เดินหน้าการเงินดิจิทัล บทเรียนจากไทยสู่เพื่อนอาเซียน สรุปความเห็นจากผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ | Techsauce

เดินหน้าการเงินดิจิทัล บทเรียนจากไทยสู่เพื่อนอาเซียน สรุปความเห็นจากผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

ภายในงาน Singapore Fintech Festival 2024 คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองอันน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นทางการเงินดิจิทัลของไทย ทั้งในเรื่องความท้าทาย และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นบทเรียนสำคัญให้กับอาเซียน

สมดุลแห่งความร่วมมือ เมื่อทั้งรัฐ-เอกชน อยากทำเงินดิจิทัล ใครเป็นหัวหอกดี ?

สำหรับประเทศไทยเลือกใช้โมเดลที่ภาคเอกชนนำ โดยเฉพาะธนาคารที่เป็นผู้ลงทุนหลักในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพการใช้งานที่โดดเด่น แต่ยังมีโจทย์ที่ท้าทายคือความเท่าเทียม เพราะผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารยังคงเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ 

นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่อาเซียนต้องขบคิด การผสมผสานความเชี่ยวชาญของภาคเอกชนกับบทบาทของภาครัฐในการกำกับดูแลและส่งเสริมการเข้าถึงอย่างทั่วถึง อาจเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

Open Infrastructure, Data และ Interoperability คือประตูสู่โอกาส

คุณเศรษฐพุฒิ อธิบายเสริมว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงอย่างเดียว เพราะต้องคำนึถึงความสำคัญของ ‘การเปิดกว้าง’ ไม่ว่าจะเป็น Open Infrastructure หรือการเปิดกว้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกคนเข้าถึงได้, Open Data การเปิดกว้างด้านข้อมูล (ที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัว และปลอดภัย) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน และนวัตกรรม 

รวมถึง Interoperability หรือการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน เพื่อเชื่อมโยงระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งนี่จะเป็นรากฐานสำคัญที่จะปลดล็อกศักยภาพทางการเงินดิจิทัลอย่างแท้จริง พร้อมกับสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ใช้เงินข้ามพรมแดนอย่างไรให้ไร้รอยต่อ?


แม้ไทยจะมองการณ์ไกลถึงความจำเป็นของระบบพหุภาคี หรือการที่ไทยจะต้องทำข้อตกลงกับหลายประเทศ แต่ก็ไม่ได้มองข้ามความเป็นจริงที่ว่า ประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อมโยงแบบทวิภาคียังคงมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะกับประเทศที่ยังไม่พร้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมอย่าง "กระเป๋าเงินนักท่องเที่ยว" ที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวข้ามพรมแดน สะท้อนถึงการปรับตัวอย่างชาญฉลาด

อนาคตของ CBDC ?

CBDC หรือโครงการสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแต่ละประเทศ ซึ่งทางประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงศึกษาและพัฒนา คุณเศรษฐพุฒิ มองว่า CBDC อาจมีประโยชน์อย่างมากสำหรับธุรกิจขายส่ง (Retail CBDC) เนื่องด้วยศักยภาพของระบบการโอนเงินแบบข้ามพรมแดนที่ลดทั้งเวลา และความเสี่ยง โดยโครงการ Inthanon-LionRock (อินทนนท์-ไลออนร็อก) ที่ไทยเป็นส่วนร่วมในการพัฒนา คือเครื่องพิสูจน์ความเป็นไปได้ และเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอนาคตของการเงินระหว่างประเทศ

คุณเศรษฐพุฒิ ทิ้งท้ายถึงเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มักมาพร้อมกับภัยคุกคาม การฉ้อโกงที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายใหญ่หลวง โดยย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่ในอาเซียน แต่ต้องขยายวงกว้างในละดับโลก การแบ่งปันข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดคือเกราะป้องกันที่แข็งแกร่ง

อ้างอิง : ข้อมูลจากงาน Singpaore Fintech Festival หัวข้อ Thailand's Digital Finance Journey : Lessons for ASEAN

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกโอกาส Fintech 2025 มูลค่าต่ำแต่ศักยภาพยังสูง CB Insights เผยถือเป็นโอกาสทองของนักลงทุน

ตลาด Fintech กำลังเผชิญกับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังจากที่เคยเติบโตอย่างร้อนแรงและมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมูลค่าของบริษัทฟินเทคกลับปรับตัวลดลงอย่าง...

Responsive image

ส่องแนวโน้ม Advanced Robotics อนาคตของ Healthcare

ค้นพบแนวโน้มหุ่นยนต์อัตโนมัติในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ สหรัฐฯ เผชิญปัญหาขาดแคลนบุคลากร การนำ Advanced Robotics มาใช้ในโรงพยาบาลและบ้านผู้ป่วย คือกุญแจสำคัญสู่อนาคต...

Responsive image

ตำแหน่ง CRO คืออะไร ? พร้อมเจาะลึก 6 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จของผู้บริหารความเสี่ยงยุคใหม่

จากงานวิจัยของ McKinsey จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจ CRO ปัจจุบันและอดีตมากกว่า 30 รายของสถาบันการเงินหลักทั่วโลก โดยแต่ละรายมีประสบการณ์ในบทบาทนี้มาอย่างน้อย 5 ปี พบว่า CRO ที่ปร...