนนี้ก็ได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เจ็ดแห่งในเกาหลีใต้" Son Min-woo จากหน่วยมลพิษทางอากาศทั่วโลกของกรีนพีซกล่าว
อันที่จริง Moon Jae-in ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยฝุ่นละอองลง 30 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี 2022 และปิดโรงถลุงแร่ 10 แห่งในปี 2025 แต่ยังเปิดเผยแผนการใหม่ 20 โครงการในปี 2021
สาเหตุของวิกฤตตฝุ่นที่เกาหลีใต้นั้นมาจากประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศนิ่ง ความชื้นสูง ประกอบกับควัน และการตัดไม้ทำลายป่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ควรรับผิดชอบส่วนใหญ่นั้นก็มาจากประเทศเกาหลีเอง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของมลพิษฝุ่นเกิดขึ้นในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากโรงงานอุตสาหกรรม และไอเสียของเครื่องยนต์
เมื่อต้นปีที่ผ่านมานักวิจัยชาวนอร์เวย์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก 13,000 เมืองทั่วโลก พบว่ากรุงโซลมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เลวร้ายที่สุด โดยมีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 276.1 เมตริกตันต่อปี ผ่านระบบการขนส่ง และการบริโภคในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 45 ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยรวมของประเทศ
ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาคือการให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของตัวเองในการช่วยควบคุมปริมาณคาร์บอน นอกจากนี้รัฐบาลได้ดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการขนส่งสาธารณะในช่วงวันที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ยกเลิกตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการปิดพื้นที่จอดรถของรัฐบาล, ประกาศให้มีการสลับวันขับรถของพนักงานทั่วไป, ปรับและทำการแบนพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซล, ติดตั้งสถานีจักรยานเพิ่มเติม, และสร้างพื้นที่สีเขียวแทนที่พื้นถนนด้วยทางเดินเท้า
“เปรียบเทียบกับช่วงต้นปี 2000 ระดับมลพิษเพิ่มขึ้น 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมันก็เริ่มนิ่ง ในฐานะผู้บริการสาธารณะ เราต้องควรจะช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น” Choi Ho-jin โฆษก Metropolitan Government กรุงโซล กล่าว
ชิลิได้ประกาศโครงการใหม่ล่าสุดซึ่งเปิดตัวในปี 2014 โดยรัฐบาล โดยมุ่งหวังปรับปรุงและแก้ไขปัญหามลพิษที่มาจากเตาเผาฟืนจำนวน 200,000 เครื่อง
การใช้ฟืนเพื่อสร้างความร้อนภายในบ้านกำลังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน ชิลีกำลังกับประสบปัญหาใหญ่เรื่องมลพิษทางอากาศและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข ตามรายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อม การเผาไหม้ของฟืนสามารถผลิตฝุ่นละอองละเอียด (PM2.5) ถึง 94% ในหลายเมืองของชิลี แต่ด้วยปัญหาการเงินของประชาชนหลากหลายครอบครัวส่งผลให้พวกเขาไม่เลือกที่จะใช้พลังงานสะอาดแทนที่วิธีการแบบเดิมๆ
ในฤดูหนาว เมื่อมีฝนตกบางๆ และไม่มีสายลมพัดผ่านเพื่อขับไล่หมอกควันออกไป ทำให้เมืองอย่าง Santiago ซึ่งอยู่ในหุบเขาปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองจำนวนมาก ในทุกปีของประเทศชิลี ปัญหาของมลพิษทางอากาศสร้างค่าใช้จ่ายในภาคสาธารณสุขถึง 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นสาเหตุของการปรึกษาหารือด้านสุขภาพในภาวะฉุกเฉินถึง 127,000 รายและเกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่า 4,000 ราย
ในปี 2014 รัฐบาลได้ประกาศโครงการใหม่ในการที่จะสนับสนุนกให้ใช้วิธีการอื่นแทนที่การสร้างความร้อนจากฟืน เช่น แก๊ส paraffin หรือเครื่องทำความร้อนจากไม้ ซึ่งส่งผลให้มีการลดลงของปริมาณการปล่อยมลพิษและพัฒนาคุณภาพอากาศภายในอาคารและบ้าน ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้มชี้ว่า การปล่อยมลพิษทางอากาศจากการใช้เตาเผาไม้แบบเก่า ถือว่าสูงกว่าการใช้งาน pellet-based heater เป็นสองเท่าและสูงถึงสามเท่าสำหรับ paraffin
“เครื่องทำความร้อนแบบใหม่พัฒนาชีวิตของเรา ไม่ใช่แค่ว่ามันมีราคาถูก แต่ที่สำคัญมันลดปริมาณของมลพิษทางอากาษในประเทศ” Ramón Soto Vidal หนึ่งในประชาชนที่ได้รับเครื่องทำความร้อนจาก paraffin กล่าว
Raquel Fuica ผู้พักอาศัยในเมือง Osorno กล่าวว่า “ฉันคิดว่ามันสะอาดมาก และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับอพาร์ทเมนต์ของฉัน เนื่องจากฟืนนั้นใช้การไม่ได้และยังส่งผลเสียทางมลพิษอีกด้วย”
Verónica Nahuel เป็นอีกหนึ่งคนที่ชักชวนเพื่อนบ้านให้หันมาใช้ solid fuels ในการสร้างความร้อน “ด้วยวิธีการใหม่นี้จะช่วยทำให้เราสามารถช่วยเหลือเมืองให้มีอากาศที่ดีขึ้นได้”
ชิลิเริ่มประสบความสำเร็จจากการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ “ในปีนี้เราได้เห็นประโยชน์และผลร้ายจากการปนเปื้อนของมลพิษทางอากาศซึ่งเราไม่เคยรับรู้มาก่อนในปีที่แล้ว เนื่องจากความแห้งแล้งและสภาพอากาศที่ย่ำแย่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม Marcelo Mena เปิดเผยว่าตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 เมษายน จนถึง 29 มิถุนายน 2017 ปริมาณของมลพิษลดลงถึง 45 เปอร์เซ็นต์หากเทียบกับปี 2016
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันผู้คนกว่า 10 ล้านคนกำลังประสบปัญหาจากค่ามลพิษที่สูงกว่ากำหนด หรือฝุ่นละอองอนุภาค 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่สูงกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ในตอนนี้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นกว่าครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีจากความร่วมมือระหว่างประชาชนและรัฐบาล”
นอกจากนี้รัฐบาลยังพยายามที่จะสนับสนุนการสร้างฉนวนกันความร้อนให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการการปรับปรุงชุมชน โดยมี 100,000 ครัวเรือนเป็นประจำทุกปี กระทรวงการเคหะและกิจการเมืองประเมินว่า ฉนวนกันความร้อนช่วยลดความต้องการความร้อนลง 30 เปอร์เซ็นต์ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายและการปล่อยก๊าซที่ต่ำลง
การใช้พลังงานในบ้านถือเป็นหนึ่งในการสร้างมลพิษหลักๆ ของประเทศชิลี ซึ่งทำให้นี่เป็นหนึ่งในแผนของรัฐบาลชิลีในการที่จะลดปริมาณมลพิษจากครัวเรือนลงเนื่องด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของ Climate and Clean Air Coalition ตั้งแต่ปี 2012 ที่จัดโดย UN Environment ซึ่งประกอบไปด้วย รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และภาคธุรกิจ ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือการ ลดก๊าซ methane black carbon และ hydrofluorocarbon
Mena กล่าวว่า “มลพิษทางอากาศระดับท้องถิ่นหรือเมือง เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้นสู่ระดับโลกอย่างเรื่องของภาวะโลกร้อน ถ้าเราสามารถจัดการกับสารปนเปื้อน จะส่งผลให้เกิดการลดลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ บนโลกใบนี้ได้ถึง 1.5 องศาเซลเซียล” ยิ่งไปกว่านั้นชิลียังมุ่งมั่นที่จะลดมลพิษและปรับสภาพภูมิอากาศในระยะสั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Paris Agreement อีกทั้งรัฐบาลยังจัดการควบคุมการลดมลพิษด้วยการปรับภาษีรถยนต์ ทำให้ได้เห็นการลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในปี 2015 ถึง 2016 และแนะนำการลดหย่อนภาษีสำหรับการนำเข้ารถยนต์ที่มีมลภาวะน้อยกว่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ( ‘Euro 6’ )
ชิลีได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อแคมเปญ Breathe Life ซึ่งถือเป็นการริเริ่มร่วมกันขององค์การอนามัยโลก UN Environment and the Climate & Clean Air Coalition เพื่อระดมผู้คนในการปกป้องสุขภาพของเราและรักษาโลกจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศ โดยมุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลกในปี 2030
Santiago กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นผู้นำด้วยแคมเปญ Santiago Respira ในปี 2014 และมุ่งหวังจะลดปริมาณการปล่อยมลพิษในโลก 60 เปอร์เซ็นต์ และในตอนนี้ Chiguayante, Concepción, Hualqui และ Talca ก็เข้าร่วม Santiago ในแคมเปญ Breathe Life
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด