e-commerce คือ ธุรกิจที่เป็นที่จับตามองมากๆ เพราะด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่หันมาซื้อสินค้าบนออนไลน์และโมบายล์มากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การทำ e-commerce มีประสิทธิภาพก็คือ เรื่องของ Logistic หรือการขนส่ง วันนี้เรามีโอกาสพูดคุยกับ 1 Startup ที่มาจับเรื่องนี้ทำธุรกิจในรูปแบบของการขนส่งแต่ทำแบบครบเครื่องเพื่อให้ ecosystem ครบมากขึ้นในชื่อ Siam Outlet
วันนี้เรามาพูดคุยกับ 2 co-founder คุณน้ำฝน ชญาภัค สหัชอติเรกลาภ และคุณน็อต ชนะชัย พฤกษชัต ผู้ที่ทำ Siam Outlet - Startup concept แปลกใหม่ด้วยการใช้หลักการของ Co-Warehousing Space ซึ่งปกติเราจะคุ้นเคยกับ Co-Working Space กัน มาดูกันดีกว่าว่าธุรกิจของ Siam Outlet เป็นอย่างไรกันแน่
คุณฝน - Siam Outlet คือ Co-Warehousing Space แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ใช้รูปแบบคล้ายกับการเปิดโรงแรมแบบ Hotel Chained นั่นคือ เจ้าของโรงแรม มีที่ดิน มีตึก ส่วนตัวเจ้าของ Chain ต้องเข้าไปช่วยดู เรื่องของคน เรื่องวัฒนธรรม เรื่องการเงิน และอื่นๆ อีก ไม่ใช่แค่เอาแบรนด์ไปใส่ไว้เป็นชื่อเท่านั้น ในทางเดียวกัน Siam Outlet จะได้รายได้เป็นค่า Management Fee และ Incentive เมื่อทำได้ถึงเป้า ซึ่งกลุ่มเจ้าของ Warehouse ที่เป็น Target ของเราคือกลุ่มที่มีโกดัง แต่ไม่รู้จะเอาโกดังไปทำอะไร
คุณน็อต - ขอเสริมในส่วน Values ของ Siam Outlet จริงๆ เราช่วยร้านค้าออนไลน์ได้ตั้งแต่ การเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุน สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และมีคอมมูนิตี้ร้านค้าออนไลน์ สำหรับร้านค้าที่เข้ามาใช้บริการของเรา เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนคู่คิดร้านค้าออนไลน์ก็ว่าได้ครับ
คุณฝน - ใช่ค่ะ
คุณฝน - ฝนมีประสบการณ์ทำงานด้านบริการมาโดยตลอด อยู่ในวงการออแกนไนซ์เซอร์กว่า 15 ปี เลยมองว่าการทำเรื่องการบริการ พวกการลงรายละเอียดน่าจะถนัดที่สุด แล้วเราก็มาดูต่ออีกว่าตลาดอะไรที่น่าจะ Match กับเรา ก็เลยมาเจอว่า e-commerce เมืองไทยมันโตและน่าสนใจ
คุณน็อต - ตอบแบบง่ายๆ เลยคือ ผมขายของออนไลน์อยู่แล้ว ผมไม่ได้แค่เห็นการเติบโตมันจากตัวเลข ผมได้คลุกคลีอยู่กับมันตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการขายของออนไลน์ยันส่งมอบถึงมือลูกค้า นอกจากนี้ Service ต่างๆ ที่ Siam Outlet มี มันแก้ปัญหาของร้านค้าออนไลน์ได้จริงๆ เพราะบริการที่คิดมา ถูกพัฒนามาจากความต้องการของร้านสมหมายขายกางเกงเอง และจากการเก็บข้อมูลในคอมมูนิตี้ร้านค้าออนไลน์ที่เราสร้างขึ้นมา
ถ้าพูดถึงเชิงตัวเลขเรามองว่ายุคนี้เป็นยุคของ Casual Commerce ที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าผ่าน Facebook, Instagram และ LINE ซึ่งเม็ดเงินในกลุ่มตลาดนี้มันมีปริมาณสูงมากๆ หลักแสนล้าน ก็เลยเป็นที่มาทำให้เราเห็นว่าตลาดนี้มีศักยภาพ และเราน่าจะทำในส่วน Service เขาได้ ซึ่งเราก็พยายามไปศึกษาบริการในต่างประเทศว่าเขาทำอะไร อย่างไรบ้าง เพราะถ้าพูดถึงเรื่องธุรกิจแบบ Siam Outlet สำหรับร้านค้าออนไลน์ ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เราเลยต้องใช้ความพยายามในการสื่อสารถึงร้านค้าออนไลน์ว่ามันมีบริการแบบนี้อยู่ และสามารถช่วยเหลือเขาได้จริงๆ
คุณฝน - เกือบ 2 ปีค่ะ
คุณฝน - Customer Service ค่ะ เราคุยกับลูกค้าเป็นเหมือนเพื่อน ไม่อยากใช้บริการไม่ว่า มีอะไรปรึกษาเราได้ เราพร้อมให้คำแนะนำ อย่างน็อตเองทำร้านออนไลน์มาก่อนจึงมีความเข้าใจในร้านค้าออนไลน์ด้วยกันเอง ซึ่งจุดนี้ทำให้ลูกค้าติดเขาเยอะมาก เพราะนอกจากการแก้ปัญหาให้แล้ว เราก็ยังได้รับ Feedback หรือประสบการณ์การใช้งานจากผู้ใช้โดยตรงที่เขาจะแชร์มาให้เรา ไม่ว่าจะเป็นของเราเอง หรือเป็นเจ้าอื่นๆ เรามองว่า Customer Service มันไม่ใช่แค่แผนกนึง แต่เราอยากให้มันเป็นหน้าที่ของคนทุกแผนกที่อยู่ในองค์กร
คุณน็อต - เรามีความเข้าใจในตัวพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ครับ มีลักษณะของการบริการและการทำงานที่ถูกจริตกับร้านค้าออนไลน์ ทั้งยังมีระบบ Software บริหารจัดการหลังร้านที่ออกแบบมาให้เหมาะกับแต่ละประเภทร้านค้า ที่สำคัญทีมงานของเรามีความยืดหยุ่นสูงในการให้บริการแต่ละร้านค้า เพราะเรารู้ดีว่าความต้องการในแต่ละร้านค้ามีไม่เหมือนกัน
คุณฝน - เราพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องจริงๆ ค่ะ อย่างเช่น มีร้านค้านึงที่ใช้บริการเรา สังเกตว่ามียอดออเดอร์ตกลงมากจนผิดสังเกต เมื่อเราได้สอบถามกับเจ้าของร้านก็พบว่าปัญหาคือ ไม่มีเวลาในการตอบลูกค้าและบริหารแฟนเพจ เราจึงนำทีมงานของเราเข้าไปช่วยเจ้าของร้านตั้งแต่โพสขายของ รับออเดอร์ลูกค้า จนถึงส่งสินค้า ซึ่งเราได้เปิดให้บริการนี้แก่ร้านค้าที่ใช้บริการของเราหลายร้านแล้ว และยังมีเคสแปลกๆอีกเยอะเลยค่ะ ที่เราได้เข้าไปช่วยร้านค้าออนไลน์ให้ชีวิตเขาดีขึ้น สามารถเพิ่มยอดขาย ช่วยลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้จริงๆค่ะ
คุณฝน - ตอนนี้เราเป็น B2B ที่มีเป้าหมายจะเป็น B2B2C โดยไปแตะกับผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้ร้านค้าออนไลน์ที่ใช้บริการเราได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการทำ CRM ความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค และเพื่อกระตุ้นยอดขายให้แก่ร้านค้าได้ถูกทิศทาง
สำหรับ B2B ในปัจจุบัน เป็น B2B ที่ B ตัวหลังเขามีความรู้สึกว่าเป็น C ค่ะ เขารู้สึกว่าเขาเป็นลูกค้าคนหนึ่งที่เข้ามาใช้บริการ เขาไม่ได้รู้สึกว่าเขามาใช้บริษัทที่มาใช้บริการ ดังนั้นเวลาที่เราคุยกับเขาเราต้องทำ Marketing ให้เขารู้สึกว่าเขาเป็น Consumer ปกติ แต่จริงๆ แล้วทุกอย่างมันเป็น B ที่เป็น Business หมดเลย มันแอบมีข้อดีอย่างนึงคือ ปกติเราจะให้เครดิตในการจ่ายเงิน แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะทุกคนจ่ายเงินสดเดี๋ยวนั้นทันที ธุรกิจของเราแทบจะเป็นเงินสดหมดเลย เพราะพ่อค้าแม่ค้าเขาบอกเหมือนกันหมดว่า เขาไม่อยากติด เดี๋ยวลืม โอนให้เลยดีกว่า (หัวเราะ)
คุณน็อต - ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าออนไลน์ที่ขายของบนโซเชียลมีเดียเกือบทั้งหมด และตอนนี้เริ่มมีลูกค้าบางส่วนที่เป็น Corporate และเป็น Agency มาใช้บริการบ้างแล้ว
คุณฝน - ลูกค้าส่วนใหญ่จะทำควบ 2 อาชีพ นั่นคือทำงานประจำอยู่แล้วและขายของออนไลน์ไปด้วย พอขายเรื่อยๆ เริ่มขายดีแล้วก็แพ็คไม่ไหว ก็เลยมาให้เราช่วยดูแล มีธุรกิจเป็นของตัวเองได้ โดยไม่ต้องลาออกจากงานประจำ นอกจากนี้ มีร้านค้าที่ขยายตัวเร็วจนแพ็คไม่ทัน และมีบางร้านที่เจ้าของร้านไปอาศัยอยู่ต่างประเทศและส่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศไทย
คุณฝน - พนักงานมี 7 คนค่ะ ส่วน Founder มี 3 รวมทั้งหมด 10 คนค่ะ
คุณฝน - ในไตรมาสแรกเราจะทำให้ทะลุ 5,000 orders ต่อเดือนให้ได้ โดยมีความเป็นไปได้สูงมากๆ ที่ภายในปีนี้เราจะทำยอดรวมได้ทั้งปีเกิน 110,000 orders ซึ่งหมายความว่าเราจะมีขยายตัวเกิน 25 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน เรามีแผนในการทำ Growth Hack เพื่อขยายตัว โดยเรามองหาคนที่มี Passion ที่เขามีที่เหลือแต่เขาไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เราก็เอามาช่วยขยาย เรามีทุกสิ่งทุกอย่างให้ ทั้งซอฟท์แวร์และ Know-How ของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า Intelligence Fulfillment Platform ที่จะทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันและทำให้ตัว Siam Outlet โตขึ้นได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนั้นเรายังช่วยดูแลร้าน ตอบคำถาม คือทำตัวเป็น Admin ของร้านไปให้เลย และเรายังช่วยออกแบบการยิงโฆษณาให้เขาหมด เจ้าของร้านจริงๆ นั่งเฉยๆ หรือรอนับเงินได้เลย ทุกอย่างเราทำให้ ช่วยบริหารให้
คุณน็อต - นอกจากการขยายตัวโดยตรงแล้ว เรายังเชื่อในการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจด้วย Community ของร้านค้าออนไลน์ด้วยกันเอง ที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้ Siam Outlet เอง สามารถเข้าถึงและเข้าใจความเป็นร้านค้าออนไลน์ได้มากขึ้นอีกด้วย
คุณน็อต - พร้อมแล้วในลักษณะที่ ตัวอยู่ต่างประเทศแล้วส่งของเข้ามาขายในไทย เรามี Solution ในการสนับสนุนส่วนนี้ มีลูกค้าแบบนี้แล้วจริงๆ อีกมุมคือ Business Model ของเราสามารถ Franchisee ไปต่างประเทศได้ ขอแง้มว่าตอนนี้กำลังทดลองโปรเจคที่ไปแตะกับนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยอยู่ครับ
คุณฝน - จริงๆ มีคนติดต่อมาให้ไปต่างประเทศเยอะเหมือนกัน และทางน้องน็อตก็เคยบอกว่ามีความฝันอย่างหนึ่งคือ เค้าอยากไปคุยกับ Jack Ma ว่าเราทำธุรกิจแบบนี้ เราสามารถร่วมธุรกิจอะไรกับเขาได้บ้าง (หัวเราะ)
คุณฝน - เรามองก่อนอยู่แล้ว แต่ว่าเมื่อเราดู 2 ปัจจัยหลักที่เป็น Infrastructure สำหรับ e-commerce คือ Payment และการขนส่ง Logistic เราพบว่าประเทศรอบๆ เรายังไม่พร้อม ยังไม่โดนเติมเต็มสำหรับ 2 เรื่องนี้ เราเลยไม่สามารถไปทำอะไรได้มากในตอนนี้ สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการทำ Knowhow Transfer ตอนนี้มีเริ่มเอา Knowhow ไปบ้างแล้วบางส่วนที่เมียนมาร์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้ Growth ของเมียนมาร์สูงกว่าประเทศอื่นๆ มากใน 2 เรื่องที่บอกไปแล้ว
คุณฝน - 8 รายเป็นคนไทยแทบทั้งหมด
คุณน็อต - แต่ก็จะต่างกันในแง่ของตลาด เล่นกันคนละตลาด มีทั้งจับตลาดแบบ Corporate แล้วก็จับตลาดพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งตลาดพ่อค้าแม่ค้าจะเยอะกว่า
คุณฝน - มีบางรายที่เพิ่งจะเปิดตัวไปก็มาคุยกับเรา เพราะในเบื้องต้นเรามีมุมมองใกล้เคียงกัน เราเลยมาจับมือเพื่อสร้างบริการที่ช่วยยกระดับ ecosystem ด้านนี้ของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ค่ะ
คุณน็อต - เราเน้นไปที่ช่องทางออนไลน์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของเราครับ เราลองมาหมดแทบทุกทาง จริงๆ เราสนใจ Instagram มากเพราะมันจะตรงกับกลุ่ม Target ของเราที่สุด ปรากฎว่าก็ไม่ได้เป็นไปตามคาด สุดท้ายการ Collaborate กันกับเพจดังๆ บน Facebook ดูแล้วได้ผลที่สุดเท่าที่เคยทำมา
คุณฝน - ปัจจุบันเราได้รับ Grant เงินสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยพัฒนาบริการของเราให้มีความเป็นนวัตกรรม เช่น ด้านกระบวนการและตัวระบบ ในขณะเดียวกัน เราตั้งเป้าว่าจะเพิ่มทุนภายในไตรมาสแรกของปีนี้ เพื่อนำเงินมาขยายทีมงานให้รองรับกับการเติบโตที่รวดเร็วของลูกค้า และ Co-Warehousing ที่ต้องการจะมาเป็นโกดังแฟรนไชนส์กับเราค่ะ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด